‘ไมกี้’ นักประดิษฐ์วัย 13 ปี ผลิต ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ ให้ผู้สูงอายุ ได้รางวัลในงาน Expo ที่จีน

‘ไมกี้’ นักประดิษฐ์วัย 13 ปี ผลิต ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ ให้ผู้สูงอายุ ได้รางวัลในงาน Expo ที่จีน

‘น้องไมกี้ - ด.ช. นิธิยุทธ วงศ์พุทธา’ นักประดิษฐ์วัย 13 ปี ตัวแทนเด็กไทยจากโครงการ Gift To Gifted เจ้าของผลงาน ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ คว้ารางวัลเหรียญทองในงาน The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo จากประเทศจีนมาครอง

  • ‘น้องไมกี้ - ด.ช. นิธิยุทธ วงศ์พุทธา’ นักประดิษฐ์วัย 13 ปี ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนเด็กไทยไปแข่งขันในรายการ The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo ประเทศจีน
  • โดยก่อนหน้านี้ น้องไมกี้ ได้ประดิษฐ์ของเพื่อผู้ด้อยโอกาสมาแล้วหนึ่งชิ้น นั่นคือ หมวกแจ้งเตือนสำหรับคนตาบอด
  • ในการแข่งขันที่ประเทศจีนครั้งนี้ นักประดิษฐ์วัย 13 ปีได้นำผลงาน ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ ไปจัดแสดงในงาน และสามารถคว้าเหรียญทองมาครอง 

การเริ่มต้นเดินทางตามความฝันนั้น ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเริ่มจากก้าวเล็ก ๆ ก่อนเสมอ สำหรับ น้องไมกี้ ด.ช. นิธิยุทธ วงศ์พุทธา เริ่มก้าวแรกในการเป็นสุดยอดนักประดิษฐ์ตั้งแต่เมื่ออายุ 13 ปี จากผลงาน ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ เพื่อผู้สูงอายุ เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คว้ารางวัลเหรียญทองในงาน The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo จากประเทศจีนมาครองได้สำเร็จ

การก้าวเดินของน้องไมกี้ ส่วนหนึ่งคือได้รับเลือกเป็นตัวแทนของเด็กไทยจากโครงการ ‘Gift To Gifted เด็กเก่ง แจ้งเกิด’ ที่จัดตั้งโดย บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC ที่มีเป้าหมายเพื่อเป็นสื่อกลางส่งเสริมความเท่าเทียมทางการศึกษาและผลักดันเยาวชนไทยให้ไปถึงฝัน ตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน

ก่อนหน้าผลงานเก้าอี้ช่วยยืน น้องไมกี้ เคยสร้างสิ่งประดิษฐ์เพื่อผู้ด้อยโอกาสมาแล้วหนึ่งชิ้น นั่นคือ ‘หมวกแจ้งเตือนสำหรับคนตาบอด’ ผลงานชิ้นงานนี้เกิดขึ้นจากไอเดีย ‘Compassion — ความเห็นอกเห็นใจ’ ซึ่งเป็นสิ่งที่น้องไมกี้ ยึดถืออยู่ในใจ ประกอบกับความรู้ความสามารถที่ได้มาจากตอนที่คุณพ่อของน้องชอบชวนน้องไปซื้ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีความรู้ในเรื่องหลักการทำงานของอุปกรณ์หลายอย่าง 

และที่สำคัญคือน้องไมกี้ นำความรู้จากโรงเรียน เช่น การคำนวณค่า load ต่าง ๆ มาใช้ในงานประดิษฐ์ สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้เด็กชายช่างสังเกตริเริ่มสิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรก

ในขั้นตอนการสร้างสิ่งประดิษฐ์นั้น น้องไมกี้ ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับการสังเกต พูดคุยกับผู้ประสบปัญหาเพื่อให้เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ และเพิ่มความใส่ใจในรายละเอียดเข้าไปช่วยแก้ไขปัญหา

