พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ

พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ

การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของวิธีการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ แต่เชื่อไหมว่าไม่ใช่ถ้วยกระดาษทุกใบที่จะช่วยแก้ปัญหาอย่างตรงจุด

วันนี้คนเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น โดยเฉพาะการลดใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว เพื่อลดปริมาณขยะพลาสติกในธรรมชาติ ซึ่งการเลือกใช้ถ้วยกระดาษ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของวิธีการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ แต่เชื่อไหมว่าไม่ใช่ถ้วยกระดาษทุกใบที่จะช่วยการแก้ปัญหาอย่างตรงจุด The People เลยอยากชวนทุกคนมาสนทนากับ พัสกร กมลสุวรรณ CEO บริษัท เค.เอ็ม.แพ็กเกจจิ้ง จำกัด เบอร์หนึ่งที่อยู่ในวงการบรรจุภัณฑ์กระดาษมานานกว่า 50 ปี ที่คิดค้นถ้วยกระดาษที่สามารถย่อยสลายได้เอง แทนถ้วยเคลือบพลาสติก PE ทำให้ช่วยลดขยะในธรรมชาติได้อีกหนึ่งชิ้น นอกจากบรรจุภัณฑ์สีเขียวแล้ว เขายังพยายามผลักดันให้โรงงานนี้เป็นโรงงานสีเขียวที่ได้รับมาตรฐานระดับโลกมากมายตั้งแต่ ISO 9001, 14000, 22000, GMP, HACCP ไปจนถึง FSC ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อสิ่งแวดล้อมที่รับรองว่า วัตถุดิบที่ใช้นี้มาจากป่าไม้ ทั้งป่าไม้ตามธรรมชาติ และสวนป่าที่มีการปลูกต้นไม้ทดแทน ที่มีการบริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบตามมาตรฐานตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อความยั่งยืนของสังคม ชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยเป้าหมายที่พัสกรตั้งไว้คือ การเป็นผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษรักษ์โลกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและปลอดภัยต่อผู้ใช้งานไปพร้อมกัน พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ The People : ทำไมทำบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัสกร : ต้องย้อนกลับไปเมื่อประมาณสัก 10 กว่าปีที่แล้ว จริง ๆ เราต้องย้อนกลับไปตั้งแต่อดีตเลย เราทำบรรจุภัณฑ์ประเภทกระดาษใส่อาหาร เริ่มจากเราเป็นโรงงานผลิต จากแต่เดิมที่รุ่นคุณพ่อของเราเป็นโรงพิมพ์ แล้วก็ย้ายมาทำแพ็กเกจจิง เรามองว่าเราต้องการเป็นโรงงานที่ต่างจากโรงงานของคนอื่นอย่างไร เลยหยิบผลิตภัณฑ์ประเภทถ้วยขึ้นมา ซึ่งด้วยวิสัยทัศน์ของคุณพ่อเขาก็มองว่า เราอยากจะเปลี่ยนจากถ้วยในอดีตเมื่อสัก 60 ปีที่แล้วที่เป็นตระกูลถ้วยเคลือบเทียน มาเป็นถ้วยเคลือบ PE (Polyethylene) เราก็เลยเป็นโรงงานแรกในไทยที่เป็นถ้วยเคลือบ PE ขึ้นมา แล้วก็ดำเนินธุรกิจถ้วยเคลือบ PE เป็นหลักมาโดยตลอด จนกระทั่งเมื่อสักประมาณ 10 กว่าปีก่อน เราเชื่อว่าถ้วยเคลือบ PE มันทดแทนถ้วยเคลือบเทียนซึ่งมีผลต่อสุขภาพร่างกายคน แต่พอถ้วยเคลือบ PE ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายคนแล้ว