ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ

ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ

ผ่านไปแล้วกับงาน Shall we SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน..เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์นอนหลับที่จะช่วยเปลี่ยนให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยสื่อออนไลน์ The People

งาน Shall we SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน..เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จัดไปเมื่อวันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ ห้องคริสตัล บ็อกซ์ ชั้น 19 เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร โดย The People ได้จับมือกับแบรนด์ชั้นนำที่ให้ความสำคัญในเรื่องการนอนหลับที่ดี เพื่อร่วมเปลี่ยนประสบการณ์นอนหลับอย่างมีคุณภาพ และยกระดับให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Anya Meditec ศูนย์รวมสุขภาพที่เชื่อว่าสุขภาพที่ดีเริ่มต้นจากการนอน, Dr.CBD บริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยทางเลือกจาก CBD, Dyson ผู้มอบประสบการณ์การนอนหลับที่มีคุณภาพจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson, Panacura บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ และชีวภาพเพื่อสุขภาพ และ Sealy Posturepedic แบรนด์ที่นอนเอกสิทธิ์จากอเมริกามาตรฐานระดับสากล
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ งาน Shall we SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน..เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นงานที่จะเปิดประสบการณ์นอนหลับแบบมีคุณภาพในทุกมิติแบบ 360 องศา โดยในงานนี้มีผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนอนโดยเฉพาะมาร่วมถ่ายทอดแนวทางการแก้ไขปัญหาที่จะช่วยให้นอนหลับได้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ ทั้ง อาจารย์เมธี จันทรา ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีบำบัด และนักดนตรีภาวนา ผู้สนใจและทำงานเรื่องเสียงมากกว่า 20 ปี ที่มาถ่ายทอดบทเพลงบรรเลงทำสมาธิ กระบวนการเสียงที่ช่วยให้การนอนหลับมีคุณภาพยิ่งกว่าเก่า ผ่านเพลงที่ชื่อว่า ‘เคียวริ Kyorei’ (เคียวริเอะ) หรือ empty bell ระฆังแห่งสุญญตา และผู้เชี่ยวชาญที่มาเป็นตัวแทนจากในเรื่องการออกแบบสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน ไปจนถึงผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมแห่งอนาคตที่คิดค้นมาตอบโจทย์การนอนหลับอย่างมีคุณภาพโดยเฉพาะ
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ

คุณอนันต์ ลือประดิษฐ์ บรรณาธิการอำนวยการ และผู้ร่วมก่อตั้ง The People กล่าวถึงภาพรวมของงาน Shall we SLEEP? ว่า “คนไทยประมาณ 1 ใน 3 หรือ ประมาณ 19 ล้านคน มีปัญหาเรื่องการนอนไม่หลับ ในฐานะที่ The People เป็นสื่อออนไลน์ที่ทําเรื่องเกี่ยวกับคน เวลาพูดถึงคนเลยต้องทำในแบบ 360 องศา ดังนั้น The People ก็เลยคิดว่าควรเอาการนอนมาเป็นหัวใจหนึ่งในการทําให้เกิดเนื้อหาที่ดีเพื่อนําไปสู่การเปลี่ยนแปลง และไม่ใช่เป็นเรื่องที่แค่เพียงเป็นปัญหาของปัจจัยบุคคล แต่เราคิดว่าเรื่องการนอนควรจะเป็นเรื่องเชิงนโยบายที่ภาครัฐควรให้น้ําหนักมากกว่าที่เป็นอยู่ เพราะการนอนที่เพียงพอ และมีคุณภาพไม่แค่เชิงปริมาณ เป็นการนอนที่เต็มอิ่ม นํามาสู่ประชากรของประเทศที่มีคุณภาพการนอนที่ดี GDP ก็น่าจะดีขึ้นด้วย การนอนเลยเป็นเรื่องสําคัญ The People จึงขออาสาเป็นก้าวแรกในการสร้างฟอรัมนี้ขึ้นมา และหวังว่าจะมีฟอรัมแบบนี้ตามมาอีกเรื่อย ๆ” 
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ภายในงาน Shall we SLEEP? มีการการเปิดประสบการณ์โลกการนอนหลับอย่างมีคุณภาพในทุกมิติใน 'Sleep Journey สำรวจเส้นทางการนอนจาก DNA จนถึงที่นอน เพื่อวันใหม่ที่สดใสในทุกวัน’ ที่ให้ผู้ที่สนใจได้ทดลองเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การนอนหลับที่ดีขึ้นได้ถึง 1 ชั่วโมงเต็ม ผ่านทั้งห้าผัสสะ รูป รส กลิ่น เสียง และการสัมผัส  ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
 