‘ไมกี้’ นักประดิษฐ์วัย 13 ปี ผลิต ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ ให้ผู้สูงอายุ ได้รางวัลในงาน Expo ที่จีน เช่นเดียวกับตอนที่น้องประดิษฐ์ ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ ซึ่งเริ่มมาจากความช่างสังเกตของน้อง ทำให้น้องเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวอย่างคุณย่า ที่มักจะมีรอยช้ำตรงต้นแขนเพราะต้องมีคนคอยช่วยพยุงตอนที่คุณย่าลุกขึ้น ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจให้น้องตั้งเป้าว่า จะสร้างชิ้นงานที่สามารถทำให้คุณย่ายืนได้เอง เพื่อใช้เป็นการฝึกยืน และแบ่งเบาภาระผู้ดูแลคุณย่า

ถัดมา น้องจึงเริ่มนำความรู้ความสามารถคิดค้นออกแบบสิ่งประดิษฐ์ขึ้น แม้มีความตั้งใจเต็มเปี่ยม แต่เป็นธรรมดาของการก้าวเดินที่แทบทุกคนมักพบอุปสรรคเสมอ สำหรับน้องไมกี้ ขั้นตอนที่น้องเจออุปสรรคมากที่สุดคือการปรับแต่ง และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ด้วยพลังของความมุ่งมั่น น้องไมกี้ เลือกเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาที่ต้องพบเจอให้ได้

จนในขั้นตอนสุดท้าย คือการนำสิ่งประดิษฐ์มาให้ผู้ประสบปัญหาใช้ และปรับแต่งชิ้นงานไปเรื่อย ๆ จนสามารถใช้งานได้จริง และชิ้นงานดังกล่าวยังได้รับรางวัลเหรียญทองในงาน The 5th China(Shanghai) International Invention & Innovation Expo ที่ประเทศจีน

‘ไมกี้’ นักประดิษฐ์วัย 13 ปี ผลิต ‘เก้าอี้ช่วยยืน’ ให้ผู้สูงอายุ ได้รางวัลในงาน Expo ที่จีน น้องไมกี้ ยังมีฝันและสิ่งประดิษฐ์อีกหลายอย่างที่อยากทำให้เกิดขึ้นจริง ไม่ว่าจะเป็น ชุดแจ้งเตือนการข้ามทางม้าลาย อุปกรณ์ดักจับ CO2 เพื่อลดปัญหาโลกร้อน และดักจับ PM 2.5 เพื่อลดปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก และความฝันที่จะได้ไปศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่เพรียบพร้อมทั้งอุปกรณ์ที่มีศักยภาพ และแหล่งความรู้เพื่อต่อยอดสิ่งประดิษฐ์ของน้องให้ไปได้ไกลระดับโลก

สิ่งนี้ทำให้เห็นว่าเด็กทุกคนล้วนมีความฝันที่ยิ่งใหญ่ การได้รับการสนับสนุนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้ความฝันได้กลายเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างพื้นที่ให้เหล่าเด็ก ๆ ได้แสดงตัวตน เพื่อส่งเสริมความชอบเพื่อให้เกิดการพัฒนาในสิ่งนั้นต่อไป

นั่นจึงทำให้เกิดเป็นโครงการ Gift To Gifted ที่จะช่วยส่งเสริมและผลักดันให้เยาวชนไทยได้ทำตามความฝัน

เป้าหมายของโครงการคือลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ควบคู่ไปกับการสร้างความเท่าเทียมและสนับสนุนความหลากหลายในสังคมตามแนวคิดการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน Green & Sustainable Retail ในด้าน Navigate Society Wellbeing นั่นจึงนำมาสู่การเริ่มกลยุทธ์การตลาดแนวใหม่อย่าง Equality Marketing ขึ้นมาภายใต้คอนเซปต์ของการส่งต่อความสุขอย่างยั่งยืนด้วย ‘การสร้างคน’ นั่นเอง