‘นอนดึกตื่นสาย นอนเร็วตื่นเช้า’ ดูนาฬิกาชีวภาพด้านการนอน 4 แบบ ตามสัตว์ 4 ชนิด คุณคือแบบไหน

‘นอนดึกตื่นสาย นอนเร็วตื่นเช้า’ ดูนาฬิกาชีวภาพด้านการนอน 4 แบบ ตามสัตว์ 4 ชนิด คุณคือแบบไหน

ชวนสำรวจบุคลิกภาพผ่านนาฬิกาชีวภาพของสัตว์ 4 ประเภท ได้แก่ สิงโต หมี โลมา หมาป่า ที่จะทำให้คุณรู้ว่า เราอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนเร็วเพื่อตื่นเช้ามาปั่นงาน หรือโต้รุ่งเพราะกลัวงานไม่เสร็จ เพราะทุกคนต่างมีเวลาในการนอน ตื่น และทำงานต่างกัน

  • ทุกคนมี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำงาน ใช้ชีวิต และนอนหลับนั้นต่างกัน
  • สิงโต หมี โลมา และหมาป่า คือ สัตว์ 4 ชนิดที่นักจิตวิทยาคลินิกใช้เปรียบเทียบกับนาฬิกาชีวิตของแต่ละคนตั้งแต่ตื่นนอนจนนอนหลับ 
  • บางคืนเราอาจเป็นสิงโต บางวันเราอาจเป็นหมี มีอาการคล้ายโลมา และสู้กับเวลาเหมือนหมาป่า แต่งานทุกอย่างจะดีและมีประสิทธิภาพได้ เราต้อง ‘นอน’ ให้เพียงพอ

เราอาจไม่จำเป็นต้องนอนเร็ว ตื่นเช้า หรือโต้รุ่งเพื่อทำงานให้เสร็จ หากคุณรู้ว่าเวลาไหนที่เหมาะกับการทำงาน และเวลาไหนที่เหมาะกับการนอน 

ทั้งหมดนี้เป็นเพราะ นาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) หรือเวลาของเราใน 1 วันตั้งแต่ตื่นจนนอนหลับนั้นแตกต่างกันตามพันธุกรรม อายุ พื้นที่อยู่อาศัย สภาพสังคม และเงื่อนไขชีวิต

ชวนสำรวจตัวเองว่าสมองจะทำงานได้ดีตอนไหน และควรพักตอนไหน ผ่านสัตว์ 4 ประเภท คือ สิงโต หมี หมาป่า และโลมา

สิงโต : มนุษย์ตื่นเช้า มาทำงานก่อน และกลับก่อน 

ปกติแล้วสิงโตจะออกล่าหาอาหารในตอนเช้า สอดคล้องกับบุคลิกภาพของคนตื่นเช้าที่ระบุไว้ในงานวิจัยของแมคเคนซี สวีนีย์ (Mackenzie Sweeney) ผู้เชี่ยวชาญและให้คำปรึกษาด้าน Productivity ว่า คนกลุ่มนี้จะตื่นตั้งแต่ 05.30 - 06.00 น. ได้โดยไม่ต้องพึ่งนาฬิกาปลุก และพร้อมเริ่มงานตอน 08.00 น. ชาวสิงโตยังคงเอเนอร์จี้ในการทำงานมาได้ถึงช่วง 13.00 - 15.00 น. แต่หลังจาก 16.00 น. เขาจะเริ่มหมดแรง 

งานวิจัยยังบอกอีกว่า เรามักจะพบชาวสิงโต 15 - 20% ของประชากร 

ขณะที่ ไมเคิล เจ บรูส (Michael J. Breus) นักจิตวิทยาคลินิกและเจ้าของหนังสือ Power of When อธิบายลักษณะสิงโตไว้ว่า พวกเขาเป็นคนมองโลกในแง่ดี มีเป้าหมาย มีระเบียบวินัยในตัวเอง นอนหลับได้ดี ตื่นเช้า เข้านอนเร็ว ซึ่งมีงานวิจัยที่ระบุว่า คนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงน้อยต่อการเป็นหลอดเลือดหัวใจและไม่ค่อยอ้วน รวมถึงยังมีสุขภาพจิตที่ดี ไม่เสี่ยงต่อการเป็นภาวะซึมเศร้าหรือวิตกกังวล

หมี : มนุษย์ออฟฟิศที่ใช้ชีวิตตามแสงอาทิตย์

ในโลกของเรามีชาวหมีอยู่มากกว่า 50% เลย 

โดยทั่วไป หมีจะสามารถใช้ชีวิตได้ตลอดทั้งวัน 

ถ้าดูตามบุคลิกของหมี พวกมันจะออกมาใช้ชีวิตตลอดทั้งวัน ซึ่งไมเคิลเล่าถึงบุคลิกของกลุ่มหมีว่า พวกเขารักความสนุกสนาน เข้ากับคนง่าย พวกเขามักจะตื่นช่วง 07.30 น. พร้อมทำงานตอน 09.00 น. และทำงานด้วยประสิทธิภาพสูงสุดตั้งแต่ 10.00 น.

