One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต

One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต
ทั้งหมดคือความลงตัวของเรื่องราวและงานโปรดักชันที่งดงาม สไตล์กำกับของ ‘บาส - นัฐวุฒิ พูนพิริยะ’ ผู้กำกับจากเรื่อง ‘ฉลาดเกมส์โกง’ (2017) ทำให้เนื้อหาของภาพยนตร์ที่ใครต่างก็รอคอยอย่าง ‘One for the Road - วันสุดท้ายก่อนบายเธอ’ ไม่ได้เป็นเพียงหนังเศร้าที่ตัวละครเข้าใกล้ความตายเท่านั้น แต่ยังอบอวลไปด้วยความละมุนของความทรงจำ และรอยยิ้มจาง ๆ ของความรักและความคิดถึง ส่วนอีกคนที่ไม่พูดถึงไม่ได้คือโปรดิวเซอร์ที่ฝังความหว่องไว้ในใจใครหลายคนมาโดยตลอด ซึ่งครั้งนี้ ‘หว่องการ์ไว’ ก็ยังคงไม่ทิ้งลาย ด้วยภาพและสีที่มีกลิ่นอายของเขาผสมอยู่อย่างลงตัว แถมจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้ก็มีเขาเป็นผู้ตั้งคำถามให้บาส - นัฐวุฒิกลับไปครุ่นคิดด้วย One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต คุณเป็นใครและคุณอยากทำอะไรก่อนตาย “Who are you and what do you want to do before you die?” นั่นคือคำถามที่หว่องการ์ไวถามกับบาส - นัฐวุฒิ หลังจากที่พัฒนาบทกันกว่า 9 เดือน แต่สุดท้ายบทนั้นก็ยัง ‘ไม่ใช่’ จึงต้องทิ้งไป ก่อนที่บาสจะกลับมาในวันรุ่งขึ้นพร้อมพล็อตเรื่อง One for the Road ที่มีเรื่องราวของแฟนเก่า การทำงานที่นิวยอร์ก และชีวิตในบาร์เหล้าของเขาผสมรวมไปด้วยทั้งในตัวละคร ‘อู๊ด’ (รับบทโดย ไอซ์ซึ - ณัฐรัตน์ นพรัตยาภรณ์) และ ‘บอส’ (รับบทโดย ต่อ - ธนภพ ลีรัตนขจร) One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road (ในภาพยนตร์ให้ความหมายว่า แก้วสุดท้ายก่อนกลับบ้าน) ว่าด้วยเรื่องราวของเพื่อนสนิทสองคนที่คนหนึ่งป่วยเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย และอีกคนเป็นหนุ่มเพลย์บอยที่ไม่หยุดอยู่กับผู้หญิงคนไหน เพราะเขายังมีใครคนหนึ่งฝังอยู่ในความทรงจำเสมอมา  อู๊ดที่ป่วยเป็นมะเร็งเหมือนพ่อของเขาได้ขอให้บอสกลับจากการทำงานร้านเหล้าที่นิวยอร์ก เพื่อมาเป็นสารถีขับรถคันเก่าตะลอนคืนของและความในใจให้กับแฟนเก่า 3 คน ได้แก่ ‘อลิซ’ (รับบทโดย พลอย หอวัง) ‘หนูนา’ (รับบทโดย ออกแบบ - ชุติมณฑน์ จึงเจริญสุขยิ่ง) และ ‘รุ้ง’ (รับบทโดย นุ่น - ศิรพันธ์ วัฒนจินดา) แต่เรื่องราวระหว่างการเดินทางของทั้งคู่กลับไม่ได้สะท้อนเพียงความหวังและความฝันของคนใกล้ตาย เพราะมันยังขุดคุ้ยความทรงจำของผู้ชมที่มีประสบการณ์ร่วมให้ยิ้มและมีน้ำตาไปพร้อมกัน One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต ตัวหนังดำเนินเรื่องเหมือนจะเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยความหมายที่ชวนผู้ชมคิดตามในหลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่อง ‘ความตาย’ ที่จะคืบคลานเข้ามาหาเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ เป็นดั่งที่หว่องการ์ไวถามกับบาส -นัฐวุฒิ ซึ่งในภาพยนตร์ อู๊ดได้ตัดสินใจเดินทางไปหาแฟนเก่าของเขาเพื่อคืนของ ขอบคุณ และขอโทษเป็นครั้งสุดท้าย และรีแอ็กชันของแฟนเก่าแต่ละคนก็ถือเป็นตัวแทนของคนแต่ละกลุ่มที่จัดการกับอดีตแตกต่างกัน ไม่ผิดที่จะโอบกอดอดีต