แต่มีโอกาสที่จะเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะถ้วยเคลือบ PE ใช้เวลาย่อยสลายนาน ดังนั้นเราก็เลยคิดที่จะพัฒนาถ้วยขึ้นมาตระกูลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าถ้วยที่ย่อยสลายได้ เลยเกิดเป็นถ้วย PBS (Polybutylene succinate) ขึ้น ความต่างจากถ้วยปัจจุบันคือมันสามารถย่อยสลายได้ภายใน 180 วัน ด้วยตัวเอง โดยจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินหรืออะไรหลาย ๆ อย่างก็จะแปรรูปมันไปตามธรรมชาติ KMP The People : ปรัญชาการทำธุรกิจให้ยั่งยืนในแบบของ เค.เอ็ม.แพ็กเกจจิ้ง มีแนวคิดว่าอย่างไร พัสกร : จริง ๆ ปรัชญาที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม เราโฟกัสตั้งแต่เมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา ตอนเราย้ายโรงงานจากเคหะบางพลีมาที่นี่ พอเราย้ายมาก็มีปรัชญาว่า เราจะสร้างโรงงานภายใต้คอนเซปต์ green energy packaging ดังนั้นการจะเป็น green energy packaging ได้ เราต้องเป็น green energy factory ดังนั้นเราเลยสร้างทุก ๆ อย่างของโรงงานนี้บนพื้นฐานของ green energy ตั้งแต่พลังงานต้องเป็นพลังงานเขียว เป็นโรงงานที่ประหยัดพลังงาน เราใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มีระบบบำบัดน้ำเสียครบวงจร น้ำเสียที่ได้จากระบบบำบัดการผลิตก็นำไปเลี้ยงปลา เรามีระบบบำบัดเศษอาหารที่คนรับประทานเหลือ พอคนรับประทานเหลือเราก็เอาเศษอาหารเหล่านี้มาลงเครื่อง ซึ่งเครื่องก็จะย่อยสลายเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ย รวมถึงของเหลือใช้บางอย่าง เราก็ใส่ลงไปในเครื่องนี้ได้ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ แล้วเราก็จะได้ผลลัพธ์ภายใน 24 ชั่วโมง เราก็ได้ปุ๋ยไปปลูกพืชสวนครัวต่อ เราปลูกพืชสวนครัวแล้วเอามาให้พนักงานรับประทาน รวมถึงขายเข้าตลาดบ้างแล้วแต่เลย พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ เรามองว่าเราทำทั้งองค์กรให้เป็น green system แล้ว อยากปิดวงจรให้เป็น zero waste ให้ waste ต่าง ๆ ออกไปจากองค์กรน้อยที่สุดและส่งผลถึงสิ่งแวดล้อมหรือชุมชนใด ๆ ให้น้อยที่สุด เป็นหนึ่งในวิสัยทัศน์ของเราเลย เราอยากเป็น green energy packaging ดังนั้นสิ่งแรกที่เราจะทำให้ได้คือ เราต้อง green energy factory ให้ได้ พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ The People : โรงงานได้มาตรฐานอะไรบ้าง พัสกร : เราทำครบตามมาตรฐาน FSC (Forest Stewardship Council) ทั้งหมด โปรดักส์ที่นี่เราได้ ISO 9001, 14000, 22000, GMP, HACCP ซึ่งเราผลิตทั้งหมดบนระบบที่สามารถทรีตลูกค้าแบรนด์ใหญ่ได้ทั้งหมด รวมถึงมาตรฐานที่เป็น green industry ต่าง ๆ ซึ่งเราทำระบบต่าง ๆ เหล่านี้มารองรับ เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้าของเราเมื่อไปถึงมือผู้บริโภคจะเป็นสินค้าที่ดีที่สุด ปลอดภัยที่สุด คุณภาพสูงสุด และมีความสวยงามมากที่สุด ตัวอย่างคือเราใช้ raw material ที่ผ่านมาตรฐาน ใช้หมึกพิมพ์ที่มาจาก soy ink