สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

หลากหลายประเด็นที่เข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องดนตรี อาร์เซนอลทีมฟุตบอลสุดโปรด มุมมองความรักที่เปลี่ยนไป และเรื่อง sexual harassment ที่ทุกวันนี้เธอค้นพบมุมมองที่ ‘เข้าใจ’ มากขึ้นในการแก้ปัญหาเหล่านี้

ย้อนกลับไปในรายการประกวดร้องเพลงชื่อดังอย่าง The Voice สาวน้อยวัย 18 อิมเมจ-สุธิตา ชนะชัยสุวรรณ มาพร้อมกับเสียงร้องที่โดดเด่นไม่เหมือนใครในเพลง ‘Falling Slowly’ ทำให้โค้ชแสตมป์-อภิวัชร์ ไม่รอช้าที่จะกดเลือกเธอมาเข้าทีม จากวันนั้นจนถึงวันนี้ ดนตรีได้นำทางเธอมาจนกลายเป็นที่รู้จักและชื่นชอบของใครหลาย ๆ คน แน่นอนว่าสปอตไลท์ที่สาดส่องมาท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง ไม่แปลกที่นักร้องสาวจะต้องเจอกับแรงเสียดทานต่าง ๆ ทั้งเรื่องราวดรามาที่เกิดขึ้น รวมถึงคำพูดเชิงลบที่ต้องรับมือก่อนหน้านี้

ทั้งหลายทั้งปวงได้กลายเป็นครูชั้นดีในการบ่มเพาะชีวิต รวมถึงทำให้เธอมองข้ามเรื่องเลวร้ายเหล่านั้นและเดินหน้าต่อไป จนมีผลงานเพลงของตัวเองภายใต้ร่มเงาของค่าย Smallroom

The People พูดคุยกับ อิมเมจ-สุธิตา หลากหลายประเด็นที่เข้ามาในชีวิต ทั้งเรื่องดนตรี อาร์เซนอลทีมฟุตบอลสุดโปรด มุมมองความรักที่เปลี่ยนไป และเรื่อง sexual harassment ที่ทุกวันนี้เธอค้นพบมุมมองที่ ‘เข้าใจ’ มากขึ้นในการแก้ปัญหาเหล่านี้

 

The People: ดนตรีเข้ามาสู่ชีวิต “อิมเมจ” ได้อย่างไร

สุธิตา: ตั้งแต่เกิด อิมก็ชอบร้องเพลงมาตลอดเลย ร้องเล่น เอง ฟังวิทยุแล้วชอบร้องตามตั้งแต่เด็ก เรารู้สึกว่าเป็นสิ่งที่เราทำได้ดี และพอยิ่งทำก็ยิ่งชอบเข้าไปอีก เพลงที่ติดตามตั้งแต่เด็ก เป็นเพลงของวง Carpenters อย่าง ‘Yesterday Once More’ อันนี้คือเป็นเพลงที่ชอบมาก เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่ชอบฟัง ก็เลยได้ฟังมาตั้งแต่ตอนนั้น

The People: เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอิทธิพลที่ทำให้สนใจการร้องเพลงเลยไหม

สุธิตา: คิดว่ามันทำให้รักในการฟังเพลงก่อน พอฟังเพลงแล้วเราก็อยากร้องตาม พอเราร้องตามก็ดันสนุกกับมันอีก คือเหมือนมันมาด้วยกันตั้งแต่แรกเลย ถ้าถามว่าเริ่มชอบตอนไหนตอบไม่ได้ เพราะเป็นสิ่งเดียวที่ทำมาตลอดไม่เคยหยุด

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People: วินาทีที่ตัดสินใจสมัคร The Voice ชีวิตเปลี่ยนไปในทางไหน