เวทีเสวนาในหัวข้อ ‘ถอดรหัสลับการนอนจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นทุกเช้า’ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนอน ได้แก่ ได้แก่ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา นายแพทย์ นักเขียนหนังสือแนว Pop Science เช่น ‘เรื่องเล่าจากร่างกาย’ และ ‘500 ล้านปีแห่งความรัก, ดร.นิตยา สุริยะพันธ์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้สมอง จิตใจ ครบวงจร โรงพยาบาลศรีธัญญา กรมสุขภาพจิต, อ.ดร.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเชิงระบบ และ นพ.ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤตโรคระบบการหายใจ
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา กล่าวถึงประวัติศาสตร์การนอนของมนุษย์ในแต่ละยุคว่าส่งผลต่อพฤติกรรมคนยุคหลังอย่างไร และผลกระทบจากน้ำมือมนุษย์ที่สร้าง ‘แสงสีฟ้า’ ขึ้นมา ไปจนถึงการไขข้อสงสัยว่าแท้จริงแล้วเราจะแก้ปัญหาการนอนให้ตรงกับช่วงเวลาการหลั่งโกรทฮอร์โมนอย่างไรในยุคที่หลายอาชีพเริ่มงานในเวลากลางคืน 

“มนุษย์สนใจเรื่องของการนอนมานานแล้ว ประวัติศาสตร์เล่าอย่างย่ออาจจะมองได้ว่าวิทยาศาสตร์การนอนมันเกิดขึ้นหลังจากการค้นพบเครื่องวัดสัญญาณประสาทจากสมอง คือในปี 1953 ปี ที่มีเหตุการณ์สำคัญ 2 อย่างเกิดขึ้นในวงการทางการแพทย์ ก็คือมีการค้นพบโครงสร้าง DNA อีกปีนึงก็มีการค้นพบตัวที่เรียกว่า REM Sleep หรือ Rapid eye movement ซึ่งพบว่า การหลับนิ่ง ๆ มันไม่ได้หลับนิ่ง แต่ว่าภายในสมองมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ ๆ สาเหตุมาจากคลื่นไฟฟ้าที่มีการเปลี่ยนแปลงเป็นเฟส แล้ว REM ช่วง REM Sleep” 

“ก่อนหน้านั้นมีการค้นพบสารเคมีต่าง ๆ ที่มีผลทำให้เรานอนได้ดีขึ้น หรือค้นพบว่ามีสารเคมีที่ทำให้เราตื่น เช่น เมลาโทนิน มันสัมพันธ์กับการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในแง่ของการเปลี่ยนสถานะหลับ มันอาจจะไม่เป็นหลับ-ตื่น แต่เป็น ลักษณะเปลี่ยนการทำงานของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ เพราะถ้าถูกรบกวนมันจะส่งผลเสียต่อหลาย ๆ ปัจจุบัน เรารู้ว่าแสงสีฟ้ารบกวนการหลั่งเมลาโทนิน ไม่ใช่แค่นั้น แสงสีฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น มันเป็นมลภาวะกับระบบนิเวศ มันทำให้พวกสิ่งมีชีวิตในทะเลมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรง ภูมิคุ้มกันทำงานแย่ลง อย่างพวกปะการังที่มีลักษณะการฟอกขาว ค้นพบว่าปะการังที่มีการได้รับแสงสีฟ้าเยอะ ๆ ก็เจอปัญหาเหมือนกัน พูดง่าย ๆ มันเป็นปัญหาสุขภาพของสัตว์ทะเล ของปะการัง แล้วก็ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ด้วย”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
นอกจากนี้ นพ.ชัชพล เกียรติขจรธาดา ยังกล่าวถึงเครื่องกรองอากาศที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตมากขึ้นท่ามกลางยุคฝุ่น PM 2.5 แพร่กระจายในหลายพื้นที่ด้วยว่า อากาศที่ดีไม่เพียงแค่ช่วยให้ทำงานหรือทำกิจกรรมทั่วไปอย่างราบรื่นเท่านั้น อากาศที่มีคุณภาพช่วยให้การนอนหลับเป็นไปอย่างมีคุณภาพด้วย เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญซึ่งหลายคนมองข้ามไปจนส่งผลต่อการนอน ผลพวงที่เกิดขึ้นคืออาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นต่อร่างกายเมื่อพักผ่อนไม่เพียงพอ