เราใช้จาระบีที่เป็น food grade ทั้งหมด เนื่องจากโปรดักส์ของเราสัมผัสกับผู้บริโภคโดยตรง ดังนั้นโปรดักส์ของเราทั้งหมดต้องมั่นใจได้ว่า ผู้บริโภครับเข้าไปแล้วไม่มีปัญหาต่อร่างกาย พอเรามองในแง่ของร่างกาย สุขภาพของผู้บริโภคทั้งหมดแล้ว เราก็มามองตัวแปรถัดมาคือเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งเราจะทำอย่างไรให้โปรดักส์ที่นอกจากจะปลอดภัยกับผู้บริโภคแล้ว ยังต้องดีต่อสิ่งแวดล้อมด้วย เรียกว่าเทคแคร์ตั้งแต่ผู้บริโภคไปจนถึงสิ่งแวดล้อมทั้งหมด ซึ่งเป็นที่มาของเราจะทำอย่างไรให้เป็นบรรจุภัณฑ์แบบ biodegradable พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ The People : ผู้ใช้จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นบรรจุภัณฑ์สีเขียว พัสกร : ลักษณะของโปรดักส์ของผมเป็นโปรดักส์แบบ B2B เป็นหลัก ผู้ซื้อไม่ได้ใช้ ผู้ใช้ไม่ได้ซื้อ ดังนั้นผู้ให้ความสำคัญกับ biodegradable กับ FSC เป็นหลักจะต้องเป็นผู้ประกอบการที่ซื้อสินค้าจากเราไปแล้วต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ หรือถ้าเป็น B2C จะเห็นได้ชัดแล้วว่ามุมมองของลูกค้าเขาคิดอย่างไรกับสิ่งแวดล้อม ส่วนผู้ใช้ทั่วไปจะแทบแยกไม่ออกด้วยตาเปล่าว่าแบบไหนคือบรรจุภัณฑ์สีเขียว แต่สิ่งที่ทำได้คือ เราสามารถเช็คได้จากสื่อของผู้ใช้ว่าลูกค้ากลุ่มที่ใช้ตระกูล biodegradable นี้ ปัจจุบันมีเยอะขึ้นเรื่อย ๆ เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น มันเป็นเรื่องยากในการสื่อสาร นอกจากเป็นการจับมือกันของ supply chain ทั้งหมด แต่ก็มีความเป็นไปได้เพราะปัจจุบันก็มีการสื่อสาร ลักษณะนี้เกิดขึ้นหลายปาร์ตี้แล้ว อย่างกลุ่มของบางกระเจ้า, Waste Runner, จุฬา zero waste เป็นตัวอย่างที่ดีว่าตอนนี้องค์กรใหญ่ ๆ หรือสถาบันการศึกษาใหญ่ ๆ ให้ความสำคัญกับ waste management หรือ sustainability เรื่องของ circular economy ทั้งหมด พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ การที่จะให้ได้ประโยชน์อย่างยั่งยืนไม่ใช่แค่ผู้ผลิตเท่านั้น แต่มันเป็นทั้งระบบ ผมทำให้ระบบยั่งยืนด้วยตัวผมเองได้ แต่ถ้าหากว่าคนรอบข้างไม่ได้ให้ความสำคัญ ท้ายที่สุดระบบนี้จะเริ่มถดถอยด้วยตัวมันเอง แต่ ณ วันนี้ ข้อดีของคนไทยก็คือเราเริ่มให้ความสำคัญ ตระหนักถึงพิษภัยของการที่เราไม่ได้ดูแลสิ่งแวดล้อม มันส่งผลถึงปัจจุบันอย่างไรกับพวกเราบ้างทั้งทางตรงและทางอ้อม ผมว่าสิ่งที่เห็นได้ชัดคือมีความต้องการมาจากผู้บริโภคระดับหนี่ง ทำให้ผู้ประกอบการหลายคนเริ่มตระหนักและให้ความสนใจ อย่างเช่นที่ผ่านมาหลอดกระดาษเป็นเรื่องที่มาแรง เป็นต้น เทคโนโลยีของหลอดกระดาษ สิ่งที่เราทำก็คือพยายามพัฒนาหลอดกระดาษใหม่ที่ไม่มีอยู่ในตลาด เป็นหลอดกระดาษที่จากเดิมจุ่มน้ำสักพักจะเป็นขุยออกมา เราก็อยากจะพัฒนาหลอดกระดาษที่จุ่มน้ำแล้วไม่เป็นขุย ตอนนี้เราทำสำเร็จแล้ว ตอนนี้พร้อมที่จะเข้าสู่ตลาดแล้ว เราน่าจะเป็นเจ้าเดียวในไทยที่ทำได้ พัสกร กมลสุวรรณ The People : ทำอย่างไรให้ผู้ใช้หันมาสนใจสิ่งแวดล้อมไปด้วยกัน พัสกร : (คิด) อืม...