อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล

อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล

ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล

ในปี 2563 ประเทศไทยมีขยะทะเลมากเป็นอันดับ 10 ของโลก  มีปริมาณขยะพลาสติกที่ถูกจัดการไม่ถูกต้องนับ ‘ล้านตัน’ ต่อปี (ข้อมูลจาก TDRI)  ท่ามกลางขยะนับล้านตันเหล่านี้ ยังมีรองเท้าที่ไม่สามารถหลอมละลายเพื่อรีไซเคิลได้อีกจำนวนมาก จุดหมายปลายทางจึงกลายเป็นเพียงขยะกองโตที่สร้างมลพิษให้กับโลกทีละน้อย ปัญหาดังกล่าวคือสิ่งที่จุดประกายให้เกิด ‘ทะเลจร’  (Tlejourn) แบรนด์ตั้งใจจะเป็นทั้งกระบอกเสียงเพื่อ ‘พูดถึง’ ปัญหาไปพร้อมกับการ ‘แก้ไข’ ปัญหาผ่านการนำ ‘ขยะทะเล’ มาผลิตเป็น ‘รองเท้าแตะ’ สีสันสดใสดีไซน์เก๋ พร้อมเป้าหมายสูงสุดคือการปิดกิจการ เพราะเมื่อไม่มีทะเลจร นั่นหมายความว่าขยะเหล่านี้ได้หมดไปจากท้องทะเลแล้วเช่นเดียวกัน อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล ชุบชีวิตรองเท้าเก่าในทะเล “เพราะผมสอนยาง สอนให้คนผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ มันก็ต้องเป็นหน้าที่ของผมที่พยายามหาวิธีรีไซเคิลให้ได้ อันนั้นคือสารที่ผมอยากจะบอกนักศึกษา บอกเด็ก ๆ ว่าคุณรู้เรื่องที่สุดแล้วนะใน field นี้ คือเราเป็น expert ถ้าคุณทำแต่ขยะอย่างเดียว ก็ไม่มีใครทำแล้วนะ เพราะคุณรู้มากสุด ถ้าไม่ใช่คุณจะเป็นใคร” นี่คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่ ‘อาร์ม-ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย’ อาจารย์สาขาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ตัดสินใจเริ่มโปรเจกต์รองเท้าทะเลจรขึ้นมา เพราะขยะทะเล โดยเฉพาะวัสดุประเภทเทอร์โมเซตติงพลาสติก (Thermosetting plastic) ไม่สามารถหลอมละลายเพื่อรีไซเคิลได้ เขาจึงใช้วิธีการบดและอัดกาวแทน “หลัก ๆ เราเก็บขยะรองเท้ามา ล้างทำความสะอาด เอาทรายเอาอะไรออก บดให้ละเอียดเป็นผง แล้วก็อัดกาว process มันคืออัดกาวเป็นแผ่นขึ้นมา ซึ่งแผ่นนี้เอาไปทำเป็น material ได้หลายอย่าง ไม่ได้ทำเฉพาะรองเท้า จริง ๆ แล้วเราก็ส่งเป็น material ให้กับ Freitag ทำส่งให้ Starboard เขาขายทั่วโลก ก็ทำหลายอย่างครับ แต่ว่า message ของเราที่จะสื่อสาร หรือว่าเงินของเราก็ค่อนข้างที่จะมาจากรองเท้า” อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล เดิมทีโปรเจกต์นี้ไม่ได้เริ่มมาจากโมเดลธุรกิจ และไม่ได้คิดไว้ว่าจะทำเป็นรองเท้า หากเกิดจากการวิจัยของอาร์มร่วมกับนักศึกษาที่ต้องการนำขยะมารีไซเคิล จนกระทั่งอาร์มได้รู้จักกับกลุ่ม Trash Hero เหล่าอาสาสมัครเก็บขยะทะเลเมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว “เขาเก็บทุกสัปดาห์ เราก็คิดว่าเจ๋งว่ะ เพราะเราอยากได้ขยะ ผมก็เลยโทรฯ ไปหาเขาแล้วบอกว่าผมขอขยะประเภทนี้ได้ไหม คุณเก็บ คุณเจออยู่แล้ว เขาก็บอกว่าได้ แต่ว่าเขาก็หายไปหนึ่งปีนะ แล้วกลับมาพร้อมกับขยะ เขาบอกว่าอาจารย์มีรถสิบล้อไหม ผมก็ตกใจ เขามีอยู่ 8 ตัน (8,000 กิโลกรัม) ที่เก็บไว้ให้  “เราก็เอายังไงดี มันเยอะ แต่เราขอเขาแล้ว เขาเก็บมาให้แล้ว ก็ต้องขนกลับมา อันนั้นคือจุดเริ่มต้นจริง ๆ ว่า จากที่เรามองว่าการรีไซเคิลแบบเดิม ๆ มันไม่มีวันจบ ถ้าเราไม่มี product ที่มันใช้เป็น main สองก็คือ เราดันไปขอขยะเขามา แล้วเขาดันให้มาเป็นปริมาณที่เยอะมาก เราก็พยายามหาทุนเพื่อกำจัดขยะเหล่านี้ ตอนนั้นก็ขอหลายที่นะ ไม่มีใครให้ เพราะตอนนั้นเรื่องสิ่งแวดล้อมมันยังไม่อิน ก็ไม่มีใครให้ตังค์ เราก็เลยคิดว่าเราต้องทำเป็นธุรกิจอะไรสักอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ตังค์มาทำ” อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล ระดมไอเดียจากผู้คน หาต้นทุนจากธุรกิจ เมื่อจำเป็นต้องหา ‘ต้นทุน’ เพื่อกำจัดขยะโดยไม่ต้องการ ‘กำไร’ อาร์มและทีมงานจึงเข้าร่วมประกวดในโครงการ One Young World 2015 โดยใช้โมเดลธุรกิจเพื่อสังคม (social enterprise) แบบ zero profit  “เป้าหมายของธุรกิจคือการกำจัดขยะกองนั้น” อาร์มเกริ่นถึงจุดมุ่งหมายในตอนเริ่มต้น “เราก็ได้เข้าไปโครงการ One Young World มันก็เป็นการ narrow down ความคิดเราว่าโอเคคุณต้องทำแผนธุรกิจ สองคือเขาต้องการแผนธุรกิจที่เป็น social enterprise” อ่านมาถึงตรงนี้บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องเป็น ‘รองเท้า’ ซึ่งปาร์ก-ปริญญา อารีย์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโปรเจกต์นี้เล่าย้อนถึงที่มาว่า “จริง ๆ เราจะกรอกใบสมัครเป็นยางปูพื้น แล้วก็มีพี่บอกว่าเราไม่ทำเป็นพื้นแล้ว เราชุบชีวิตรองเท้าเก่าที่มันตายแล้วให้กลายเป็นรองเท้าใหม่ได้ไหม”  และนั่นคือจุดเริ่มต้นของการทำเป็นรองเท้าแตะรีไซเคิล ก่อนจะมีไอเดียอื่น ๆ จากความร่วมมือของคนหลายกลุ่ม แม้กระทั่งขยะที่นำมาทำเป็นรองเท้า บางส่วนยังรับบริจาคมาจากผู้คนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดปัตตานี  “มันเป็นโปรเจกต์ที่เหมือนทุกคนมาช่วยกัน ไอเดียของรองเท้าจริง ๆ พี่ที่เขาให้เราสมัครนั่นแหละบอก ก็ไม่เชิงไอเดียนะ เขาบอกว่า ‘อาจารย์ทำเป็นรองเท้าได้ไหม’ เพราะเริ่มต้นมันคือรองเท้าไง ผมก็เป็นอาจารย์สอนทำ product อยู่แล้ว ก็บอกว่าทำไมจะไม่ได้ ก็ต้องได้สิ ไม่ใช่ตอบในเชิงธุรกิจนะ ตอบในเชิง technical (หัวเราะ) พอเราเปิดว่าโปรเจกต์นี้มันเป็นของทุกคน คนก็ input ทุกอย่างมา ทั้งไอเดียว่าเป็นรองเท้า หรือโลโก้ก็มีคนให้เรา ชื่อตอนแรกเราจะตั้งชื่อโปรเจกต์ว่า ‘พเนจร’ แต่โค้ชใน One Young World ก็บอก อาจารย์เป็นชื่อ ‘ทะเลจร’ ได้ไหม เราก็บอกว่า ได้ ได้หมดแหละ …มีอยู่ช่วงหนึ่งมีคนต้องการจะซื้อแบรนด์ ผมก็ไม่รู้จะขายยังไง เพราะรู้สึกว่าเราไม่มีสิทธิ์ขาย เพราะว่าไอเดียมันมาจากทุก ๆ คน “จริง ๆ เราขายความสุขนะ เราขาย message ขายเนื้อหา รองเท้าเป็นแค่สะพานเชื่อมไปเฉย ๆ แล้วรองเท้าทุกคนมีได้เกินหนึ่งคู่ มันช่วยส่ง message ได้ง่ายกว่าพื้น เพราะพื้นเนี่ย คนต้องเดินทางไปถึงแล้วก็ เอ๊ะ! มันทำมาจากอะไรเนี่ย กว่าจะไปเจอ แต่พอเป็นรองเท้ามันเดินไปได้ ก็เลยเป็นคำตอบที่ดี” อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล โมเดลธุรกิจแบบ zero profit ในแง่การหารายได้ ทะเลจรต้องการเพียงต้นทุนมาบริหารจัดการ เพราะวัตถุดิบหลักอย่างขยะนั้นมาจากกลุ่ม Trash Hero ซึ่งเป็นอาสาสมัคร บวกกับการรับบริจาคผ่านทางเพจเฟซบุ๊ก Tlejourn: ทะเลจร “เราก็จะเหมือนรับวัตถุดิบมาฟรี ถ้าขายก็จะน่าเกลียด เพราะเราก็เป็น trash hero ด้วย เพราะฉะนั้น model ธุรกิจก็จะต้องเป็นยังไงก็ได้ให้เราไม่ได้ตังค์ trash hero เขาจะได้แฮปปี้” ดังนั้นราคารองเท้าทะเลจรคู่ละ 399 บาท คือราคาต้นทุนการดำเนินการ (operating cost) เท่านั้น โดยจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน  140 บาท = ค่าวัสดุอุปกรณ์ 129 บาท = ค่าตอบแทนสำหรับผู้ขาย  130 บาท = ค่าตอบแทนกลุ่มแม่บ้านที่ประกอบรองเท้าและเย็บถุงผ้า “เราบอกว่าเราอยากจะแบ่งเงินเป็น 3 ส่วน แรงงานให้หนึ่งในสาม เราไม่ได้อยากบอกว่ารายได้ส่วนหนึ่งไปช่วยชาวบ้าน เพราะ labor คือพาร์ตเนอร์ของเราได้เงินเท่ากัน เราขาย 1 คู่ เขาได้ 130 ขาย 10 คู่ เขาได้ 1,300 ไปพร้อมกัน ไม่ใช่ยังไง ๆ คุณก็ได้วันละ 300 บาท ผมขายกี่คู่ คุณก็ต้องทำเยอะไว้ก่อน ผมก็กำไรมากขึ้น relationship ไม่เหมือนกัน เพราะ relationship แบบนี้นายทุนจะเป็นเจ้าของ labor “เราก็ให้แรงงานกลุ่มแม่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรง ส่วนใหญ่ก็ผู้นำครอบครัวเสียชีวิต เหลือแค่แม่บ้านที่ต้องมารวมตัวกันแล้วก็หารายได้ แล้วก็ feed งานไปให้เขา ขณะเดียวกันเราก็ซื้อ product เขา เอามาทำเป็น packaging ถุงผ้าปาเต๊ะ เนื่องจากเราทำเรื่องขยะ เราไม่ต้องการใส่ถุงพลาสติกขาย “แล้วเราให้ชาวบ้านเขาทำงานที่บ้าน ไม่ได้เอาเขามาทำงานที่นี่ เพื่อให้ไม่มีโมเดลว่า ต้องทิ้งบ้านมาทำงาน ลูกอยู่กับใคร ยายอยู่กับใคร พอทิ้งไปทิ้งมา ขาย (ที่ดิน) ทิ้งดีกว่า เราจะไม่เป็นส่วนหนึ่งของการไปดึงแรงงานออกจากพื้นที่ ไม่ได้ไปทำให้เขาเปลี่ยนวิถี”   ปัญหาที่ซุกไว้ใต้กองขยะ นอกจากวงจรของการรีไซเคิลแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่อาร์มพบหลังจากร่วมเป็น Trash Hero และคลุกคลีอยู่กับขยะกองโตมาหลายปี คือปัญหาสังคมที่ซุกซ่อนและเชื่อมโยงอยู่ในขยะทุกชิ้น “เราเคยเข้าไปเก็บขยะในหมู่บ้าน ขยะเยอะมาก