สุธิตา: จริง แล้วตลกมาก อิมติดตามรายการ The Voice ตั้งแต่ก่อนที่เขาจะเอาเข้ามาทำในประเทศไทย พอได้ข่าวว่าเขาเข้ามาทำในประเทศไทยแล้วมีพี่แสตมป์ (อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข) เป็นโค้ชด้วย เราก็เริ่มสนใจ แต่ว่าตอนนั้นอายุยังไม่ถึง พอมาถึงตอนซีซัน 3 มีอยู่วันหนึ่งเจอพี่แสตมป์ที่รถไฟฟ้าหมอชิต แต่ว่าพี่แสตมป์ถือของอะไรเยอะแยะ เราชอบพี่แสตมป์อยู่แล้วแต่ไม่อยากไปขอถ่ายรูปเพราะไม่อยากรบกวน เลยคิดว่า เออรายการ The Voice กำลังเปิดสมัครนี่นา ลองไปดูไหม แต่ก็ไม่ได้คิดว่าเราจะผ่านเข้าไปเจอเขาหรืออะไรอย่างงั้นหรอก ผ่านได้ก็ดี คิดว่าลองไปดูแล้วกัน ไหน ก็อายุถึงแล้ว

The People: สุดท้ายพอไปแล้วมันเกินคาด?

สุธิตา: เกินคาดทุก รอบเลย เพราะรอบแรกก็ไม่ได้คิดว่าจะผ่านเข้าไป รอบสองก็ไม่ได้คิดว่าจะผ่านเข้าไป blind และก็ไม่ได้คิดว่าจะผ่าน  battle ไม่คิดว่าจะชนะ ไม่คิดว่าจะมาถึงรอบสุดท้าย คือทุกรอบมันเกินคาดมาตลอดจนเราค่อนข้างจะงงว่าใช่เหรอ เรื่องจริงหรือเปล่า เรียกว่าหลงอยู่ในนั้นนาน

The People: มองย้อนกลับไป ได้อะไรจากรายการนี้

สุธิตา: โอกาสค่ะ ในทุก รอบเลย จนถึงวันนี้ก็ยังได้โอกาสอยู่ ซึ่งมันเกิดจากการที่เราเข้าร่วมรายการ The Voice จากแค่อยากจะขอถ่ายรูป อยากจะบอกว่าเราติดตามและชอบเพลงพี่แสตมป์มาก เลย ก็เกินคาดมาก จริง ไม่เคยคิดว่าจะได้มาทำแบบนี้ ตอนนี้ ตรงนี้ คือชอบนักดนตรี ชอบนักร้องหลายคน แต่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะได้มาทำอาชีพเดียวกับเขา

The People: ชีวิตที่ต้องเรียนและร้องเพลงไปด้วย มีปัญหาขนาดไหนในช่วงแรก

สุธิตา: ตอนแรกจัดการไม่ได้เลย ต้องดร็อปไปเทอมหนึ่งเพื่อจัดการชีวิต เราเข้าไปปีหนึ่งเทอมแรก แล้วเทอมที่สองดร็อปก่อน เพราะว่างงมาก ชีวิตมหาลัยไม่เหมือนมัธยมเลย เข้ามหาลัยว่ายากแล้ว แต่เข้าไปเรียนจริง ยากกว่าเยอะมาก ต้องแบ่งเวลาอีกแบบหนึ่งเลย ทั้ง ที่ตอนมัธยมเรียนสิบวิชาต่อเทอมหรือมากกว่านั้นด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เราลงแค่ห้าตัวเอง ทำไมถึงรู้สึกเวลาไม่พอ เลยต้องดร็อปไปก่อนเทอมหนึ่ง เพื่อดูว่าเราจะทำยังไงดี ระหว่างนั้นก็ทำงานไปด้วย

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People: ดนตรีมีส่วนด้วยหรือเปล่า

สุธิตา: อิมว่าไม่ใช่ เป็นเพราะเราช็อกกับระบบใหม่มากกว่า เหมือนเทอมแรกเราทำได้ไม่ดี หรือเรายังปรับตัวไม่ได้ แล้วเราไม่มีเวลามาปรับตัวเท่าคนอื่น เพราะว่าทำงานไปด้วย ก็เลยดร็อปเพื่อจัดระเบียบความคิด และวางแผนว่าเทอมหน้าเอายังไง

The People: นักร้องในคราบ “นักเศรษฐศาสตร์”?

สุธิตา: เคยเรียนเศรษฐศาสตร์ในวิชาสังคมตอน ม.ปลาย แล้วรู้สึกว่ามันเป็นความจริง supply, demand มันมีความสัมพันธ์แบบนั้นจริง เราอยากรู้มากขึ้น แล้วเศรษฐศาสตร์เป็นการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ มีสเกลทั้งจุลภาคกับมหภาค จุลภาคคือศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์เรานี่แหละ บริษัทหนึ่ง ครอบครัวหนึ่ง มนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งสนใจตรงนั้น แล้วพอเป็นมหภาคคือ macro จะเป็นระบบใหญ่ขึ้น เราก็ดู policy ต่าง ว่าเศรษฐกิจแบบนี้ เจอสถานการณ์ช็อคแบบนี้ขึ้นมา เราจะมา protocol ยังไงในการแก้ปัญหาหรือว่าบรรเทา ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ เพราะมันอยู่ในชีวิตเราทุก วันเลย

The People: เวลานึกถึงเศรษฐศาสตร์ อย่างแรกที่นึกถึงคืออะไร

สุธิตา: ความเป็นเหตุเป็นผลค่ะ คือที่ต้องใช้ตัวเลข ต้องใช้กราฟ เพราะว่ามันเป็นการจำลองการตัดสินใจของใครก็ตามที่เราศึกษา แล้วต้อง plot เป็นตัวเลข เป็นกราฟ เพื่อให้อ่านค่าได้ง่ายขึ้น ตีความได้ง่ายขึ้น ซึ่งทุกอย่างมีที่มาที่ไปให้เราหมดเลย ที่เราเรียนทุกวิชามันเชื่อมต่อกันเป็นใยแมงมุม ต้องเรียนตัวนี้ก่อนแล้วมารู้ตัวนี้ แล้วเราถึงจะ อ๋อ ตัวก่อนหน้าเรียนไปทำไมนะ อ๋อเพราะอย่างนี้นี่เอง ชอบความรู้สึกตอนนั้นแบบ อ๋อ เฮ้ย เราจำได้แล้ว คาบนั้นเราเรียนอันนี้ เอามาใช้ได้ตรงนี้ไง มันมีเหตุมีผลของมันหมดเลย

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People : นำเรื่องเศรษฐศาสตร์มาอยู่ในโลกดนตรีอย่างไร เพราะอีกแง่หนึ่งงานเพลงคือศิลปะ ซึ่งส่วนใหญ่ศิลปะจะเน้นการใช้อารมณ์ความรู้สึกถ่ายทอด

สุธิตา: ถ้าเกิดจะเอามาใช้ก็ได้ เป็นการวางแผนเช่นว่าเพลงต่อไปทำไงดี ปล่อยช่วงไหน เศรษฐกิจเป็นแบบนี้จะโปรโมตยังไง จริง มันเอามาใช้กันได้ เพราะเศรษฐศาสตร์อยู่ในทุกสิ่งจริง แต่ว่าปกติอิมก็ไม่ได้เอามาใช้หรอก พอมาเป็นฝั่งดนตรีเราก็จะไม่ได้มีเหตุผลเท่านั้นแล้ว ส่วนมากจะกลายเป็นความรู้สึกเข้ามาแทนที่ เราต้องใช้อารมณ์ไง เวลาร้องเพลง ทำเพลง แต่งเพลง หรือไม่ว่าจะทำอะไรเกี่ยวกับดนตรีมันต้องใช้ความรู้สึกมากหน่อย ถ้าเราไม่รู้สึกก็ไม่รู้จะทำไปทำไม

The People: พูดถึง เทย์เลอร์ สวิฟต์ ทำไมถึงชอบศิลปินคนนี้มาก

สุธิตา: ตอนนั้นอยู่ประมาณ .6 ปี 2009 อัลบั้ม Fearless อิมรู้จักเขาเป็นครั้งแรกจากเพลง ‘Love Story’ แล้วเหมือนเป็นช่วงขาขึ้นของเขาเลย แล้วเขาก็ปล่อยผลงานออกมาเรื่อย ๆ เราก็ติดตามจนเริ่มไปลึกแล้ว ไม่ได้ฟังแค่เพลงแล้ว ไม่ได้แค่ดูรูป ไปรู้จักชื่อพ่อ ชื่อแม่ ชื่อน้อง ไปรู้ว่าบ้านอยู่ไหนก่อนย้ายมานี่ ที่บ้านทำอะไร คุณยายทำอาชีพอะไร เรียกว่าอุทิศชีวิตให้เขาเลยตอนนั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งอัลบั้ม Red ที่เขาเปิดตัวแล้ว live แล้วจะล่มถ้าคนเข้าไปเยอะ อิมก็ตื่นมาตีสี่เมืองไทย ปรากฏว่ากดเข้าไปได้ อิมร้องไห้เลย ชอบมากจริง

