เพิ่ม Thepeople
ลงในหน้าจอหลักของคุณ
ติดตั้ง
ปิด
read
social
31 ม.ค. 2562 | 18:04 น.
หวาง ซินหมิง ชายผู้คิดค้น “ประทัด” เพื่อแก้ไขปัญหาฝุ่นควันในจีน
ปัจจุบันสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หลังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ออกมาเตือนภัยเกี่ยวกับ “ผลกระกระทบด้านสุขภาพ” ที่อาจได้รับจากเจ้าฝุ่นพิษเหล่านี้ จนได้มีการสั่งปิดสถานศึกษาเป็นการชั่วคราวแล้ว อีกทั้งประเทศไทยของเรากำลังอยู่ในจุดวิกฤตสุด ๆ หลังค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ของบ้านเราไต่ขึ้นไปอยู่ในอันดับต้น ๆ ของโลกแล้ว
แต่หากเรามองไปยังหัวเมืองใหญ่ของโลกอย่างกรุงนิวเดลีของอินเดีย หรือกรุงปักกิ่งของจีน จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เราเจอในทุกวันนี้ พวกเขารับมือกับมันมาก่อนเราแล้วหลายปี
ใครที่เคยไปเยือนแดนภารตะ คงจะรู้ดีว่าสภาพมลพิษของที่นั่นเลวร้ายกว่าบ้านเรามาก ซึ่งรัฐบาลอินเดียก็พยายามแก้ไขปัญหาโดยการออกมาตรการต่าง ๆ เช่น การขึ้นค่าที่จอดรถหลายเท่าตัว หรือการจำกัดการขับขี่รถยนต์ในแต่ละวัน ซึ่งทั้งหมดก็เพื่อหวังให้คนหันไปใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ส่วนจีนก็ออกมาตรการลดมลพิษจากรถยนต์อย่างเข้มงวด จำกัดการใช้งานรถยนต์เก่า สั่งปรับปรุงโรงงานเก่า เน้นการใช้พลังงานสะอาดแทนพลังงานถ่านหิน
แต่มาตรการหนึ่งที่ทั้งจีนและอินเดียมีเหมือนกันก็คือ ทั้งสองประเทศพยายามจะห้ามเรื่องการจุดพลุไฟและประทัดในงานเทศกาลหรือพิธีทางศาสนาต่าง ๆ เพื่อหวังลดปริมาณมลพิษที่มาจากสารเคมีในประทัดอย่างซัลเฟอร์ไดออกไซด์
สิ่งนี้สร้างความลำบากใจให้กับผู้คนจำนวนมาก เพราะนั่นหมายถึงว่าพวกเขาต้องทำในสิ่งที่ขัดต่อวัฒนธรรมตัวเองที่มีมายาวนานนับพัน ๆ ปี
แต่แล้ววันหนึ่ง
หวาง ซินหมิง
นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนจากมณฑลเหอหนาน ได้ค้นพบทางที่จะช่วยให้ชาวจีนยังสามารถสืบสานวัฒนธรรมของตัวเองต่อไปได้ และในเวลาเดียวกันมันยังเป็นมิตรต่อโลกอีกด้วย ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ
“ประทัดเขียว”
นั่นเอง
“ประทัดเขียว” ของหวางท่ี่ว่านี้ไม่ใช่ประทัดธรรมดาทั่วไป ความพิเศษของมันคือเป็นประทัดที่ไม่ใช้ไฟฟ้า หรือแม้กระทั่งจุดไฟ การเกิดเสียงของมันมีหลักการง่าย ๆ คือการใช้ลมอัดเข้าไปในรูของตัวประทัด และกดปุ่มเพื่อปิดรูเอาไว้ และเพียงแค่เรากดเปิดเจ้ารูเล็ก ๆ รูนี้ ลมที่ถูกอัดอยู่ด้านในจะถูกดันออกมา พร้อมกับสร้างเสียงที่คล้ายเสียงระเบิดของประทัดจริง ๆ
“สิ่งประดิษฐ์ของผมชิ้นนี้ไม่ได้ทำงานโดยใช้ระบบไฟฟ้าหรือการระเบิด”
หวางให้สัมภาษณ์กับสื่อจีน
