‘จุฑามาศ วิศาลสิงห์’ คนเบื้องหลังท่องเที่ยวไทย ขลุกกับสาย ‘ความยั่งยืน’ มาเกิน 20 ปี

‘จุฑามาศ วิศาลสิงห์’ คนเบื้องหลังท่องเที่ยวไทย ขลุกกับสาย ‘ความยั่งยืน’ มาเกิน 20 ปี

‘ผศ.ดร.แจน - จุฑามาศ วิศาลสิงห์’ จากบริษัท Perfect Link Consulting Group คนที่อยู่เบื้องหลังให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวยั่งยืนในประเทศไทย กับตัวตนเรื่องท่องเที่ยวที่สนใจตั้งแต่ช่วงปริญญาโท

  • การท่องเที่ยวยั่งยืนของนิวซีแลนด์ถูกพูดถึงตั้งแต่เมื่อ 37 ปีก่อน และเป็นประเทศที่ทำเรื่องนี้ได้ดีมาโดยตลอด
  • 'จุฑามาศ วิศาลสิงห์' เริ่มสนใจการท่องเที่ยวที่มีพื้นฐานจากสิ่งแวดล้อม และการกระจายรายได้แก่ชุมชน จึงตัดสินใจเรียนป.เอกเพื่อศึกษาโมเดลนี้

 

“การท่องเที่ยวยั่งยืนคืออะไร…?”

‘ผศ.ดร.แจน - จุฑามาศ วิศาลสิงห์’ จากบริษัท Perfect Link Consulting Group ตั้งคำถาม และแชร์ในมุมของคนที่อยู่ในวงการท่องเที่ยวมาเกือบทั้งชีวิตว่า “การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนไม่ต้องซับซ้อนอะไรกับมันเลย ขอแค่ทุกคนที่ออกเดินทางแล้วรู้ว่าความหมายในการเดินทางครั้งนั้นว่าคืออะไร ตอบตัวเองให้ได้ ไม่ใช่แค่ได้อวดบนรูปสวย ๆ บน Facebook หรือโซเชียลอย่างเดียว”

หากพูดถึงสถานการณ์การท่องเที่ยวทั่วโลกในตอนนี้ที่ยังไม่ถึง 100% ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ จากหลายปัจจัย ขณะเดียวกันผู้คนก็โหยหาการท่องเที่ยวมากขึ้น หลังจากที่โลกพากันชัตดาวน์ที่ผ่านมา

ผศ.ดร.แจน พา The People เปิดโลกอีกมุมหนึ่งของการท่องเที่ยวยั่งยืน และที่มาของแรงบันดาลใจนี้ รวมทั้งไลฟ์สไตล์ส่วนตัวที่ได้แชร์กับเราหลาย ๆ เรื่อง

 

 

แรงบันดาลใจโมเดลการท่องเที่ยวจากนิวซีแลนด์

“แจนเรียนปริญญาเอกด้านการท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2000 นั่นหมายถึง 23 ปีที่แล้ว ตอนนั้นถ้าถามถึงเทรนด์ท่องเที่ยวก็คงไม่ใช่เทรนด์เหมือนปัจจุบันนี้ สมัยนั้นทุกคนมักจะถามว่าทำไมถึงต้องเรียนด้านการท่องเที่ยวถึงระดับปริญญาเอก แต่ด้วยความที่ปริญญาตรีของแจนก็คือ วารสารศาสตร์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วก็ไปเรียนต่อปริญญาโทในด้านคอมเมิร์ซเป็นสายมาร์เก็ตติ้งเต็มตัว”

“แต่ด้วยความที่แจนไปเรียนต่อที่นิวซีแลนด์เพราะตอนนั้นเราเริ่มสนใจด้านการท่องเที่ยวมากขึ้น และที่นี่ทำให้เห็นว่า การท่องเที่ยวมันเกี่ยวข้องกับหลากหลายธุรกิจ และหลายหน่วยงานมาก ซึ่งการท่องเที่ยวที่เราสนใจก็เริ่มได้อิทธิพลมาจากตอนที่เรียนปริญญาโทคือ ท่องเที่ยวมันมีมากกว่าแค่ชวนคนไปเที่ยว มันหลากหลายกว่านั้น เกี่ยวกับกับหลายอย่าง เช่น กฎหมาย, เทคโนโลยี, สิ่งแวดล้อม ฯลฯ"

