ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”
ฉลอง 50 ปี แห่งการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีของ “ณัฐ ยนตรรักษ์”

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดง exclusive ‘50 Years of Legacy: A preview of 2024 celebration of Nat Yontararak’s 50 years of legacy’ โดย ณัฐ ยนตรรักษ์ นักเปียโนมือวางอันดับหนึ่งของประเทศ ศิลปินร่วมสมัย รางวัลศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ ประเทศไทย เพื่อฉลองครึ่งศตวรรษกับการสร้างผลงานการประพันธ์เพลงและบรรเลงเปียโนคลาสสิกให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับโลกตลอด 50 ปี ในการแสดงครั้งนี้เป็นการนำบทเพลง ‘บุตรน้อยหลงหาย’ ซึ่งเป็นการผสมผสานของศิลปะการแสดงพื้นบ้านลิเกจับคู่กับดนตรีคลาสสิก และเคยจัดแสดงมาแล้วทั่วยุโรปใน 6 ประเทศ 15 เมือง จนได้รับการยกย่องว่าเป็นการแสดงงดงาม ทลายกำแพงทางภาษาผ่านท่วงทำนองของดนตรี ถ่ายทอดวัฒนธรรมของประเทศไทยได้อย่างชัดเจน และยังเป็นการต่อยอด Soft Power ของไทยด้วยการนำเอกลักษณ์เฉพาะตัวของไทยนำเสนอผ่านสื่อการแสดงและเนื้อหาที่คนทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ โดยงานแสดงในครั้งนี้มีผู้ชมเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์ของดนตรีคลาสสิกสุดพิเศษนี้อย่างคับคั่ง

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


 

ความพิเศษของบทเพลงลิเกจากเรื่อง “บุตรน้อยหลงหาย” นอกจากจะเป็นการนำเสนอเรื่องราวจากบทเรียนชีวิต เล่าถึงการให้อภัยในครอบครัวที่ได้รับการส่งต่อจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ลมากว่า 2,000 ปีทั่วโลก ยังเป็นการประพันธ์ร่วมกันระหว่างอาจารย์ณัฐ และ วูกัช คูเชดโว ที่นำความโดดเด่นของทำนองลิเกที่คนไทยทุกคนคุ้นหู ผสานกับเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตะโพน เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของไทยร่วมกับเครื่องเคาะของดนตรีตะวันตกอีกหลากหลายชนิด ที่ดีไซน์ออกมาเพื่อตอกย้ำเสน่ห์ของความเป็นลิเกให้ชัดเจนขึ้น ช่วยสร้างสุนทรีย์ให้กับการแสดงได้สมบูรณ์

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


“การแสดงในครั้งนี้ผู้ชมจะได้สัมผัสประสบการณ์ของ 'ดนตรีเล่าเรื่อง' ที่ถ่ายทอดแก่นสารของเนื้อหาได้อย่างครบถ้วนทุกอรรถรสผ่านการบรรเลงเปียโนของผมและเทคนิคการดีไซน์เสียงด้วยตะโพนและเพอร์คัชชั่นของ วูกัช คูเชดโว โดยผ่านเรื่องราวที่เป็นที่รู้จักและเข้าถึงได้ง่ายสำหรับผู้ชมทั่วโลก และการได้เห็นภาพของศิลปินไทยที่เล่นเครื่องดนตรีของตะวันตกอย่างเปียโน และศิลปินตะวันตกที่เล่นเครื่องดนตรีไทยอย่างตะโพน เป็นภาพที่หาดูได้ยาก และนี่คือการสานสัมพันธ์ทางดนตรีที่เห็นได้ชัดอย่างเป็นรูปธรรม เป็นภาพการแสดงที่มีเนื้อหาลึกซึ้งในทุกมิติที่มากกว่าความบันเทิง” ณัฐ ยนตรรักษ์ กล่าว

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


 

