ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. หลังยื่นตรวจสอบนายกฯ ‘ไม่สั่ง’ หยุดปฏิบัติหน้าที่

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. หลังยื่นตรวจสอบนายกฯ ‘ไม่สั่ง’ หยุดปฏิบัติหน้าที่

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องตรวจสอบคุณสมบัตินายกฯ เศรษฐา 'ไม่สั่ง' หยุดปฏิบัติหน้าที่ พร้อมทั้งระบุว่าให้แจงแก้ข้อกล่าวหาใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง

วันนี้ 23  พ.ค. 2567 ศาลรัฐธรรมนูญนัดประชุมประจำสัปดาห์ ร่วมกันพิจารณาความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมหรือไม่ กรณีแต่งตั้งพิชิต ชื่นบาน บุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติเป็นนายรัฐมนตรี ขึ้นมารับตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ

หลังจากประธานวุฒิสภาส่งคำร้องต่อประธานวุฒิสภา เมื่อวันที่ 15 พ.ค. 2567 ขอให้วินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน ผู้ถูกร้องที่ 1 และนายพิชิต ชื่นบาน ผู้ถูกร้องที่ 2 สิ้นสุดลงเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) (5) หรือไม่ เพราะในคำร้องของ 40 สว. ระบุว่านายเศรษฐาได้ทำการแต่งตั้งบุคคลที่ถูกกล่าวหาว่าขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. หลังยื่นตรวจสอบนายกฯ ‘ไม่สั่ง’ หยุดปฏิบัติหน้าที่

ผลปรากฏว่ามีมติ 6 ต่อ 3 รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยให้ผู้ถูกร้อง (นายเศรษฐา) ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้อง โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย คือ นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ

ขณะเดียวกัน มติ 5 ต่อ 4 ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้อง (นายเศรษฐา) หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกฯ จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัย โดย 2 วันก่อนถึงคราวต้องนัดประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ นายพิชิตได้ยื่นจดหมายประกาศลาออกจากตำแหน่ง พร้อมทั้งระบุข้อความว่า การกระทำของตนเป็นไปเพื่อให้ประเทศเดินหน้าต่อไปได้

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. หลังยื่นตรวจสอบนายกฯ ‘ไม่สั่ง’ หยุดปฏิบัติหน้าที่

ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง 40 สว. หลังยื่นตรวจสอบนายกฯ ‘ไม่สั่ง’ หยุดปฏิบัติหน้าที่ แม้จะประกาศลาออกอย่างเป็นทางการ แต่นั่นไม่ได้ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญยุติการพิจารณาคดี ซึ่งผลของการตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกฯ ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีนี้ไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีต่อไป เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต) สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (2) เป็นที่เรียบร้อย

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 8 ต่อ 1 เสียง มีคำสั่งไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ 2 (นายพิชิต)ไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อยคือ นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม