ผู้ประกอบการติงภาครัฐเตรียมศึกษาการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0%

ผู้ประกอบการติงภาครัฐเตรียมศึกษาการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0%

ผู้ประกอบการติงภาครัฐเตรียมศึกษาการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0% หวั่นสวนทางต่อทางเลือกของคนที่อยากดื่มแบบรับผิดชอบต่อสังคม

จากที่กรมสรรพสามิตเผยว่ากำลังศึกษาการจะขึ้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0% ซึ่งหนึ่งในเครื่องดื่มนี้คงหนีไม่พ้นเครื่องดื่มมอลต์ที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หรือที่รู้จักกันในชื่อที่เรียกว่า เบียร์ 0%
ผู้ประกอบการติงภาครัฐเตรียมศึกษาการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0%

นายปริญ มาลากุล ณ อยุธยา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเอเชีย แปซิฟิค บริวเวอรี่ จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ ตรา ไฮเนเก้น ศูนย์จุดศูนย์ เปิดเผยว่า บริษัทฯ มีความเชื่อมั่นว่าหลังจากที่กรมสรรพสามิตได้ศึกษาและวิเคราะห์อย่างละเอียด สำหรับอัตราภาษี ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0% คงไม่ตัดสินใจขึ้นภาษีของเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นสินค้าทางเลือกที่ช่วยการดื่มอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและตัวเอง ลดผลกระทบต่อสังคม ที่อาจเกิดขึ้น ภายใต้อิทธิพลของแอลกอฮอล์ ดังนั้นจึงควรเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับการสนับสนุนมากกว่า

“ถ้าลองดูปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมทุกวันนี้ ส่วนใหญ่มาจากการบริโภคแอลกอฮอล์ที่เกินพอดี ทำให้คนขาดความยับยั้งชั่งใจอย่างกรณีความรุนแรงในครอบครัว การทะเลาะวิวาท หรือทำให้ครองสติ ไม่อยู่ เช่น กรณีอุบัติเหตุบนท้องถนน หรือเป็นแบบซ้ำซ้อนคือเกิดอุบัติเหตุแล้วยังขาดความยับยั้งชั่งใจ ในการควบคุมสติอารมณ์ แบบที่มักเห็นกันในข่าว” นายปริญยกตัวอย่าง
ผู้ประกอบการติงภาครัฐเตรียมศึกษาการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0%

“แต่เครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกอฮอล์อย่างไฮเนเก้น 0.0 (ศูนย์จุดศูนย์) นับว่าเป็นเครื่องดื่มทางเลือก ที่ทั่วโลกหันมาบริโภคเพื่อทดแทนหรือลดปริมาณการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นการบริโภค อย่างรับผิดชอบ ป้องกันอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะที่อาจเกิดขึ้นจากการดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งยัง ลดปัจจัยเสี่ยงในด้านที่จะส่งผลต่อสุขภาพอีกด้วย”

ไฮเนเก้น 0.0 (ศูนย์จุดศูนย์) เป็นเครื่องดื่มมอลต์ไม่มีแอลกฮอล์ จึงเสียภาษีสรรพสามิต ในหมวดหมู่เดียวกับเครื่องดื่มจำพวกซอฟต์ดริ๊ง คือจะเสียภาษีในอัตราโครงสร้างอยู่ที่ 14% ต่างจากเบียร์ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์อยู่ที่ 5% จะเสียภาษีสรรพสามิตอยู่ที่ระดับ 22% ซึ่งมาตรการทางภาษี เป็นหนึ่งในวิธีที่ภาครัฐใช้ เพื่อลดโอกาสของผู้บริโภคในการที่จะเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างเบียร์ เพราะจะทำให้ราคาสูง เข้าถึงยากขึ้น 

“ทั้งนี้ในต่างประเทศเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ 0% นี้ จะไม่ถูกเก็บภาษีสรรพสามิต หรือ ในบางประเทศก็มีการเก็บภาษีในอัตราเดียวกันกับเครื่องดื่มจำพวกซอฟต์ดริ้งค์” นายปริญกล่าวเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม จากที่มีข่าวว่ากรมสรรพสามิตกำลังศึกษาแนวทางการจัดหมวดหมู่ภาษี สรรพสามิตใหม่ ให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0% สูงกว่าเดิมแต่น้อยกว่าเบียร์นั้น ตนเองไม่เห็นด้วย เนื่องจากการขึ้นภาษีแต่ละครั้ง แม้จำนวนเปอร์เซ็นต์จะฟังดูน้อย แต่เมื่อคำนวนจริงแล้วจะมีผลต่อราคา ขายปลีกปลายทางอย่างมีนัยสำคัญ เป็นการสร้างภาระให้กับผู้บริโภคในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งยัง นับว่าเป็นการตั้งกำแพงให้ผู้ที่ต้องการดื่มอย่างรับผิดชอบต่อสังคม อาจส่งผลให้ผหันไปสู่เครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ที่มีราคาถูกกว่าแทนที่ แม้จะมีปริมาณแอลกอฮอล์สูง อันจะส่งผลต่อสุขภาพตนเอง และส่งผลกระทบต่อสังคมก็ตาม
ผู้ประกอบการติงภาครัฐเตรียมศึกษาการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 0%

“สิ่งที่เราต้องการเห็น คือ อยากให้ประเทศไทยมีการยกระดับมาตรฐานการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต ให้เทียบเท่าประเทศที่เจริญแล้ว เป็นไปตามมาตรฐานสากล ในขณะเดียวกันก็อย่างให้ประชาชนมีแนวทาง มีทางเลือกในการบริโภคอย่างรับผิดชอบ ไม่เป็นภัยทั้งต่อตนเองและสังคม อันจะส่งผลให้การบริโภค แอลกอฮอล์รวมลดลงได้อย่างแท้จริงและยั่งยืน สอดคล้องต่อเป้าหมายของ WHO หรือองค์การอนามัยโลก ด้วยเช่นกัน” นายปริญกล่าวสรุป