The People: จากเทย์เลอร์ที่เริ่มต้นจากเพลงคันทรี สู่เทย์เลอร์ที่ผันตัวมาเป็นป๊อปสตาร์มากขึ้น ในฐานะแฟนคลับคนหนึ่งเรามองเรื่องนี้อย่างไร

สุธิตา: เหมือนเขาทดลองอะไรใหม่ เรารู้สึกว่ามันน่าสนใจที่ได้เห็นคนคนหนึ่งโตขึ้นมา เห็นตั้งแต่เขาอายุยังไม่ขึ้นเลขสอง จนสามสิบแล้ว เห็นตั้งแต่ใส่รองเท้าบู๊ท ผมหยิก ดีดกีตาร์โปร่ง มาจนตอนนี้มีโชว์เต็มรูปแบบ มีเต้น มีแดนเซอร์ รู้สึกว่าเราภูมิใจในตัวเขาถึงแม้ว่าบางแนวไม่ชอบเพลง แต่กลายเป็นว่าเราไม่ได้ชอบแค่เพลงของเขาแล้ว เราชอบเขา เพราะฉะนั้นเราเลยตื่นเต้นเสมอที่เขามีอะไรใหม่ ออกมาให้เราได้ดูได้ฟัง

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People: อิมเมจเป็นแฟนฟุตบอลทีมอาร์เซนอล ตอนนี้มีความอัดอั้นในฐานะแฟนบอลทีมปืนใหญ่ที่อยากจะระบายไหม

สุธิตา: อาร์เซนอลเหรอ จริง ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ดูแล้ว มีหลายเหตุผลที่ไม่ได้ดู ถ้าเอาเหตุผลที่ดูดีหน่อยก็เรียนหนัก ทำงานหนัก ไม่มีเวลาดู แต่ว่าอีกเหตุผลหนึ่งคือดูแล้วบางทีมันช้ำใจ คือเขาก็...นั่นแหละ กำลังแย่ จะไม่รอดแล้วนะ เราก็ส่งใจไป แต่บางทีดูแล้วก็จะแบบ...อีกแล้วเหรอ

The People: กลับมาที่เรื่องเพลงบ้าง พูดถึงเพลง ‘ใจเย็น’ ทุกวันนี้ความใจเย็นของอิมเมจเป็นอย่างไร

สุธิตา: จริง อิมเป็นคนใจร้อนประมาณหนึ่ง แล้วแต่เรื่อง แต่หลัง เริ่มเหนื่อยที่จะแสดงอารมณ์ แบบว่า เซ็ง แต่ก็ไม่เป็นไร ก็โตขึ้นในแง่การมีสติมากขึ้น ตามตัวเองทันมากขึ้น ฝึกฝนการมีสติ

The People: จากเด็กคนหนึ่งที่เข้ามาอยู่ท่ามกลางสปอตไลท์ เราปรับตัวเองยังไงกับความเปลี่ยนแปลง

สุธิตา: จริง แล้วอิมทำมานานตั้งแต่อายุ 16 เป็นช่วงที่เรายังไม่ทันโต แล้วเราก็โตมากับสิ่งนี้เลย อิมเลยไม่รู้จักชีวิตอีกแบบหนึ่ง ไม่รู้ว่ามีอีกแบบหนึ่งหรือเปล่า คือมันเหมือน “นี่แหละชีวิตเรา” เราไม่ต้องปรับตัวอะไรนอกจากเรื่องการจัดเวลาเรียน มันกลายเป็นเรื่องปกติของเราไปแล้ว อันนี้เหมือนเราเริ่มตั้งแต่เด็ก พอฝึกตั้งแต่เด็กก็จะฝึกง่ายกว่าโตแล้วมาฝึก เอาจริงก็ไม่เชิงการฝึก เป็นการใช้ชีวิตไปมากกว่า