โดยการแสดงเพลงลิเก ‘บุตรน้อยหลงหาย’ ในครั้งนี้ ได้รับกระแสตอบรับเป็นอย่างดี ผ่านผู้เข้าชมที่พร้อมใจกันร่วมชมการแสดงครั้งนี้เต็มทุกที่นั่งของศาลาสุทธสิริโสภา หอแสดงที่ออกแบบโดยคุณณัฐ ยนตรรักษ์ อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากบุคคลสำคัญจากหลากหลายวงการ อาทิ รศ.ดร. กฤษติกา คงสมพงษ์ อดีตนายกสมาคมแม่บ้านทหารบก และอาจารย์ประจำสาขาการตลาด สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ผศ.ดร. นริศ ชัยสูตร ประธานกรรมการ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), คุณสงกรานต์ อิสสระ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จํากัด (มหาชน), คุณศรีวรา อิสสระ ประธานกรรมการ บริษัท ชาญอิสสระ ดีเวล็อปเมนท์ จํากัด (มหาชน), คุณจิณัดดา ฉันทวานิช บรรณาธิการและผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ https://fiercebook.com, ครูปาน-สมนึก คลังนอก ศิลปินวาดภาพประกอบชื่อดัง,ตัวแทนจากสถาบันดนตรียามาฮ่า, สถานเอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย, สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย, สถาบันบางกอกแดนซ์  ฯลฯ

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


นอกจากการแสดงสุดพิเศษ การจัดงานครั้งนี้ก็เพื่อร่วมฉลองการก้าวเข้าสู่ปีที่ 50 ของอาจารย์ณัฐในฐานะศิลปินร่วมสมัยศิลปาธร สาขาคีตศิลป์ ถูกยกย่องให้เป็นนักเปียโนชั้นครูของไทยเพียงหนึ่งเดียวในไทยที่ประพันธ์บทเพลงและบรรเลงเปียโนด้วยตัวเอง ตลอด 50 ปีบนเส้นทางดนตรี ณัฐ ยนตรรักษ์ ได้รับการยกย่องในเรื่องการประพันธ์ดนตรีที่ผสมผสานเอกลักษณ์ความเป็นไทยกับการบรรเลงดนตรีคลาสสิกจนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ อาทิ เพลงไก่แก้ว เป็นการประพันธ์ดนตรีในรูปแบบ variation โดยนำสุนทรียภาพของดนตรีไทยเดิม คงเอกลักษณ์ของทำนองหลัก ผสมผสานกับการเลียนบันไดเสียงแบบดนตรีไทยและเรียบเรียงทำนองให้เป็นดนตรีร่วมสมัยด้วยการบรรเลงเปียโน

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


 

นอกจากนี้ยังมีผลงานการประพันธ์บทเพลงเพื่อแสดงในโอกาสพิเศษต่างๆ อาทิ บทเพลงเปียโนโซนาต้าหมายเลข 2 ชื่อ ถวายบังคมนวมินทรราชา (Homage to H.M. King Rama the Ninth), บทเพลง สยามโซนาตา (Siam Sonata) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงมีพระชนมายุครบ 75 พรรษา, บทเพลง กุหลาบแห่งรัก (Rose of Love) ซึ่งประพันธ์เพื่อถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระรมราชินีนาถ ในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 60 พรรษา, บทเพลงเปียโนโซนาต้า หมายเลข 1 มีชื่อว่า ถวายชัยคีตมหาราชา (Glory to Our Great Kings)

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


 

ตลอดเส้นทางดนตรีกว่าครึ่งศตวรรษ ณัฐ ยนตรรักษ์ ผลงานการประพันธ์เพลงกว่า 100 บทเพลง ไม่เพียงสร้างความสุขให้ผู้คนผ่านเสียงเปียโนผ่านการแสดงรอบโลกมากกว่า 1,000 การแสดง แต่การได้รับเชิญในฐานะตัวแทนประเทศไทยให้ไปทำการแสดงในที่ต่างๆ อาทิ สำนักงานใหญ่ขององค์กรสหประชาชาติที่นครนิวยอร์คในโอกาสครบรอบ 50 ปี ครองราชย์ของร. ๙ และ 50 ปี องค์กรสหประชาชาติ โดยบทเพลงที่เขานำไปแสดงนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเพลงไทยและเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเอง ไม่เพียงทำให้คนไทยที่ได้ฟังหายคิดถึงบ้านแล้วยังทำให้ชาวต่างชาติที่ได้ฟังเข้าใจวัฒนธรรมไทยได้ลึกซึ่งมากขึ้น บางคนที่ได้ฟังเพลง ‘สยามโซนาต้า’ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอยากมาเยือนเมืองไทย หรือเมื่อได้ยินเพลง ‘หาที่สุดมิได้’ ก็ทำให้หลายคนถึงกับบอกว่าอยากใช้เวลาช่วงสุดท้ายของชีวิตทีเมืองไทย