ไม่ผิดที่จะคิดถึงคนที่เคยทำให้เจ็บปวด ไม่ผิดที่จะร้องไห้ ไม่ผิดที่จะโกรธ ไม่ผิดที่จะเดินหนี และไม่ผิดที่จะไม่อยากเผชิญหน้า เพราะความรู้สึกที่รับรู้และระดับการยอมรับของแต่ละคนไม่เท่ากัน หากได้ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ เชื่อว่าหลายคนคงจะเข้าใจและเปิดใจได้มากขึ้นกับสิ่งที่เคยพบเจอมา หรืออาจถึงขั้นที่คุณเสียน้ำตาให้กับประสบการณ์ร่วมในหนัง แต่อย่างที่บอกว่า One for the Road ไม่ใช่แค่หนังเศร้าของคนใกล้ตาย เพราะมันเต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังและความคะนึงหา พูดอย่างนิทานเด็กคือ ภาพยนตร์เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า หากร่างกายยังมีลมหายใจ จงทำในสิ่งที่อยากทำ และทำมันให้ดีที่สุด (แม้ผลลัพธ์จะไม่ได้ดั่งใจ) เพื่อเวลาที่เหลืออยู่จะเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุด และไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลัง One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต แง่งามของความตายและความใกล้ตาย บางครั้งความตายของใครคนหนึ่งอาจเป็นบทเรียนให้กับใครอีกคน ครั้งนี้ ความตายของพ่ออู๊ด (รับบทโดย ธเนศ วรากุลนุเคราะห์) ได้สอนบทเรียนให้กับลูกชายว่า การได้มีเวลาอยู่กับคนสำคัญก่อนที่จะไม่มีโอกาส คือโอกาสที่ดีที่สุดในชีวิต และความใกล้ตายของอู๊ดก็ส่งเสริมให้เขาออกเดินทางในครั้งนี้ ตลอดโร้ดทริปของทั้งสอง ความรู้สึกดีและความรู้สึกผิดก่อตัวขึ้นในจิตใจของอู๊ด นั่นทำให้เขาอยากใช้ช่วงเวลาสุดท้ายแก้ไขทุกอย่างให้ถูกต้องอีกครั้ง ถึงแม้บางเรื่องจะไม่ได้ดั่งหวัง แต่เขาก็ได้ลงมือทำ และในท้ายที่สุดก็ได้รู้จัก ‘ปล่อยวาง’ ให้ทุกอย่างเป็นไปตามโชคชะตาของมัน แม้ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ จะไม่ได้ปรากฏตัวให้เห็นบ่อยนักในภาพยนตร์เรื่องนี้ แต่การมาด้วยเสียงในรายการวิทยุ และการปรากฏตัวบนรถคันเก่าที่เขาได้โบกมือลา พร้อมเร่งเครื่องนำหน้ารถของอู๊ดและบอสไปก็ถือเป็นซีนที่ทำให้น้ำตาซึมได้ เพราะนอกจากจะสื่อว่าไม่มีใครหนีพ้นความตาย อู๊ดยังได้ทำในสิ่งที่เขาไม่ได้ทำในอดีตเป็นที่เรียบร้อยเพื่อส่งพ่อของตนเอง  รอยยิ้มที่ปรากฏบนใบหน้าคนป่วยทำให้เรารู้ว่า เขาไม่มีห่วงกับพ่อแล้ว และบางทีนี่อาจเป็นการค้นพบว่า พ่อของเขาไม่ได้ตายจากไปไหน หากแต่ยังมีลมหายใจอยู่ในความทรงจำของอู๊ดและแฟนรายการตลอดกาล One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต Father And Son นอกจากฉากที่ประทับใจบนสะพานของพ่อและอู๊ด เพลงประกอบซีนนี้ก็ยังเพราะและมีความหมายน่าสนใจ นั่นก็คือเพลง ‘Father and Son’ ของ ‘Cat Stevens’ ที่ร้องออกมาเป็นบทสนทนาของพ่อลูกที่มีประสบการณ์ชีวิตที่ไม่ตรงกัน ซึ่งสะท้อนว่าแต่ละคนต่างมีเส้นทางของตัวเอง It’s not time to make a change  / ตอนนี้ยังไม่ใช่เวลาจะเปลี่ยนแปลงอะไรหรอกลูก / Just sit down, take it slowly  / ใจเย็น ๆ ไม่ต้องรีบร้อน / You’re still young, that’s your fault  / ลูกยังเด็ก ประสบการณ์ยังน้อย เท่านั้นแหละที่ลูกผิด / There’s so much you have to go through  / ลูกต้องฝ่าฟันอุปสรรคอะไรอีกเยอะ / ฝั่งพ่อพูดกับลูกของเขาด้วยการนำประสบการณ์ชีวิตของตนเองมาเป็นจุดศูนย์กลางให้ลูกทำตามเป็นแบบอย่าง แต่ท้ายที่สุดแล้ว ลูกก็ได้บอกกับพ่อว่า เขามีหนทางในการดำเนินชีวิตของตัวเอง If they were right, I’d agree  / หากว่ามันถูกต้องอย่างที่พ่อบอก ผมคงยอมรับมัน / But it’s them they know not me  / แต่สิ่งเหล่านั้นมันไม่เหมาะกับผม มันไม่ใช่ตัวตนของผม / Now there’s a way and I know that I have to go away  / แต่มันยังมีทางอยู่ และผมรู้ว่าถึงเวลาต้องไป / I know I have to go  / ผมรู้ ผมต้องไปตามทางของผม / เช่นเดียวกับพ่อและอู๊ด ปลายทางของทั้งสองคือสิ่งเดียวกันในสักวัน แต่ระหว่างทางคือตัวเลือกของแต่ละคน โดยในครั้งนี้ พ่อทำได้เพียงโบกมือลาและขอให้ลูกชายโชคดีกับเส้นทางที่เขาเลือก ซึ่งอู๊ดที่แรกเริ่มไม่ได้พึงพอใจกับชีวิตตัวเองมากนักก็ได้รู้แล้วว่า ชีวิตที่ผ่านนั้นมีความงดงามในตัวของมัน และมันได้สอนให้เขาเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ในแบบที่แตกต่างจากบอส เพื่อนที่เขาคิดว่ามีพร้อมทุกอย่าง One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต Nobody Knows but you “ถ้าสมมติเพลงนี้คุณจะมอบให้แฟนเก่า คุณอยากบอกอะไรกับเขา?” บาส - นัฐวุฒิเล่าถึงคำถามที่ ‘แสตมป์ - อภิวัชร์ เอื้อถาวรสุข’ ถามเขาเพื่อทำเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ซึ่งบาสได้กลับไปนอนคิดก่อนจะให้คำตอบว่า “ขอโทษ ขอบคุณ และขอให้คุณโชคดี” นั่นคือสารตั้งต้นของเพลง ‘Nobody Knows’ ที่ขับร้องเวอร์ชันภาษาไทยโดยแสตมป์และวี วิโอเลต ส่วนภาษาอังกฤษขับร้องโดย คริสโตเฟอร์ ชู (Christopher Chu) นักร้องนำวง ‘POP ETC’ วงอินดี้ ร็อก (indie rock) จากเบิร์กลีย์ รัฐแคลิฟอร์เนีย One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต ความหมายก็เป็นดังชื่อเพลงคือ ไม่มีใครรู้ Nobody knows where all the years go  / ไม่มีใครรู้ แต่ละปีที่เคลื่อนผ่านไปจะเป็นเช่นไร / Our stories unfold  / เรื่องราวของเราที่ค่อย ๆ ถูกเปิดเผย / What a time, what a time  / ช่างเป็นช่วงเวลาที่ / What a time to be alive  / ช่างเป็นช่วงเวลาที่น่าใช้ชีวิตเหลือเกิน / และคนที่จะได้ใช้ชีวิตก็คือคนที่มีชีวิต บอสได้เห็นแง่มุมอันงดงามและเปราะบางในตัวของผู้คนที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ซึ่งนั่นทำให้เขาเลือกที่จะเดินออกมาและเดินหน้าต่อไปอย่างอิสระ เพราะเขายังเลือกได้ หนึ่งในบทสรุปของเรื่องคือชีวิตนั้นไม่แน่นอนและละเอียดอ่อน บาส - นัฐวุฒิ จึงทิ้งท้ายด้วยประโยคคำถามไว้ระหว่างการสัมภาษณ์ในงานแถลงข่าวภาพยนตร์ว่า  “หากมีเวลาอยู่และสามารถทำได้ เราอยากใช้เวลาเดินทาง และดื่มเหล้าแก้วสุดท้ายกับใคร” Nobody knows  / ไม่มีใครรู้ / Where we’re heading to  / พวกเรากำลังมุ่งหน้าไปที่ไหน / Nobody knows  / ไม่มีใครรู้ / Who will win or lose / ใครจะชนะหรือพ่ายแพ้ / Nobody knows  / ไม่มีใครรู้ / One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต One for the Road: แง่งามของความตาย กับลมหายใจที่หมายถึงโอกาสในการใช้ชีวิต เรื่อง: วโรดม เตชศรีสุธี ภาพ: One for the Road (2022)