“เรื่องฝุ่น PM หลายคนไม่รู้ ผมเห็น Dyson..นึกว่าที่เป่าผม เขามีเครื่องฟอกอากาศด้วย ตอนแรกคิดว่าเครื่องเป่าผมกับการนอนหลับเกี่ยวกันอย่างไร ลูกผมมีปัญหาช่วง PM มีเสมหะ กระแอม ไอ ต้องเพิ่มเครื่องกรองอากาศเข้าไป”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
อ.ดร.นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยาเชิงระบบได้แชร์ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับระบบสมองที่เกี่ยวโยงไปถึงการนอนหลับว่าถ้าไม่อยากเป็น ‘อัลไซเมอร์’ ต้องปรับปรุงการนอนหลับให้ดีขึ้น และต้องหลับให้ลึกขึ้นกว่าเดิม “ช่วงที่หลับลึกมาก คลื่นประสาท คลื่นความถี่ในสมองจะช้าลงมาก ซึ่งความช้าตรงนั้นไปตรงกับกระแสประสาท มันทำให้เลือดในสมองแกว่ง เพราะหัวใจไม่ได้เต้นเร็ว คลื่นสมองทำให้เส้นเลือดบีบรัด พอเลือดกระเพื่อม น้ำไขสันหลังในสมองก็กระเพื่อมไปด้วย ซึ่งน้ำในสมองเป็นตัวที่ทำให้ของเสียที่คลั่งอยู่ออกไป”

“การนอนหลับที่มีคุณภาพ เป็นการนอนหลับลึกที่เป็นไปตามวงจรของการนอนหลับ ที่มีประมาณ 4 - 6 รอบ รอบละ 90 นาที หากคุณภาพการนอนไม่ดีก็เสี่ยงกับการเป็นภาวะอัลไซเมอร์ด้วย”

“อัลไซเมอร์ เกิดจากที่สมองทำงานมาทั้งวันแล้วมันจะไปสร้างโปรตีน ซึ่งเป็นของเสียที่ร่างกายต้องขับทิ้ง การหลับลึกจะพาของเสียออกไปให้หมดจากสมอง แต่ถ้าเราหลับไม่ลึกเพียงพอ เราก็จะสะสมโปรตีนไปด้วย โอกาสที่จะเป็น สมองเสื่อม และอัลไซเมอร์ก็จะเพิ่มมากขึ้น”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ด้าน นพ.ฉัตรกรินทร์ เทพวิมลเพชรกุล ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การนอนหลับ และอายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจ แชร์ข้อมูลว่าการกรนไม่ใช่สัญญาณการนอนหลับที่ดี แต่เป็นอาการที่ควรตรวจหากเข้าข่ายว่าอันตรายบนเวที

“การกรนไม่ใช่สัญญาณของการนอนหลับลึก แต่เป็นลักษณะของอาการมากกว่า คือถ้ากรนแล้วหายใจแผ่ว หรือหยุดหายใจระหว่างการนอน แม้แต่มีการรบกวนการนอนจนเราตื่นกลางดึก อันนี้ควรตรวจหาสาเหตุ ร่างกายคนเราฉลาด การกรนมันเป็นการตีบแคบของระบบทางเดินหายใจส่วนบน คิดสภาพการนอนกรนเหมือนเรากำลังดูดน้ำจากหลอด แล้วเราบีบหลอดนั้น ทำให้น้ำไปไม่ถึง พอน้ำไปไม่ถึงก็นำไปสู่ปัญหาของออกซิเจนตก พอออกซิเจนตกก็จะปลุกให้เราตื่นมาระหว่างคืน ทำให้ไม่สดชื่นเพราะคุณภาพการนอนไม่ดี”

นพ.ฉัตรกรินทร์ ยังพูดด้วยว่า “ระยะเวลาการนอนหลับที่ดีคือ 7-9 ชั่วโมง หรืออาจจะเหลือประมาณ 8 ชั่วโมงก็ได้ แต่ถ้าตื่นนอนขึ้นมารู้สึกไม่สดชื่น หรือบางคนต้องการเวลานอนมากกว่า 9 ชั่วโมงถึงจะรู้สึกสดชื่น อันนี้ก็ต้องมาวิเคราะห์เหมือนกัน”