ถึงอย่างนั้น แมคเคนซีบอกว่า ชาวหมีก็ต้องการเวลาพักระหว่างวัน ซึ่งก็คือช่วง 14.00 - 15.00 น. แล้วจะกลับมาอย่างเต็มที่ในช่วง 15.00 - 17.00 น. เพื่อจบวันทำงานและไปฉลองมื้อเย็นตอน 18.00 น. พอชาร์จพลังเสร็จ บางครั้งเขาก็มักจะมีไอเดียใหม่ ๆ ในช่วง 20.00 - 22.00 น.

พวกเขาเป็นกลุ่มคนที่นอนหลับลึก แต่ก็มีแนวโน้มว่า คนกลุ่มนี้จะนอนน้อยในวันทำงาน และไปนอนชดเชยในวันหยุด ซึ่งอาจทำให้นาฬิกาชีวภาพมีความไม่แน่นอน และเสี่ยงต่อภาวะอ้วน

มากกว่านั้น คนกลุ่มนี้ก็พร้อมจะเอนตัวพักผ่อนบนเตียงตั้งแต่ 22.00 น. และเริ่มเข้าสู่ห้วงนิทราตอน 23.00 น. นั่นเอง

 

โลมา : มนุษย์นอนไม่หลับ กังวลทุกครั้งที่หัวถึงหมอน

ถึงจะพบเพียง 10 - 15% แต่ชาวโลมาคือกลุ่มคนที่กำลังเผชิญปัญหาการนอนไม่หลับ

แม้จะดูน่าเป็นห่วง แต่จริง ๆ แล้ว พวกเขาเป็นคนฉลาด รอบคอบ และละเอียดมาก ๆ เพียงแต่เอเนอร์จี้มักจะมาเต็มที่ในช่วงเช้า และแผ่วลงไปในช่วงกลางวัน แล้วกลับมาอีกครั้งในช่วง 15.00 - 18.00 น.

กลุ่มโลมาจะนอนไม่ค่อยหลับ กังวลใจทุกครั้งที่หัวถึงหมอน และยังตื่นกลางดึกบ่อย ๆ จึงนำมาเปรียบเทียบกับชีวิตจริงของโลมา สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่เวลานอนหลับ สมองครึ่งหนึ่งจะพักผ่อน ส่วนอีกซีกหนึ่งจะยังทำงานปกติ 

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ แมคเคนซีแนะนำว่า ให้คนที่มีบุคลิกแบบโลมาพักผ่อนระหว่างวัน และปิดโทรศัพท์ประมาณ 22.00 น. เพื่อลดความกังวลใจก่อนนอน และอาจทำให้นอนหลับสนิทขึ้น

 

หมาป่า : มนุษย์กลางคืน งานที่ดีจะเกิดขึ้นได้เมื่อพระอาทิตย์ตกดิน

หลาย ๆ คนต่างรู้ดีว่าหมาป่าจะออกหากินตอนกลางคืน นั่นจึงทำให้คนที่อยู่ในกลุ่มหมาป่าเป็นคนที่ทำงานได้ดีตอนบ่ายและกลางคืน 

แม้จะดูเหมือนว่าคนกลุ่มนี้จะตื่นสายกว่ากลุ่มอื่น ๆ แต่ไมเคิลอธิบายบุคลิกของคนกลุ่มนี้ไว้ว่า พวกเขาเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ เกรี้ยวกราดในบางครั้ง และชอบแสวงหาประสบการณ์ใหม่ ๆ ชอบความท้าทาย ส่วนนิสัยการนอน หมาป่าจะนอนหลับลึกปานกลาง มีแรงใช้ชีวิตมากที่สุดในช่วงสายและเย็น

พวกเขาจะเริ่ม active ตั้งแต่ 9 โมงเช้าไปจนถึงเที่ยงคืน แบ่งออกเป็นช่วงการออกไอเดียตอน 09.00 - 11.00 น. ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพช่วง 14.00 - 16.00 น. เหมาะที่จะพูดคุย แลกเปลี่ยนความเห็นกับชาวหมาป่าตอน 15.30 - 17.00 น. หลังจากพักผ่อนตอนเย็นพวกเขาก็พร้อมกลับมาทำงานอีกครั้งตอน 20.00 - 23.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เงียบสงบและเหมาะแก่การทำงานที่มีความซับซ้อน

