องค์กรแบบ ‘Wellbeing Washing’ เป็นแบบไหน? ทำไมคนรุ่นใหม่มองว่า ‘ไม่ตรงปก’

องค์กรแบบ ‘Wellbeing Washing’ เป็นแบบไหน? ทำไมคนรุ่นใหม่มองว่า ‘ไม่ตรงปก’

องค์กรแบบ ‘Wellbeing Washing’ เป็นแบบไหน ทำไมคนรุ่นใหม่มองว่า เป็นความเชื่อและวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่เป็นธรรม และไม่ตรงปกจากสิ่งที่เคยสัญญาไว้

KEY

POINTS

  • Wellbeing Washing คือรูปแบบที่องค์กรหลายแห่งเป็นในปัจจุบัน คือสวยหรูแต่ภายนอก แต่ข้างในไม่เป็นแบบนั้น
  • สวัสดิการ หรือโครงการเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิตของพนักงาน เป็นเพียงคำสัญญาที่ไม่เคยทำจริง
  • แค่ 35% ของผลสำรวจจากองค์กรแห่งหนึ่ง ที่พนักงานรู้สึกว่าได้รับสวัสดิการและผลประโยชน์ตามที่ประกาศไว้ 

หลายครั้งที่คนทำงานรู้สึกอยากจะเข้าไปทำงานที่องค์กรใดองค์กรหนึ่ง เพียงเพราะว่า ‘ภายนอก’ เต็มไปด้วยความสวยหรูดูแพง ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการ ความเอาใจใส่พนักงาน การดูแลพนักงานด้านจิตใจ หรือจะเป็นแนวทางทำงานอื่น ๆ ที่จูงใจอยากให้เข้าไปร่วมทีม

แต่พอเข้าไปทำงานจริง ๆ ความฝันที่วาดไว้กลับ ‘ไม่ตรงปก’ นโยบายการทำงานบางอย่างโหดร้ายกับคนทำงาน แม้ไม่ได้ตั้งใจแต่ก็สร้างความน่าผิดหวัง และความสงสัยให้กับพนักงานไม่น้อยเช่นกัน

เราเรียกกันว่า ‘Welling Washing’ เปรียบเปรยก็คือ การชะล้าง – ความเป็นดีอยู่ดี ออกไปจนหมด

Kate Pritchard หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาของ People Insight และโค้ชด้านคุณสมบัติของผู้นำ เธอเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประสบการณ์ของพนักงานและโค้ชความเป็นผู้นำมีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในการวิจัยพนักงาน เธอพูดว่า Welling Washing ถือว่ายังเป็นคำศัพท์ใหม่ในแวดวง HR (ทรัพยากรบุคคล) แต่ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีคำบัญญัติเป็นศัพท์ใหม่ ๆ อยู่บ่อย ๆ ในอุตสหากรรม HR ในปัจจุบัน

 

สัญญาจอมปลอม

ความน่าผิดหวังของพนักงานที่กล่าวไว้ด้านบน เกิดจากองค์กรที่มีความเชื่อแบบ Wellbeing Washing โดยส่วนใหญ่จะประกาศว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพใจของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการ การดูแล หรือ การมีพื้นที่สำหรับพนักงานเพื่อพักกายและใจจริง ๆ ระหว่างวัน

นอกจากนี้ ยังหมายถึงวิถีการทำงาน และแนวทางปฎิบัติที่ ‘ดูเหมือน’ จะเฮลตี้ สุขภาพจิตดี แต่ความเป็นจริงกลับไม่ใช่อย่างที่คิดไว้

นี่ยังไม่รวมเกี่ยวกับวิธีการสื่อสารกับพนักงานด้วยความเห็นอกเห็นใจ การพยายามสร้างวัฒนธรรมบริษัทให้ส่งเสริมและเห็นความสำคัยของการเป็นอยู่ที่ดีของพนักงานในระดับสูง หรือ มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

อย่างไรก็ตาม ในทางปฎิบัติองค์กรเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน ยึดตามคำพูดหรือคำสัญญามากน้อยแค่ไหน และการส่งมอบหรือให้สวัสดิการต่าง ๆ กับพนักงานเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหนในความเป็นจริง?

ข้อสังเกตง่าย ๆ ก็คือ องค์กรจะเต็มไปด้วย ‘คำสัญญา’ แต่ลงมือทำ ลงมือเปลี่ยนแปลงน้อยมาก หรือสัญญาแต่ยังไม่ได้ให้อะไรชัดเจน เป็นต้น

ตัวอย่าง ผลการศึกษาจาก Institution of Occupational Safety and Health ในประเทศสหราชอาณาจักร (UK) พบว่า ประมาณ 51% ของพนักงานเชื่อว่า นายจ้างมีความผิดเกี่ยวกับเรื่อง Wellbeing Washing เพราะพวกเขามักจะประกาศแต่โครงการหรือแพลนดี ๆ ให้กับพนักงาน เช่น มีผลไม้ให้ทานฟรีในออฟฟิศ, มีผู้ช่วยเหลือด้านสุขภาพจิต หรือ การเดินเพื่อสุขภาพที่ดี ซึ่งฟังดูดีมากในทางทฤษฎี

แต่ในทางปฎิบัติจริงกลับไม้เป็นแบบนั้น เช่น workloads ที่ไม่สมจริง, การกลั่นแกล้งกันในที่ทำงาน จนไปถึง การกำหนดระยะเวลาเดดไลน์ที่สร้างความเครียดให้กับการทำงาน