พร้อมแนะนำเกี่ยวกับการงีบระหว่างวันด้วยว่าการงีบระหว่างวันไม่ควรเกิน 30 - 45 นาที เพราะถ้านานกว่านั้นจะเป็นการหลับ ตอนที่สมองเราตื่นมันจะมีการสะสมของสารอะดีโนซีน เมื่อเราหลับมันจะไปเคลียร์ส่วนนี้ “สมมุติเราไปกู้ธนาคารมา เราพร้อมจะจ่ายหนี้ธนาคารตอนเรานอน แต่การที่เรางีบเหมือนกับเราผ่อนแค่ดอกเบี้ย คือถ้าเราหลับก็จะจ่ายทั้งต้นทั้งดอก ดังนั้นตอนที่เราจะต้องจ่ายหนี้จริง ๆ คือตอนกลางคืนเนีย มันก็จะไม่มีอะไรให้จ่าย มันคือปัญหาของการนอน”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ดร.นิตยา สุริยะพันธ์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้สมอง จิตใจ ครบวงจร โรงพยาบาลศรีธัญญา ได้เพิ่มเติมถึงวงจรของการนอนหลับว่า “สมองของเราจริง ๆ ได้กำหนดวงจรการนอนอยู่แล้ว คือนอน 3 ทุ่ม ตื่น ตี 4 - 5 ขณะที่ช่วงการเก็บเกี่ยว Growth Hormones หรือ สารเมลาโทนิน ก็คือ ช่วง 5 ทุ่ม ถึง ตี 1 สารตัวนี้จะช่วยให้เรารู้สึกแอคทีฟมากขึ้น รู้สึกกระฉับกระเฉง และสามารถสร้างได้เองจากการนอนอย่างมีคุณได้มากถึง 70%”

ดร.นิตยา ได้พูดทิ้งท้ายว่า “ถ้าเราเข้าใจการทำงานของสมอง และรู้ว่าสมองส่วนหน้าเป็นตัวควบคุมการนอนและตื่น เราจะปรับปรุงการนอนหลับได้ไม่ยาก ซึ่งพันธุกรรม หรือปฎิกิริยาของร่างกาย รวมไปถึงพฤติกรรมที่ทำให้สมองกระตุ้นฮอร์โมนคอร์ติซอลจะดีขึ้นได้หากใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น การบำบัดสมอง, กระตุ้นการสั่นสะเทือนของร่างกาย ฯลฯ ซึ่งเป็นวิธีการบำบัดการนอนหลับยากโดยไม่ใช้ยาของทางศูนย์นวัตกรรมและการเรียนรู้สมองฯ”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ทางด้านเวทีเสวนาในหัวข้อ 'อยากชวนเธอมานอน เปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะเปลี่ยนให้พวกเรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น' โดยวิทยากรผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการนอน ได้แก่ พญ.กัลยา ปัญจพรผล ผู้เชี่ยวชาญจากสมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย, ดร.บารมี นวนพรัตน์สกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานบริหาร Panacura, คุณพรชัย ปัทมินทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดร.ซีบีดี จำกัด, คุณฆนากร ปุณณะตระกูล ผู้บริหารสายงานฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัทเซ็นทรัล มาร์เกตติ้ง กรุ๊ป และ คุณอริศรา กังสดาล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แบรนด์ ซีลี่ โพสเจอร์พีดิค ประเทศไทย ที่จะมาถ่ายทอดวิธีการผ่านคืนวันอันที่เป็นนิรันดร์ไปด้วยกัน ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการช่องออนไลน์ชื่อดัง ผู้ที่ประสบปัญหาการนอนไม่หลับมานานกว่า 12 ปี 
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ดร.วิทย์ ได้เริ่มการเสวนาด้วยการร่วมแชร์ประสบการณ์การนอนไม่หลับในอดีตว่าเขาต้องพึ่งพายานอนหลับหลากชนิด เพื่อให้ตัวเองเข้าสู่ห้วงนิทราจนถึงวันที่สามารถเอาชนะอาการนอนไม่หลับได้สำเร็จ “ผมมีปัญหาเรื่องการนอนมายาวนานมากเป็นสิบกว่าปี กินยานอนหลับมาทุกสูตรแล้วล่ะ ตื่นขึ้นเหมือนซอมบี้ สมองรับอะไรไม่ค่อยได้ ครึ่งวันเรารู้สึกไปเองว่าเหมือนแบตหมด รู้สึกทรมานมาก เลยพูดตลอดว่าสักวันหนึ่งจะเอาชนะมันให้ได้ เสียดายที่เวทีนี้จัดช้าไปนิดนึง เพราะตอนนี้ผมหายแล้ว แต่เชื่อว่ายังมีผู้ร่วมชะตากรรมอีกเป็นล้านคน เพราะฉะนั้นเวทีนี้ก็จะเป็นเวทีที่จะ crack code การนอนให้มันหลับทำยังไงได้บ้าง อย่างคืนที่ผ่านมาผมนอนหลับเป็นตายเลย”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ

พญ.กัลยา ปัญจพรผล ผู้เชี่ยวชาญเวชศาสตร์การนอนหลับ สมาคมโรคจากการหลับแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการสำรวจอาการที่เข้าข่ายว่าเป็น ‘โรคนอนไม่หลับ’ และอาการแบบไหนถึงเข้าข่าย ‘โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง’? ว่า “การใช้เวลากว่าจะหลับ 30 นาที หรือตื่นแล้วกว่าจะหลับ ใช้เวลารวมกันทั้งคืนเกิน 30 นาที หรือตื่นก่อนเวลาที่ควรจะเป็นอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง ถ้าอาการแบบนี้เป็นอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เรียกเป็นโรคนอนไม่หลับ”