The People: ช่วงที่รู้สึกแย่มาก หรือเจอดรามา มีวิธีคลายปัญหาอย่างไร

สุธิตา: เวลาเจอเรื่องแย่ เครียด มันบอกเป็นวิธีไม่ได้ ไม่ได้มีคู่มือมาให้อ่าน แต่ว่ามีบางจุดที่ทำให้รู้สึกว่าพอแล้ว เครียดจนเหนื่อยแล้ว ไม่เครียดแล้วได้ไหม พอเรามีความคิดว่าไม่อยากเครียด ไม่อยากรู้สึกแย่แล้ว ก็จะคิดหาวิธีต่าง ที่จะบรรเทามันลง อาจจะไม่ได้หายไปเลยเร็ว แต่ว่าให้มันไปต่อได้ก่อน แล้วก็เหมือนพยายามมาเรื่อย ปรับความคิดตัวเอง จากที่เราอาจจะมองมุมนี้แล้วไม่สบายใจ มีมุมอื่นให้มองไหมสำหรับเรื่องนี้ แล้วอิมก็พบว่ามีหลายมุมเลย พอมีหลายมุม เราเริ่มปล่อยวางได้มากขึ้น ประกอบกับการที่เราตามตัวเองทันมากขึ้น มีสติมากขึ้น พอเราปล่อยวางได้มากขึ้นก็ทำให้เราปล่อยในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้เลย ไม่เกี่ยวกับเราเลย เราทำอะไรไม่ได้เลย อย่างเช่น เดินแล้วสะดุดแต่ไม่ล้ม ตอนแรกอาจจะมองว่า เฮ้ย เซ็ง ทำไมต้องสะดุดด้วย แต่ตอนนี้ก็มองว่า เออ ไม่ล้มก็โอเคนะ ต่อไปก็เดินระวังขึ้นแล้วกัน

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People: คำว่าตามตัวเองทันแล้ว การตามตัวเองไม่ทันของอิมเมจเป็นอย่างไร

สุธิตา: ตามตัวเองไม่ทัน หมายถึงบางทีเราแค่รู้สึก แต่ไม่รู้ตัว เช่น มีคนมาพูดอย่างนี้กับเราแล้วเราโกรธ แต่เราไม่รู้ตัวว่าโกรธ เราก็ไม่สามารถควบคุมการกระทำของเราได้ดีเท่าที่ควร เราอาจจะเผลอพูดอะไรออกไปทำให้เป็นเรื่องใหญ่ขึ้น ทั้ง ที่ถ้าเราตามทัน เรารู้ว่าโกรธอยู่ ตอนนี้ไม่ควรพูดอะไรเลย รอหายโกรธค่อยคุยกัน อะไรอย่างนี้

คิดว่าอายุก็มีส่วนเยอะ เหมือนเรารู้สึกว่าชีวิตต้องมีสติกว่านี้ ต้องรู้ตัว จะได้ไม่ทำอะไรที่จริง แล้วไม่ได้ตั้งใจจะทำ แต่ว่าอารมณ์พาไป หรือว่าเราคิดว่าเรารู้ แต่จริง แล้วไม่ใช่ มันเป็นสกิลหนึ่งที่ค่อย เพิ่มขึ้นมา บางทีเราก็อาจจะตามไม่ทัน แต่พอนึกถึงคำว่าสติขึ้นมา เราก็จะ aware กับตัวเองในทุกสถานการณ์ว่าตอนนี้เรากำลังทำหรือรู้สึกอะไรอยู่

The People: หลาย ครั้งอิมเมจมักจะตกเป็นเหยื่อของคำพูด sexual harassment มีวิธีรับมืออย่างไร

สุธิตา: ตอนแรก ก็ fail แต่ว่าหลัง การรับมือก็คือ ไม่เป็นไร แค่คำว่าไม่เป็นไร ช่างมัน แค่นี้ ไม่มีวิธีอื่นแล้ว จะบอกว่าไม่อ่านเลยก็ไม่จริงอยู่แล้วใช่ไหม ทุกคนก็ต้องแว้บไปอ่านบ้าง มันก็จะต้องเห็นขึ้นมา วันดีคืนดีก็จะมีขึ้นมา แล้วนี่เป็นหนึ่งในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ เราก็เลยต้องปล่อยไง ก็ปล่อย