แทบจะนอนบนกองขยะกันเลย เราก็ค่อย ๆ เรียนรู้ว่าจริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ปัญหาขยะ ชาวบ้านเขาก็คงใช้ชีวิตไม่ต่างจากแบบนี้มาก่อน หมายถึงโอเค แต่ก่อนมันเป็นใบตอง packaging มันไม่ใช่พลาสติกมาก่อน มันก็จัดการตัวมันเองได้ ปัจจุบัน packaging มันดันจัดการตัวเองไม่ได้ แต่ว่าพฤติกรรมของชาวบ้านยังไม่เปลี่ยนไป facilities ของรัฐมันยังไม่เปลี่ยนไป รถขยะยังไม่ได้มีทั่ว education ก็ยังไม่ได้เข้าถึงอย่างดี เราเข้าไปในหมู่บ้านก็จะเริ่มเห็นอะไรพวกนี้ แล้วมันก็แสดงออกมาในทางกองขยะ เป็นชีวิต เป็นอะไรหลายอย่าง บางคน ขอให้ อบต. เอาขยะมาถม เพียงเพราะว่ามันเป็นดินฟรี บอกถม ๆ ไปเถอะ เดี๋ยวสักพักมันก็ได้ใช้ “มันเริ่มเชื่อมโยงมาในหัวของเราแล้วว่า เราเดินมาด้วยขยะแล้วเราไปเจออะไรที่มันมากไปกว่านั้นเยอะ ทั้งการศึกษา ทั้งความยากจน เราเอาขยะมาเป็นดินถมฟรี ๆ อย่างนี้ พวกนี้เป็นความเชื่อมโยงที่ถ้าเราพินิจมันนิดหนึ่ง เราจะพบว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน”  อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล อาร์ม - ดร.ณัฐพงศ์ นิธิอุทัย ผู้ร่วมก่อตั้ง ‘ทะเลจร’ (Tlejourn) แบรนด์รองเท้าจากขยะทะเล เป้าหมายคือการไม่มีทะเลจร ตลอดระยะเวลาราว 7 ปีที่ผ่านมา อาร์มมองว่ารองเท้าทะเลจรไม่ได้ลดปริมาณขยะรองเท้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังเป็นตัวกลางที่ช่วย ‘สื่อสาร’ ให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการแก้ไขอย่างตรงจุดจากต้นตอของปัญหา “พอเห็นปุ๊บแล้วรู้ว่ามันเป็นขยะ มันเป็น message ที่คนจะต้องถามว่ามาจากอะไร แล้วเราก็จะตอบว่ามันมาจากขยะ แล้วคำถามต่อไปก็จะทำนองว่า มันมีขยะได้มากขนาดนี้เลยหรือ ที่เราจะมาทำธุรกิจจนเห็นในข่าวอย่างนู้นอย่างนี้ เราก็จะสามารถดึงเขาเข้ามาเพื่อจะบอกว่าปริมาณขยะทะเลมันมีเท่านู้นเท่านี้เท่านั้น ขยะรองเท้าเป็นปริมาณ 10% ที่เราเก็บได้ เพราะฉะนั้นถ้าคิดเป็นปริมาณมันก็มหาศาล   “แม้กระทั่งในการแข่งขัน เวลาเรา develop business plan ที่ผ่านมาเรื่องวัตถุดิบ เราสอบตก เพราะว่าหนึ่งวัตถุดิบฟรี เราต้องการที่จะ keep มันฟรีเพื่อจะ acknowledge ว่า Trash Hero เขาเก็บให้ ถ้าเราซื้อเมื่อไร มันจะเริ่มแปลก ๆ ชั่วโมงหนึ่งของ Trash Hero มันจะมูลค่า 2 บาท 1 บาท ถ้าซื้อแพงโมเดลก็ไม่ไป ซื้อถูก Trash Hero ก็ราคาถูก เพราะฉะนั้นเราก็เลยยืนยันที่จะบอกว่า ขยะเราเอามาฟรี สองคือเราไม่กลัวขยะหมด เพราะขยะเราเยอะมาก เราต้องการจะสื่อสารสองอย่างนี้ไปให้ได้ว่า Trash Hero เก็บตลอดชีวิต ขยะก็จะมีตลอดชีพ ถ้าเราไม่เปลี่ยนแปลงอะไรบางอย่าง”   ที่มา: https://tdri.or.th/2021/06/world_   oceanday/#:~:text=จากผลการศึกษาของ,บ%208%25%20ขวดแก้ว%207%25