ความคิดเห็นของพนักงานบางคน มองว่า โครงการเหล่านั้นของนายจ้างเป็น ‘fake promises’ (คำสัญญาจอมปลอม) เป็นเพราะว่า แนวความคิดบางอย่างไม่สามารถทำได้จริง ๆ เช่น ‘ห้องที่เงียบสงบ’ สำหรับพนักงานที่อยากจะพักผ่อนระหว่างวันได้ แต่กลับเป็นพฤติกรรมที่ไม่สู้งาน ขี้เกียจ ในสายตาของผู้จัดการ หรือหัวหน้างานหากพนักงานใช้ห้องสวัสดิการจริง เป็นต้น

นอกจากนี้ Kate Pritchard ได้พูดถึง คำมั่นสัญญาเกี่ยวกับแนวทางการทำงานด้วย เช่น องค์กรมีนโยบายอย่างเป็นทางการว่า ควรประณามการทำงานเกินชั่วโมง แต่ในทางปฎิบัติจริง พวกเขายังคงยกย่องพนักงานที่เข้าก่อนและเลิกงานหลังคนอื่นเสมอ โดยไม่สนใจข้อเท็จจริงเลยว่า “พวกเขาเหนื่อยล้ากันอย่างเห็นได้ชัด”

ทั้งนี้ ข้อมูลจาก InHerSight ระบุว่า มีเพียงพนักงานในองค์กรที่ทำการสำรวจ 35% รู้สึกว่า พวกเขาได้รับสวัสดิการและผลประโยชน์ต่ามสัญญาขององค์กร ซึ่งถือว่ายังน้อย

 

5 รูปแบบองค์กร Wellbeing Washing

หากทั้ง 5 ข้อที่เรากำลังจะหยิบมาเล่านี้ คุณพยักหน้าตอบรับ ‘ใช่’ ทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ ให้มองว่าองค์กรนั้นเป็นมีความเชื่อ Wellbeing Washing ได้เลย

1) ลงทุนแบบผิวเผิน: บางทีการเชิญวิทยากรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หรือ การจัดสัมมนาด้านสุขภาพจิต อาจไม่ตอบโจทย์เรื่องความเบื่อหน่ายของพนักงานในองค์กรได้อย่างแท้จริง

2) ไล่ล่ารางวัล แทนสวัสดิการ: กิจกรรมเชื้อเชิญอันหอมหวานจากองค์กร เพื่อให้พนักงานได้ร่วมสนุก เช่น การไล่ล่ารางวัล แข่งขันเพื่อให้ได้ผลประโยชน์บางอย่าง ไม่ใช่การแก้ปัยหาที่ถูกต้อง เพราะเรื่องบางเรื่องมันคือสวัสดิการสำหรับทุกวัน ไม่ใช่เป็นรางวัลของคนใดคนหนึ่งแทน

3) ภายนอกดูมีคุณธรรม: มีหลายบริษัทในปัจุบันที่สร้างภาดพให้ภายนอกดูเป็นองค์กรคุณธรรม เข้าใจพนักงาน และไม่เอาเปรียบ รวมถึงมีความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งที่ความเป็นจริงการริเริ่มต้องเกิดขึ้นภายในองค์กรก่อน ออกสู่ภ่ายนอก ความสร้างความพึงพอใจต่อคนใกล้ตัวก่อนเป็นสิ่งสำคัญต่อการเติบโตและบรรลุเป้าหมายขององค์กร

4) ให้รางวัลวัฒนธรรมเร่งรีบ: รูปแบบนี้ถือว่าเป็นธงแดงอันตราย เพราะหลายบริษัทมอบภาระให้พนักงานมากจำเป็น ไม่มีการสร้างสมดุลระหว่างการทำงานและเวลาพักผ่อน สามารถทำงานลากยาวไปถึงช่วงดึก หรือเช้าตรู่ได้ โดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงของความเหนื่อยล้า

5) ผู้รักษาประตูไม่จำกัด PTO: สวัสดิการลางานโดยได้รับค่าจ้าง หรือ Paid Time Off (PTO) อาจเป็นอุปสรรคต่อการลาของคุณได้ หากต้องทำหน้าที่เป็นผู้รักษาประตูมืออาชีพ หากหัวหน้างานหรือผู้จัดการต้องการแพลนเดินทางเพื่อพักผ่อนของเรา เพราะนั่นแปลว่ายังมีช่วงเวลาที่เราสามารถทำงานได้ในกรณีฉุกเฉิน

ยิ่งหลังการระบาดของโควิด-19 ทำให้รูปแบบการทำงานของแต่ละองค์กรยืดหยุ่นมากขึ้น ดังนั้น เส้นแบ่งระหว่างชั่วโมงทำงานและพักผ่อนของพนักงานอาจเบลอจนแทบมองไม่เห็น ซึ่งองค์กรที่ใส่ใจเรื่อง Wellbeing น้อยจะปล่อยผ่าน ทำให้คำมั่นสัญญาเจือจางไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายเหลือเพียง ‘ลมปาก’ ที่เป็นคำสัญญาหนึ่งเดียวที่เคยให้ แม้ไม่เคยมีอยู่จริงก็ตาม

 

ภาพ: Pixel

อ้างอิง:

What is ‘wellbeing washing,’ and is your org guilty of it?

What Is ‘Wellbeing Washing’? 5 Ways to Find an Employer That Cares About You

Does your workplace pretend to care about mental health? Here’s how to tackle ‘wellbeing washing’

Wellbeing washing: What it is and how to avoid it