พญ.กัลยา ให้ข้อมูลเพิ่มว่าโรคจากการหลับมีหลายกลุ่มโรคที่เจอบ่อยร้อยละ 30 คือนอนไม่หลับ นอนกรน หยุดหายใจขณะหลับ ความแปรปรวนของนาฬิกาชีวิต นอนดึกตื่นสาย นอนเร็วตื่นกลางคืน ทำงานเป็นกะ ข้ามไทม์โซน มีความเสี่ยงเกิดโรคหลายอย่าง เรื่องนอนละเมอ นอนกัดฟัน มีพฤติกรรมผิดปกติขณะหลับ ปัจจุบันโรคที่เกี่ยวกับนอนไม่หลับมีหลายสิบโรค ผลที่ตามมาของโรคนอนไม่หลับ พบว่ามีหลากหลาย ระยะสั้นคือกระทบการทำงาน ตื่นเช้ามาแล้วง่วง ไม่สดชื่น กระทบความคิด คุณภาพชีวิต ระยะยาวคือโรคทางจิตใจ เครียด ซึมเศร้า จนถึงหลอดเลือดต่าง ๆ และโรคสมอง
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
ดร.บารมี นวนพรัตน์สกุล ผู้ก่อตั้ง และประธานบริหาร บริษัท พานาคูรา เมดเทค จำกัด กล่าวถึงประสบการณ์ส่วนตัวว่า ในเชิงมิติสังคม คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันอาจไม่ได้เป็นโรคนอนไม่หลับ แต่ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอาจทำให้นอนน้อยลงไป บางคนไม่รู้ว่ามีอาการอักเสบในร่างกายซึ่งเป็นผลจากการอดนอน เพราะไม่ได้ตรวจ ส่วนใหญ่มักบอกว่า ไม่กล้าตรวจ ไม่รู้คือไม่เป็นโรค แต่ที่จริงแล้ว รู้ก่อน หายก่อน

ดร.บารมี เล่าว่าเมื่อสมัยทำงานช่อง 3 ทำรายการตอนห้าทุ่ม กลับถึงบ้านตีหนึ่ง กว่าจะได้นอนตีสอง ตื่นตอนตีสี่ มาหลับอีกทีตอนสาย วงจรชีวิตแบบนี้ผ่านไปสักครึ่งปี เริ่มมีอาการสิวขึ้นเต็มใบหน้าต้องไปพบแพทย์ หมอบอกว่าไม่ใช่สิว เป็นงูสวัดขึ้นหน้าเนื่องจากพักผ่อนน้อย เลยพยายามปรับเวลานอน แต่ไม่จบยังเป็นโรคกรดไหลย้อน เพราะกินแล้วนอนตอนสาย เวลาต่อมายังไปหาแพทย์ที่ศิริราช พบแพทย์ด้านหู คอ จมูก ตรวจพบว่า ยังมีติ่งเนื้อที่เส้นเสียงอีก แพทย์บอกว่า จริง ๆ แล้ว ทั้งหมดเกิดจากพฤติกรรมการทำงาน กิจกรรมทำงานไม่ปกติ หมอให้คำแนะนำว่า ให้เลือกเอาว่า จะเอาอะไร จะเลือกงาน หรือสุขภาพ

“ตกลงเราก็ยังอยากทำงาน แต่สุขภาพก็ห่วง เป็นอย่างนั้นอีกสักพักจนกระทั่งไม่ไหวแล้วจริง ๆ เพราะสุขภาพย่ำแย่ ไปขอลาออกจากรายการเหลือรายการตอนกลางวันรายการเดียว อันนี้เป็นผลกระทบจากโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคการนอน เป็นโรคที่ตามมาเป็นลูกโซ่ เพราะเรานอนไม่พอ เรามีเวลาการนอนที่ไม่ปกติเหมือนผู้คนเขา”