‘จุฑามาศ วิศาลสิงห์’ คนเบื้องหลังท่องเที่ยวไทย ขลุกกับสาย ‘ความยั่งยืน’ มาเกิน 20 ปี

นอกจากนี้ ผศ.ดร. ยังแชร์กับ The People ว่า “คำว่า ‘Sustainable tourism development’ มีในนิวซีแลนด์ตั้งแต่ปี 1985 ซึ่งเขาคุยกันอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ตอนที่แจนมาเรียนที่นี่คือมันเป็นประเทศที่ถูกต้องแล้ว เพราะว่าไม่ใช่แค่การท่องเที่ยวแต่ทุกเรื่องของเขามันมีพื้นฐานของสิ่งแวดล้อมเป็น land based management ทั้งหมดอยู่แล้ว ถ้าจะเรียกว่าเป็นการอยู่กับธรรมชาติก็ถูก ซึ่งเขาพูดกันมานานมากตั้งแต่ก่อนที่จะมีวิชาท่องเที่ยวด้วยซ้ำไป”

ก่อนหน้านี้ ผศ.ดร.แจน มีประสบการณ์ทำงานในฐานะ ‘ที่ปรึกษา’ ค่อนข้างเยอะ ตั้งแต่ทำงานให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ซึ่งเธอได้ช่วยในเรื่องของการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น รวมทั้งยังเป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับ ททท. นอกจากนี้ ผศ.ดร.แจน ยังเคยเป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ดูแลบัณฑิตวิทยาลัยที่เป็นปริญญาโทกับปริญญาเอกประมาณ 8 ปี

ทั้งนี้ ปัจจุบัน ผศ.ดร.แจน มีบริษัทที่ปรึกษาของตัวเองชื่อว่า ‘Perfect Link Consulting Group’ เป็นที่ปรึกษาการทำโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเธอเรียกตัวเองว่า ‘ช่างเชื่อม’ ซึ่งจะเปรียบเสมือนว่าบริษัทของเธอเป็นคนที่เชื่อมผู้เล่นสำคัญ ๆ ในอุตสาหกรรมนี้ไว้ในที่เดียว

นอกจากนี้ เธอยังทำงานให้กับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหลัก ก็คือการช่วยเหลือในการทำกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศ อย่างในงาน APEC ที่ผ่านมา ทีมของบริษัทก็เป็นคนทำข้อมูลให้กับทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจได้มีข้อตกลงร่วมกันได้สำเร็จในส่วนของการท่องเที่ยว และยังทำงานกับกรอบความร่ยมมือต่าง ๆ เช่น UNWTO, Mekong Tourism ให้กับทั้ง 6 ประเทศแม่โขง PATA รวมทั้งร่วมงานกับองค์กรเอกชนอย่าง KTC และมีส่วนร่วมในการประกวดสุดยอดโรงแรม Boutique Awards ที่จัดขึ้นทุกปีด้วย

 

 

ไลฟ์สไตล์เรื่องท่องเที่ยว

ผศ.ดร.แจน ถือว่าเป็นอีกคนที่ชอบท่องเที่ยวแม้ว่าเธอจะทำงานด้านการท่องเที่ยวอยู่แล้ว แต่เธอเล่าว่า “ด้วยความที่เป็นคนที่ถูกจ้างให้ไปเที่ยวเสมอ เพราะมันคืองานของเรา ซึ่งแจนจะเป็นคนที่ไม่ว่าเราจะทำเรื่องอะไร เราต้องไปถึงที่เหล่านั้นถึงจะรู้เรื่อง ถึงจะเข้าใจ”