ปกติพวกเขาจะนอนหลับอย่างน้อย 7 ชั่วโมง แต่การใช้ชีวิตกลางคืนพอ ๆ กับกลางวัน ทำให้หมาป่าเลือกที่จะเลี่ยงการเข้างานเช้าหรืองานเลี้ยงที่จบไว บางครั้งคนกลุ่มนี้จะรู้สึกว่าตัวเองนอนไม่พอ

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า หมาป่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และภาวะซึมเศร้าสูง 

ถึงอย่างนั้น คนกลุ่มนี้ก็มีตรรกะสูงและช่วยแก้ปัญหาได้ดี มีสติในการทำงานช่วงกลางคืนมากกว่ากลางวัน

บางครั้งเราอาจเป็นสิงโต บางเวลาเราก็เป็นหมี มีอาการคล้าย ๆ โลมา แล้วก็ต้องใช้เวลาช่วงกลางคืนเหมือนหมาป่า แต่เราเชื่อว่า เวลาเป็นสิ่งสำคัญ แต่การสร้างสมดุลในชีวิตระหว่างงานและสุขภาพก็สำคัญไม่แพ้กัน

และทั้งหมดเริ่มต้นได้จากการ ‘นอน’ 

 

เรื่อง : ณัฐธนีย์ ลิ้มวัฒนาพันธ์

ภาพ : แฟ้มภาพจาก Pexels

 

อ้างอิง :

psychologytoday

sleepfoundation

insider

 

ถ้าสนใจเรื่องการนอนหลับอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น The People กำลังจะจัดงาน Shall We SLEEP? ถอดรหัสลับการนอน…เพื่อนำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ในวันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 - 17.00 น. ห้องคริสตัล บ็อกซ์ ชั้น 19 เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร ผู้สนใจเข้าร่วมงานลงทะเบียนได้ที่ https://www.eventpop.me/e/16043

ครั้งแรกของการเปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะช่วยเปลี่ยนให้ผู้คนมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้นในทุกมิติแบบ 360 องศา ไม่ว่าจะเป็น

📌 Experience

การเปิดประสบการณ์โลกการนอนหลับอย่างมีคุณภาพในทุกมิติใน ‘Sleep Journey สำรวจเส้นทางนอนจาก DNA สู่ที่นอน เพื่อเช้าที่สดชื่นขึ้นทุกวัน’ ที่มีเวลาให้คุณได้ลองเข้าไปสัมผัสประสบการณ์การนอนหลับที่ดีขึ้นได้ถึง 1 ชั่วโมงเต็ม

📌 Expert

หลับตาแล้วรับฟังประสบการณ์การนอนผ่านเสียงไปพร้อมกับ ‘เสียงบำบัดประตูสู่การหลับลึกผ่านศาสตร์แห่งดนตรี’ โดย อาจารย์เมธี จันทรา นักดนตรีภาวนา ผู้สนใจและทำงานเรื่องเสียงมากว่า 20 ปี

พิเศษกับเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘ถอดรหัสลับการนอน จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นทุกเช้า’ จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญในด้านเวชศาสตร์การนอนหลับ และผู้ทรงคุณวุฒิที่มาถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการนอน

ปิดท้ายกับเวทีเสวนาในหัวข้อ ‘อยากชวนเธอมานอน เปิดประสบการณ์การนอนหลับที่จะเปลี่ยนให้พวกเรามีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น’ โดยวิทยากรผู้ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับปัญหาการนอนที่จะมาถ่ายทอดวิธีการผ่านคืนวันอันเป็นนิรันดร์ไปด้วยกัน ดำเนินการเสวนาโดย ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน ผู้ประกาศและผู้ดำเนินรายการช่องออนไลน์ชื่อดัง ผู้ที่ประสบปัญหาการนอนไม่หลับมานานกว่า 12 ปี

📌 Exclusive

งาน on ground จำกัดจำนวนที่นั่ง พร้อมลุ้นรับรางวัลสุดพิเศษที่จะมาเป็นตัวช่วยให้คุณมีการนอนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

📍 วันเสาร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 14.00 - 17.00 น. ห้องคริสตัล บ็อกซ์ ชั้น 19 เกษร เออร์เบิน รีสอร์ท กรุงเทพมหานคร ผู้สนใจเข้าร่วมงานลงทะเบียนได้ที่ https://www.eventpop.me/e/16043

💤 แล้วมานอนกันนะ