สาเหตุที่มาทำงานตอนกลางวันเพราะเป็นคนตื่นเช้าไม่ได้ เลยศึกษาเพิ่มว่าทำไมตื่นเช้าไม่ได้ พบว่ามาจากพันธุกรรม ดีเอ็นเอแต่ละคนไม่เหมือนกัน คนที่มีดีเอ็นเอนอนเร็วตื่นเช้าจะเป็นพวก morning person หรือ early bird คนที่เป็น night person หรือ night owl นอนดึกตื่นสาย พวกนี้มีประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ส่วน early bird มีประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ อีก 30 เปอร์เซ็นต์สุดท้ายเป็นส่วนที่ก้ำกึ่งระหว่าง night owl กับ early bird ขณะที่ตัวเองจัดเป็น night owl สำหรับผลกระทบจากร่างกายทำให้คิดว่า หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีปัญหาสุขภาพอะไร บางคนอดนอน หรือบางคนมีการอักเสบในร่างกายจากการอดนอนแต่ไม่รู้ เพราะไม่ได้ตรวจ คนที่มาถาม ส่วนใหญ่มักบอกว่า ไม่กล้าตรวจเพราะไม่อยากรู้ การไม่รู้ก็คือไม่เป็นโรค แต่ที่จริงแล้ว รู้ก่อน หายก่อน หลายโรคถ้ารู้ก่อนเป็นโรคจะรักษาได้ หายทัน ถือเป็น preventive (การป้องกัน)

“นวัตกรรมของพานาคูรา ไม่ใช่ตรวจวัดคุณภาพการนอนโดยตรง เป็นตรวจสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับโรคที่เกิดหลังจากการอดนอน ดีเอ็นเอของคนแบ่งแยกกลุ่มลักษณะการนอนไม่เหมือนกัน จึงมีตรวจการนอนแต่ละคนว่าเป็นรูปแบบไหนบ้าง ทำให้เกิดความเสี่ยงของโรคอะไรบ้าง เพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ตรงกับสิ่งที่ดีเอ็นเอของตัวเองเป็นได้ การตรวจแบบที่สองคือจุลชีพในลำไส้ เพื่อให้รู้แบคทีเรียในร่างกาย ช่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ออกกำลังกาย การนอนหลับ ให้ ecosystem ในลำไส้ดีขึ้น สุดท้ายคือการตรวจการอักเสบในร่างกาย หลายคนไม่ทราบว่าตัวเองมีอาการอักเสบในร่างกายหรือเปล่า อาจเป็นอาการเล็กน้อยค่อย ๆ ก่อตัวมากขึ้นแล้วเป็นอาการอักเสบเรื้อรังซึ่งเป็นต้นตอของหลายโรค เมื่อรวมกัน เอาข้อมูลเหล่านี้มารวมกัน มาตรวจ จะช่วยให้สามารถพยากรณ์การเกิดโรคในอนาคตได้ สำหรับลักษณะการตรวจ ถ้าหากตรวจเรื่องภูมิคุ้มกัน-อักเสบในร่างกายจะตรวจจากเลือด ส่วนการตรวจจุลชีพในลำไส้ตรวจจากอุจจาระ ซึ่งจะบอกได้ว่ามีแบคทีเรียดี-ไม่ดีแค่ไหน อย่างไร มีความเสี่ยงแค่ไหน เมื่อแพทย์พบความเสี่ยง แพทย์อาจให้กลับไปปรับพฤติกรรม ถ้าปรับไม่ได้ อาจต้องใช้ทานสิ่งต่าง ๆ ช่วย”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
พรชัย ปัทมินทร ผู้ก่อตั้ง และ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร DR. CBD ผู้นำด้านเทคโนโลยีการสกัดกัญชา กัญชง เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสุขภาพทางเลือก ได้มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับ นวัตกรรมทางโภชนเภสัชที่ช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับและการพัฒนาคิดค้นผ่านการศึกษาวิจัยจนได้เป็น CBD De'Leep Softgel ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยในเรื่องนอนหลับ เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยานอนหลับเคมี เป็นครั้งแรกของสารสกัด CBD จากกัญชง ที่อยู่ในรูปแบบ Softgel สะดวก ทานง่าย ปลอดภัย กล่าวถึงการใช้ CBD หรือการใช้สารสกัดจากกัญชงเป็นทางเลือกสำหรับการนอนหลับว่า
“ถ้าจะนอนแล้วยังมีเรื่องกังวล เครียดสูง จะทำให้นอนหลับยาก… CBD จะทำงานกับระบบประสาท ช่วยทำให้ผ่อนคลาย เข้าไปอยู่ในสภาพที่หลับง่าย มากกว่านั้นยังช่วยปรับสมดุลการนอน และทำให้การนอนดีขึ้น หลับนาน”

พรชัย ยังบอกอีกว่า CBD คือ สารสกัดจากกัญชงที่ไม่มีสารกระตุ้นให้รู้สึกมึนเมาเหมือนกับกัญชา ทั้งยังช่วยเสริมการผลิตฮอร์โมน ยับยั้งสารที่จะทำให้เราตื่น ทำให้การนอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