บทเพลงและการแสดงทั่วโลกกว่า 16 ประเทศ ของ ที่ณัฐ ยนตรรักษ์ จึงทำหน้าที่มากกว่าการเป็นศิลปินระดับชาติ แต่ผลงานของเขายังถูกยกให้เป็นเครื่องมือเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อย่างการประพันธ์เพลงที่ผสานความเป็นไทยผ่านบทเพลงโซนาต้า (บทเพลงใหญ่ในดนตรีคลาสิค) ถึง 3 บทเพลง จนได้ออกอัลบั้มกับแบรนด์ดังระดับโลกอย่าง Marco Polo และได้รับความนิยมอย่างมาก ปัจจุบันนี้กลายเป็นแผ่นเสียงที่นักสะสมทั่วโลกต้องการ

ผลงานสร้างสรรค์กว่าครึ่งศตวรรษทั้งในประเทศและในต่างประเทศเป็นที่ประจักษ์จนได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์จากกระทรวงวัฒนธรรมของรัฐบาลโปแลนด์ในปี 2015 และจากประธานาธิบดีของอิตาลีในปี 2018 รวมถึงเป็นศิลปินไทยคนแรกที่ได้รับรางวัล Steinway Artist รางวัลอันทรงเกียรติสำหรับนักเปียโนทั่วโลก

หลังสำเร็จการศึกษาจากระดับปริญญาโททางด้านการแสดงเปียโนที่ Reading University ณัฐ ยนตรรักษ์ กลับมาก่อตั้ง ณัฐ สตูดิโอ (Nat Studio) โรงเรียนสอนเปียโนให้กับเยาวชนและผู้สนใจ นับเป็นโรงเรียนสอนเปียโนที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ ก่อนจะขยับขยายพื้นที่ สร้างหอแสดงดนตรีหลังใหม่โดยใช้ชื่อว่า ‘ศาลาสุทธสิริโสภา’ ซึ่งเป็นการถวายเกียรติให้พระนามของพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา พระราชนัดดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ผู้ทรงอุปถัมภ์อาจารย์ณัฐในชีวิตทุกด้าน ทั้งการศึกษาด้านดนตรี การแต่งงาน และการก่อสร้างโรงเรียน

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”


 

“เราตั้งใจที่จะสร้างสถานที่แห่งนี้ให้เป็นคอมมูนิตี้ทางดนตรีที่แข็งแกร่ง และเปิดกว้างสำหรับทุกคน รวมทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อความเป็นไทยสู่เวทีระดับโลก ผ่านการนำเสนอศิลปินไทยที่สร้างผลงานที่มีเอกลักษณ์ผ่านเพลงไทยร่วมสมัยในหลากหลายรูปแบบ ศาลาสุทธสิริโสภาเป็นหอแสดงขนาดเล็กที่มีความพร้อมในมาตราฐานทัดเทียมเวทีระดับโลก ด้วยที่มีระบบเสียงธรรมชาติ (acoustics) ที่ดีที่สุด ทำให้นักแสดงสามารถแสดงศักยภาพออกมาได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องพึ่งเครื่องขยายเสียง จุดประสงค์หลักของสถานที่นี้คือการเฟ้นหานักดนตรีไทยที่มีความสามารถและสนับสนุนพวกเขาให้ได้แสดงศักยภาพสูงสุดบนเวทีของเราแล้วผลักดันให้ได้ไปต่อบนเวทีโลกผ่านเครือข่ายของเราที่สั่งสมมาผ่านคุณพ่อ [ณัฐ] ตลอด 50 ปี” ลูกจันทน์ - พิณนรี ยนตรรักษ์ คูเชดโว ลูกสาวของคุณณัฐ ยนตรรักษ์ และผู้อำนวยการ ศาลาสุทธศิริโสภา กล่าว

การแสดงครั้งนี้ จะต่อยอดไปสู่การจัดแสดง ‘2024 celebration of Nat Yontararak’s 50 years of legacy’ เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบผลงานระดับตำนานกว่าครึ่งศตวรรษของนักเปียโนระดับบรมครูของประเทศไทย 'ณัฐ ยนตรรักษ์’ ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี 2567 ตลอดทั้งปี เริ่มเปิดการแสดงแรกในเดือนกุมภาพันธ์ปี 2567 และปิดท้ายซีรีส์ฉลองครบรอบ 50 ปี ในเดือนพฤศจิกายน และมีไฮไลท์สำคัญเป็นการแสดงครบรอบ 50 ปี ในวันที่ 6 ตุลาคม 2567 ที่ศาลาสุทธสิริโสภา โดยศิษย์เก่า หลายรุ่นของ อ.ณัฐ ที่จะมาแสดงเพลงที่ “ครู” เป็นผู้ประพันธ์

 

ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”
 ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”
 ศาลาสุทธสิริโสภา จัดการแสดงรอบพิเศษ “50 Years of Legacy”