The People: เรื่องนี้ทำให้เรามองโลกในแง่ลบขึ้นไหม

สุธิตา: ไม่ค่ะ ส่วนมากเวลามีคนมาคอมเมนต์อะไรแย่ แบบไม่มีเหตุมีผลอะไร บางครั้งก็จะมีคนมาช่วยปรามเขา พออิมอ่านอันนั้นแล้วอิมรู้สึกว่า เออ ก็ดีนะ ก็มีสิ่งดี ๆ อยู่

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People: คิดอย่างไรที่บางทีเหยื่อมักจะถูกโทษว่าเป็นต้นเหตุของปัญหา

สุธิตา: ไม่ใช่แค่ในประเทศเราหรอก เคสพวกนี้มีทั่วโลก มีทุกที่ สิ่งที่ไม่โอเคก็คือไปโทษเหยื่อ ไปโทษคนที่โดนกระทำว่า asking for it แล้วไม่ได้เกิดขึ้นแค่กับผู้หญิงนะ เคสผู้ชายก็อาจมีการคอมเมนต์อีกแบบหนึ่ง แต่ก็ไม่ใช่อะไรที่น่าอ่านเหมือนกัน คือมันเป็นเรื่องการปลูกฝังจิตสำนึกที่ต้องเริ่มตั้งนานแล้ว ต้องเริ่มตั้งแต่ยังเด็ก พื้นฐานสำคัญที่สุดของมนุษย์เลยคือการให้เกียรติคนอื่น อิมว่าจุดนี้ถ้าได้รับการปลูกฝังมาก็จะลดปัญหาได้ ถ้าเราให้เกียรติมนุษย์อีกคนหนึ่ง แค่พูดจาไม่ดีเราจะยังไม่ทำเลย มันก็จะเกิดเหตุการณ์ที่บานปลายน้อยลง

The People: ตอนนี้อิมเมจเข้าใจความรักของตัวเองยังไง

สุธิตา: อิมเคยมองดาร์กเหมือนกัน เราเคยอกหักมา อาจทำให้เรามีประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ลิงก์กับคำว่ารัก อันนี้หมายถึงรักแบบ romantically นะ แต่ก่อนก็มองว่าความรักต้องเจ็บหรือเปล่า มันน่ากลัว แต่ไปเรื่อย ความรักไม่ต้องเจ็บก็ได้ เมื่อก่อนเราเจอแบบที่ไม่ลงตัวมา ก็เคยมองว่ามันเป็นอะไรที่น่ากลัว ปิดกั้นดีไหมนะ ไม่เอาแล้ว แต่ว่าจังหวะ โอกาส ด้วยความโชคดีหรืออะไรก็ตาม มันนำพาให้เราเจอกับสิ่งที่โอเค เราก็ได้เรียนรู้ว่า อ๋อ จริง ไม่ต้องเจ็บเลยก็ได้

The People: เรียกได้ว่าตอนนี้เราเข้าใจโลกมากขึ้นไหม

สุธิตา: รู้สึกว่าเข้าใจมากขึ้น เลยออกมาเป็นเพลง ‘เข้าใจ’ เพลงนี้อิมตั้งใจเขียน ตอนแรกเขียนมาเพื่อรักษาตัวเองแหละ แล้วก็คิดว่าอยากให้ทุก คนลองฟังดู หวังว่าถ้าเกิดว่ามีใครกำลังพบเจอกับเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ หรือกระทบกระทั่งความรู้สึก ฟังแล้วหวังว่าจะช่วยบรรเทาได้บ้าง หรืออย่างน้อย ก็เป็นเพื่อนทุกคนในเวลาที่ไม่ค่อยดี

สัมภาษณ์ อิมเมจ-สุธิตา กับภาพรวมของชีวิต ดนตรี, ฟุตบอล, ความรัก และเรื่อง sexual harassment    

The People: ดนตรีให้อะไรกับอิมเมจ

สุธิตา อย่างแรกสุด อิมว่าดนตรีให้เพื่อน มีเพื่อนต่าง มากมายที่มาเจอกันเพราะว่าดนตรี แล้วก็ให้โอกาส ให้ความสุขด้วย ให้ความภูมิใจ ให้ชีวิตที่มีอยู่ตอนนี้