ข้อดีคือบริษัทนี้เป็นธุรกิจครอบครัว มีคุณแม่เป็นเจ้าของกิจการและลูกอีกสามคน แต่การคุยกันเราค่อนข้างคุยกันง่ายและตัดสินใจจบแล้วว่าเราจะเดินไปแบบนี้ เราไปเลย ดังนั้นเราไม่ใช้เวลานานในการเปลี่ยนแปลง แต่ในเรื่องการที่จะทำให้ผู้บริโภคปรับตัว ต้องยอมรับว่าการเปลี่ยนแปลงในกลุ่มที่เป็น biodegradable หรือตามเทคโนโลยีของ FSC มันทำให้ต้นทุนของวัตถุดิบสูงขึ้น สิ่งที่เราคาดหวังคือมันสูงขึ้น แต่จะเป็นแค่ระยะเวลาหนึ่ง เพราะเมื่อผู้บริโภคให้ความสนใจมากขึ้นในทฤษฎี economy of scale ก็จะทำให้ราคาลดลงในอนาคต พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ The People : ในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่ของประเทศและอาเซียน เราจะให้ความรู้ผู้ใช้งานอย่างไรให้มาสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อม พัสกร : สิ่งที่เราทำตอนนี้เป็นการให้ความรู้ตั้งแต่กลุ่มที่เป็น B2B ด้วยกัน โดยเรามีทางเลือกให้กับผู้บริโภคมากขึ้น เขามีสิทธิ์ที่จะเลือกโปรดักส์ที่มีความหลากหลายมากขึ้น และความหลากหลายนี้จะนำมาซึ่งความแตกต่างในการดำรงชีวิตของเขาในระยะยาวอย่างไร ซึ่งเราเริ่มทำแคมเปญร่วมกับสถานที่ต่าง ๆ เช่นโครงการจุฬา zero waste เราผลิตสินค้ากลุ่ม biodegradable ให้เขาเห็นความสำคัญของโปรดักส์ที่ย่อยสลายได้ มันจะดีต่อชุมชนอย่างไร ดีต่อสิ่งแวดล้อมองค์รวมอย่างไร พอเขาเห็นความสำคัญก็จะหันมาเข้าสู่โปรเจกต์เหล่านี้ เป็นการร่วมโปรเจกต์กัน พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ The People : แสดงว่าการเลือกใช้กระดาษเป็นอีกหนึ่งวิธีง่าย ๆ ในการช่วยโลก พัสกร : โปรดักส์ของผมเกือบทั้งหมด ผมค่อนข้างที่จะมีการรับรองว่าใช้โปรดักส์จากเรา สุขภาพปลอดภัยทั้งหมดแน่นอน ไม่มีสารเคมีใด ๆ เจือปน ข้อที่สองเรามีทางเลือกให้อยู่แล้วว่าถ้าลูกค้าอยากจะมีส่วนร่วมต่อสิ่งแวดล้อม ในการรณรงค์รักษาสิ่งแวดล้อม เรามีทางเลือกให้หมดอยู่แล้ว ข้อที่สามเราพร้อมที่จะมีส่วนร่วมในทุก ๆ องค์กรในการมีแคมเปญต่าง ๆ เพื่อที่จะโปรโมทผลักดันโปรดักส์ในกลุ่ม FSC รวมถึง biodegradable ทั้งหมดให้กลายเป็นตัวหลักของระบบนิเวศทั้งหมดของบ้านเรา ถ้าอยากเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดีต่อโลก หนึ่ง ถ้ารู้ว่าผู้ผลิตคือใคร เลือกจากโรงงานนั้นเลยครับ ข้อที่สองเราบอกได้ว่านอกจากผู้ผลิตแล้ว ในแต่ละธุรกิจองค์กรเขามีนโยบายอย่างชัดเจนอยู่แล้วว่า ผลิตภัณฑ์ทั้งหมดของเขาต้องย่อยสลายในธรรมชาติได้อยู่แล้ว บางธุรกิจบางองค์กรต้องเป็น FSC เท่านั้นนะ ซึ่งกลุ่มนี้บ่งบอกเจตนารมณ์ของ supply chain ทั้งระบบอยู่แล้วว่าเขามีทิศทางไปเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่เราจะร่วมมือได้ รวมถึงผู้บริโภคจะร่วมมือได้ก็คือสนับสนุนสินค้าและองค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ ก็จะเป็นการทำให้เกิดความยั่งยืนทั้งระบบ พัสกร กมลสุวรรณ ชายที่พยายามทำให้การเลือกใช้ถ้วยกระดาษ เป็นทางเลือกในการรักษ์โลกแบบง่าย ๆ