นอกจากเสียงจะเหมือนกันแล้ว สิ่งประดิษฐ์ของเขาชิ้นนี้ยังสามารถสร้างควันได้เสมือนประทัดจริง ๆ หรือแม้กระทั่งเพิ่มให้มีกลิ่นหอมได้อีกด้วย
“ประทัดของผมทั้งปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”
เขาบอก อย่างไรก็ดี หลายคนอาจมองว่ามันก็ไม่ได้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเสียทีเดียวนัก เ
พราะประทัดเขียวที่หวางประดิษฐ์ขึ้นมีส่วนประกอบสำคัญทำมาจากพลาสติก และมีราคาสูงกว่า 150 หยวน หรือตีเป็นเงินไทยก็เกือบ 700 บาท อีกทั้งยังมีการขึ้นราคาอยู่เรื่อย ๆ ขณะที่ประทัดธรรมดามีราคาเพียง 10 หยวน หรือ 40 กว่าบาทเท่านั้น ทำให้ประทัดเขียวยังไม่เป็นที่นิยมมากนักในตลาด แต่หวางก็เชื่อว่าข้อดีของมันคือสามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่เรื่อย ๆ และเชื่อด้วยว่า
เจ้าสิ่งนี้มีศักยภาพมากพอที่จะประสบความสำเร็จในตลาดของจีนได้สักวันหนึ่ง
การจุดประทัดหรือพลุไฟในเทศกาลตรุษจีนถือเป็นวัฒนธรรมการฉลองปีใหม่ของชาวจีนที่มีมาอย่างยาวนานนับพัน ๆ ปี ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าการจุดประทัดจะเป็นการช่วยขับไล่ภูตผีวิญญาณร้ายไม่ให้มาก่อกวนและนำมาแต่ความโชคดี
เชื่อกันว่าถ้าชาวจีนกว่าพันล้านคนหันมาใช้ประทัดเขียวของหวางมากขึ้น สิ่งนี้จะเป็นการช่วยลดมลพิษให้หลายเมืองของจีนอย่างเห็นผลได้ชัดยิ่งกว่านโยบายห้ามนั่งรถคนเดียวเสียอีก...เอิ่ม
“บางครั้งการเฉลิมฉลองตามเทศกาลต่าง ๆ มักจะสร้างผลกระทบเป็นวงกว้างต่อสภาพแวดล้อม แต่ถ้าสิ่งประดิษฐ์ของหวางสามารถตีตลาดเป็นวงกว้างได้ สิ่งนี้จะกลายเป็นทางให้เราต่อสู้กับฝุ่นควันต่าง ๆ ได้”
เฉิน อิ๋ง นักวิจัยจากสถาบันสังคมและวิทยาศาสตร์ของจีน บอก
ที่มา
http://www.chinadaily.com.cn/china/2015-02/07/content_19519368.htm
https://blogs.wsj.com/chinarealtime/2015/02/18/green-fireworks-can-chinas-smoky-noisy-tradition-get-a-reboot/
http://www.gdkjb.com/News_Detail.aspx?code=0104&id=6050
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Social
The People
จีน
PM2.5
ฝุ่นควัน
หวาง ซินหมิง
related
จากความสนใจตอนเรียน ที่มา InsightERA ที่สร้างการเปลี่ยนแปลงด้าน MarTech
เติมเต็มโอกาส เพื่อทุกการเติบโต ร่วมกัน กับงาน ‘Inclusive Growth Days empowered by OR’
AIS เผยผลประกอบการ Q2 ปี 2565 ทำรายได้รวมอยู่ที่ 45,273 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9%
“พอร์ส Yes Indeed” นำทีม #ศิลปินเด็กหัวการค้า เปิดใจเล่าเรื่องบนเส้นทางแห่งฝัน ของเหล่าซุปตาร์จากเวที UTCC MUSIC FRIEND FEST 2022
พี่น้อง Öste ผู้ปั้น Oatly นมโอ๊ตกระแส ‘ทางเลือก’ ให้มีมูลค่ากว่า 3 แสนล้าน
1
2
3