“พอถึงเวลาที่จำเป็นต้องเที่ยวเอง เราก็จะเลือกในแบบที่ไม่เหนื่อย ไม่ยุ่งยาก เพราะมันเหมือนเป็นโมเมนต์ที่เราจะได้พักผ่อน คืออาชีพอื่นเขาอาจจะแบบเฮ้ย ฉันรอไปเที่ยว ออกจากออฟฟิศสักทีอะไรอย่างนี้ แต่สำหรับจุฑามาศ พอถึงเวลาคิดว่าต้องเที่ยวเนี่ย แจนก็จะนึกว่าขอสบาย แต่ก็ยังเป็นคนที่ต้องมีจุดยืนถึงความรับผิดชอบนะ เพราะเราทำงานที่ต้อง walk the talk ตลอด”

“คำว่าขอเป็นแบบสบาย ๆ ของแจน ก็คือ ไม่ขอความขลุกขลัก ความไม่แน่ใจ ความไม่แน่นอน แจนไม่ชอบอะไรที่ต้องไปลุ้นข้างหน้า ไม่รู้อะไรเลย ไม่วางแผนอะไรเลย”

ซึ่ง ผศ.ดร.แจน เป็นอีกหนึ่งคนที่ใช้ บริการ KTC World Travel Service มานานตั้งแต่แรก ๆ  โดยเฉพาะบริการบุกกิ้งตั๋วบิน โดยเธอมองว่า ตอนนี้ทุกคนหลังจากที่ต้องเผชิญกับความไม่แน่นอน คือทุกครั้งที่เดินทางจะมีความรู้สึกว่าจะได้ขึ้นเครื่องหรือเปล่า ฯลฯ จนกลายเป็นปลั๊กอินอยู่ในสมองทุกครั้งที่วางแผนการเดินทาง

“แจนเลยคิดว่า ต้องมีผู้ช่วยแล้ว เกิดอะไรขึ้นอย่างน้อยฉันรู้ว่าฉันต้องไปหาใคร คนที่จะคอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง คือบางทีเราจองเองเราก็รู้นะ แต่พอจองเองปุ๊บเราก็จะกังวลว่า ถ้ามันเกิดอะไรขึ้นจะถามใครดี เกิดไฟลท์ยกเลิก  เราต้องทำยังไง มันจะมีแบบประมวลผลเยอะมาก”

อย่างที่ ผศ.ดร.แจน พูดกับเราว่า จริงอยู่ว่าตอนนี้หลายคนบุกกิ้งออนไลน์เป็นอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้มีเป็น One personal service และผู้ที่ให้บริการที่เป็นคนจริงๆ ไม่ใช่หุ่นยนต์ ไม่ใช่เราคุยกับมนุษย์ต่างดาวตลอดเวลาทางออนไลน์

“เวลาที่เราจะจองเอง คือต้องทำการบ้านเอง แต่บริการนี้เหมือนมีคนทำงานให้ เหมือนเป็นเลขาให้เรา”

นอกจากนี้ เธอยังยกตัวอย่างข้อดีหลายๆ ด้านของบริการ KTC World Travel Service ว่าไม่ใช่แค่มนุษย์ที่เป็นคนให้บริการเรา แต่ยังช่วยเราอีกหลายเรื่อง เช่น เปรียบเทียบราคาตั๋วบินที่ถูกที่สุด, เสนอแผนการท่องเที่ยวให้เรา (โดยเราให้โจทย์กับเจ้าหน้าที่ให้บริการ, จัดการเรื่องขั้นตอนการจ่าย เป็นต้น

อย่างการเสนอแผนทริปเที่ยว ผศ.ดร.แจน ได้พูดว่า “เวลาที่โทรไปปรึกษาเขา แค่บอกว่าเรามีเวลาเพียง 3 วันแต่อยากจะไปเชียงราย เขาก็ส่งกำหนดการเดินทาง (itinerary) มาให้เลยว่าเราอยากไปแนวนี้ ๆ หรือแนวไหน ถึงแม้เราจะไม่ซื้อของเขาแต่เราก็ลอกได้ ลอก itinerary ค่ะ”

เชื่อว่าก็ยังมีอีกหลายคนที่ยังไม่อยากเปิดใจใช้ หรือไม่สนใจ แต่นี่คือสิ่งที่ ผศ.ดร.แจน พูดกับเราว่า “ต้องลองใช้ดูก่อน แจนว่าสุดท้ายถ้าไม่ลองก็จะไม่รู้ คือลองเนี่ยมันไม่มีอะไรเสียหายเลย ถ้าลองใช้ถึงจะรู้เพราะบางทีสุดท้ายเราอาจจะลองสักครั้งหนึ่ง ถ้าไม่ชอบ แจนก็คิดว่ามันก็ไม่มีเสียหายอะไร เราก็ไม่ได้ซื้อของแพงกว่า แถมบริการหลังการขายที่ได้มาแล้วยังใช้ได้ไปอีกมากมาย”

‘จุฑามาศ วิศาลสิงห์’ คนเบื้องหลังท่องเที่ยวไทย ขลุกกับสาย ‘ความยั่งยืน’ มาเกิน 20 ปี

“สถานการณ์การท่องเที่ยวในตอนนี้ยังไม่ถึง 100% ด้วยซ้ำ ยังไม่รู้ว่าใครจะปิดบ้าน(ประเทศ) ใครจะยังไงเมื่อไหร่ คือมันไม่มีความแน่นอนเลย ซึ่งเราไม่ได้พูดถึงแต่เฉพาะโควิด-19 อย่างเดียวนะ แต่เดี๋ยวนี้มันมีสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป คราวที่แล้วจำได้ว่าคนติดที่อุบลฯ กลับมาไม่ได้กันหมดเลย เพราะว่าฝนตกหนักมาก เครื่องบินจากนี่ไปไม่ได้ กลับมาก็ไม่มีคนขึ้นไปรับอย่างนี้ คือมันเกิดขึ้นได้หมดเลย”

นอกจากนี้ยังพูดด้วยว่า “สิ่งที่จะบอกคือว่า ไม่มีความแน่นอนในการเดินทาง แล้วปัจจุบันการเดินทางก็แพงขึ้นแน่ ๆ เพราะฉะนั้น แพงแล้วถ้าเราได้เซอร์วิสที่ช่วยเราในเรื่องของการดีลกับความไม่แน่นอนทั้งหลาย แล้วมันเป็นความสบายใจขึ้นอีกระดับหนึ่งก็ใช้เถอะ”

ทั้งนี้ สิ่งที่ได้รับจากการท่องเที่ยวสำหรับ ผศ.ดร.แจน เธอได้มากกว่าประสบการณ์แต่เป็นการเปิดโลกใบหนึ่งให้กว้างขึ้นด้วย อย่างที่แชร์กับเรา เช่น ในระหว่างทางที่ท่องเที่ยวเธอได้เห็นร้านกาแฟเก๋ ๆ ที่คอยสังเกตวิธีการทำงาน ก็คือ เขาทำงานเพียงไม่กี่คนในร้าน ซึ่งหากเป็นประเทศไทยก็น่าจะอยู่หลังเคาน์เตอร์ประมาณ 8 คนได้ (พูดติดตลก)

ซึ่งเธอบอกว่า ในทุก ๆ ครั้งที่ได้ท่องเที่ยวเธอได้เห็นอะไรมากมาย ได้รับแรงบันดาลใจ เช่น ระบบการจัดการในต่างประเทศ หรืออย่าง Digital art exhibition ที่ฮ่องกง ที่ทำให้เธอเห็นว่าของธรรมดา ๆ ก็สามารถเปลี่ยนมาเป็นสิ่งที่ว๊าวได้ เพียงแต่เราต้องช่วยกันครีเอท ให้มันสร้างสรรค์

ความน่าสนใจจากที่ได้พูดคุยกับ ผศ.ดร.แจน อีกอย่างก็คือ ตอนนี้ทุกคนก็มีเรื่องของการท่องเที่ยวที่ลงไปทำในชุมชนกันเยอะมาก แต่จริง ๆ แล้วทุกชุมชนไม่จำเป็นต้องทำท่องเที่ยวก็ได้ แต่สามารถทำร่วมกันได้เพื่อเกิดการกระจายรายได้อย่างแท้จริง