“CBD ไม่ทำให้มึนเมา ทำให้สมดุลการนอนดีขึ้น เมื่อเข้าสู่วงจรการนอน CBD จะทำหน้าที่เสริมฮอร์โมนหลาย ๆ ตัว ของที่ควรจะมี CBD จะทำให้มีได้ดีขึ้น เยอะขึ้น ในปริมาณที่เหมาะสม และยับยั้งของที่จะหลั่งที่จะทำให้ตื่นได้ดีขึ้น ไม่ได้ทำให้หลับได้ทีละ 18 ชั่วโมง ถ้าวงจรการนอนปกติของคุณอยู่บน 7 ชั่วโมงครึ่ง แต่จะเป็น7 ชั่วโมงครึ่งที่มีประสิทธิภาพ”

ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ อริศรา กังสดาล ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แบรนด์ ซีลี่ โพสเจอร์พีดิค ประเทศไทย กล่าวถึงเรื่องสภาพแวดล้อมที่สัมพันธ์กับการนอนว่าปัจจัยสำคัญของการนอนไม่หลับ คือ ความเครียด ซึ่งตัวเราจำเป็นต้องเท่าทันอารมณ์ของตัวเอง อีกทั้งปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะกับการนอน เพื่อให้แต่ละค่ำคืนผ่านไปด้วยความสงบ ปราศจากสิ่งรบกวน 

“ปัญหานอนไม่หลับ เริ่มมาจากความกังวล ความเครียด ยิ่งถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมไม่ดี ก็ยิ่งทำให้ค่ำคืนนั้นยากขึ้นสำหรับเรา ยิ่งถ้าเราประสบปัญหามานานไม่ว่ากี่พันยานอนหลับ มันอาจช่วยเราไม่ได้ ขึ้นอยู่กับตัวเราเองที่ต้องจัดการกับปัญหานั้น ๆ ตั้งแต่ต้นทางก็คือความเครียด ถ้าเราจัดการปัญหาตรงนั้นได้ ทำสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้น จะช่วยทำให้นอนหลับได้ไม่ง่าย”

อิศรา บอกอีกว่าปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยการนอนให้ดีขึ้น คือ การมองหาที่นอนที่เหมาะสมกับพฤติกรรมนอน และรองรับกับสัดส่วนร่างกายของแต่ละคน “คนเรานอนมาตั้งแต่ไม้กระดาน พัฒนามาเป็นนุ่น ขยับมาเป็นที่นอนใยมะพร้าว แต่วัสดุจากธรรมชาติจะเจอปัญหาเรื่องแมลงที่ส่งผลต่อการนอน ก่อให้เกิดความรำคาญ ที่นอนแบบสปริงจะช่วยซัพพอร์ตการนอน แต่เทคโนโลยีของซีลี่จะมี sense and respond มีแรงรับส่ง ลดแรงต้าน ทำให้ตอนนอนขยับตัวได้ง่ายขึ้น เพราะแรงต้านจะทำให้การไหลเวียนของโลหิตไม่ดี ตรงนี้ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ เป็นเหน็บชา ทำให้ช่วงเวลาหลับลึกอาจไม่ยาวนาน เพราะเราต้องพลิกตัว เนื่องจากการนอนที่ไม่สบาย เกิดเหน็บชา ในค่ำคืนหนึ่งเราพลิกตัวบ่อยมาก ดังนั้น ถ้าที่นอนที่รองรับเราไม่ดีพอ ก็จะทำให้เราตื่นกลางดึก ทำให้การหลับนอนค่ำคืนนั้นไม่มีความสุข”
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ

คุณฆนากร ปุณณะตระกูล ผู้บริหารสายงานฝ่ายการตลาด กลุ่มผลิตภัณฑ์เทคโนโลยี บริษัท เซ็นทรัล มาร์เกตติ้ง กรุ๊ป กล่าวถึงประสบการณ์ตัวเองว่า สมัยเป็นเด็ก ไม่คิดว่ามีปัญหาการนอน จนเมื่ออายุเลย 30 ปีไปแล้ว เริ่มรู้สึกว่ามีอาการภูมิแพ้ นอนแล้วรู้สึกคัดจมูก ตอนแรกคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหา คิดว่าวันหนึ่งจะหายไป แต่ปัญหากลายเป็นเรื่องเรื้อรัง พอตื่นมาแล้วรู้สึกว่านอนไม่พอ ส่งผลต่อการทำงาน เป็นจุดเริ่มต้นของการหาทางแก้ไข เลยเริ่มปรึกษาคนรู้จักและหาทางจัดการปัจจัยภายนอก 

“ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ฝุ่น PM 2.5 เริ่มมา ผมมีอาการทุกครั้งที่ค่า PM 2.5 มากขึ้น เมื่อเริ่มทำงานที่ Dyson เลยได้มีโอกาสใช้เทคโนโลยีของ Dyson จึงได้ลองทดสอบดูแล้วพบว่าช่วยให้การนอนดีขึ้นได้จริง เพราะช่วยปรับสภาพคุณภาพอากาศกรองฝุ่นเล็กถึง 0.1 ไมครอน หรือ 25 เท่าจาก PM 2.5 ได้ยังมีฟีเจอร์เพิ่มเติมที่กรองสารอื่น ๆ ได้ เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ ที่แฝงมากับสีทาบ้าน พรม หรือเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นบ่อเกิดของโรคร้ายต่าง ๆ อีกทั้งเสียงเครื่องขณะที่ระบบทำงานอยู่ไม่ดังรบกวนการนอน”

ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ ปิดท้ายกับกิจกรรมแจกของรางวัลสุดพิเศษที่มาเป็นตัวช่วยให้เรามีการนอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นให้กับผู้ที่มาร่วมงาน รวมถึงผู้ที่มาร่วมกิจกรรม ‘ชุดนอนที่ได้นอน’ ที่เปิดให้ผู้ร่วมงานร่วมสนุกด้วยการลงทะเบียนล่วงหน้าแล้วแต่งชุดนอน หรือเพียงนำอุปกรณ์การนอนติดตัวมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

งาน Shall we SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน..เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในครั้งนี้ The People ได้จับมือร่วมกับแบรนด์ชั้นนำที่ให้ความสำคัญในเรื่องการนอนหลับที่ดี ที่มาร่วมเปลี่ยนประสบการณ์นอนหลับอย่างมีคุณภาพ เพื่อยกระดับให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไม่ว่าจะเป็น Anya Meditec The total sleep solution clinic ศูนย์รวมสุขภาพที่เชื่อว่าสุขภาพที่ดี เริ่มต้นจากการนอนจึงได้รวบรวม เทคโนโลยี รวมถึงบุคลากรการแพทย์เข้าด้วยกัน เพื่อมอบการบริการที่เข้าถึงง่าย รู้ก่อน รักษาได้, Dr.CBD ผู้นำด้านเทคโนโลยีการสกัดกัญชา กัญชง เชี่ยวชาญเรื่องการดูแลสุขภาพทางเลือก ที่นำนวัตกรรมทางโภชนเภสัชที่ช่วยแก้ปัญหาการนอนหลับ และการพัฒนาคิดค้นผ่านการศึกษาวิจัยจนได้เป็น CBD De'Leep Softgel ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยในเรื่องนอนหลับ เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยกว่าการใช้ยานอนหลับเคมี เป็นครั้งแรกของสารสกัด CBD จากกัญชง ที่อยู่ในรูปแบบ Softgel สะดวก ทานง่าย ปลอดภัย, Dyson มอบประสบการณ์การนอนหลับที่มีคุณภาพจากเครื่องฟอกอากาศ Dyson ที่มากับตัวกรองประสิทธิภาพสูงพร้อมระบบการกระจายอากาศที่ทรงพลัง และมั่นใจว่าความเงียบของเครื่องฟอกอากาศระหว่างทำงานจะไม่รบกวนการนอนหลับ ทำให้คุณได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ และพร้อมเริ่มต้นวันใหม่ในทุก ๆ วัน, Panacura บริษัทด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และชีวภาพเพื่อสุขภาพ ให้บริการด้านการถอดรหัสพันธุกรรมเพื่อประเมินหาความเสี่ยงของโรค และออกแบบโปรแกรมการรักษาโรคต่าง ๆ ที่ให้บริการตรวจสุขภาพแบบองค์รวมด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ชั้นสูง, Sealy Posturepedic แบรนด์ที่นอนเอกสิทธิ์จากอเมริกามาตรฐานระดับสากล ให้ความสำคัญในด้านการลงทุน วิจัย และพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการนอนหลับ ส่งมอบประสบการณ์การนอนหลับอย่างมีประสิทธิภาพและถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์แก่ทุกคน และ Divana ผู้นำด้านสุขภาพความงามและผลิตภัณฑ์เครื่องหอมสุดไฮเอนด์ที่เชื่อว่าการหลับที่ดีคือยาอายุวัฒนะ 
ผ่านไปแล้วกับ Shall we SLEEP? ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับ
งาน Shall we SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน..เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เป็นอีกหนึ่งในวิสัยทัศน์ของ The People ที่จะนำเสนอเนื้อหาสร้างแรงบันดาลใจเรื่อง ‘คน’ อันนำไปสู่เปลี่ยนแปลงทำให้ผู้คนมีชีวิตที่ดีขึ้นไปด้วยกัน สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ https://www.thepeople.co/shallwesleep