ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

รวมสุดยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกกว่า 80 ราย สร้าง CLAY WORKS STREET ART ถนนสายประติมากรรม ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร สนามจันทร์ จ.นครปฐม ให้ผู้สนใจได้ชมทุกขั้นตอน

บรรยากาศงานเปิดตัวงานวันแรกเป็นไปอย่างอบอุ่นและเต็มไปด้วยรอยยิ้ม เมื่อศิลปินเซรามิกแถวหน้าจากทั่วทุกมุมโลกพร้อมใจรวมตัวจัด Exhibition แสดงผลงานชิ้นพิเศษ พบปะสังสรรค์ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ และเตรียมสร้าง Clay Works ตามเทคนิคสร้างสรรค์เฉพาะของตนเองขนาดสูงถึง 1-1.5 เมตร กว่าทั้งสิ้น 80 ชิ้น เพื่อติดตั้งอย่างถาวรในงาน “Silpakorn Clay Works Sanam Chandra 2022” ซึ่งถือเป็นถนนประติมากรรมเซรามิกเต็มรูปแบบ Landmark แห่งล่าสุดของศิลปากรที่จะเกิดขึ้นภายในสิ้นเดือนนี้ โดยศิลปินนานาชาติ ศิลปินแห่งชาติ ศิลปินไทย และเหล่านักศึกษาจาก 5 สถาบัน อันได้แก่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยราชมงคลอีสาน ร่วมสร้างงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 วัน ตั้งแต่วันที่ 19 - 30 กันยายน 2565 ณ  มหาวิทยาลัยศิลปากร  วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาชมได้อย่างใกล้ชิด

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

รองศาสตรจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ รองอธิการบดีฝ่ายศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ก่อตั้งกิจกรรมในครั้งนี้ ได้กล่าวถึงงานว่า “กิจกรรมครั้งนี้จะเกิดขึ้นเพียง 12 วันซึ่งสั้นมาก แต่เราได้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาร่วมมือกันจากทั่วโลก อีกทั้งยังมีศิลปินแห่งชาติของไทยเข้าร่วมด้วยอีก 7 ท่าน ซึ่งนับเป็นโอกาสอันดีสำหรับบุคลทั่วไปและผู้ที่สนใจจะได้เรียนรู้การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมระดับนานาชาติอย่างใกล้ชิดตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พร้อมร่วมงานเปิดถนนสายประติมากรรม แสดงผลงาน Clay Works ที่เสร็จสมบูรณ์ทั้ง 80 ชิ้นได้ ในวันที่ 30 กันยายน 2565 ซึ่งศิลปินทั้งหมดจะมอบผลงานที่สร้างขึ้นให้แก่มหาวิทยาลัยศิลปากรอย่างถาวร” สำหรับผลงานของ รองศาสตรจารย์สยุมพร กาษรสุวรรณ ในฐานะศิลปินที่ผู้ร่วม ได้เปิดเผยว่า “เป็นแรงบันดาลใจจากรูปทรง ความงามของผู้หญิงเป็นหลัก ความนุ่มนวล อ่อนช้อย การเคลื่อนไหวที่มีชีวิตชีวา”

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

สำหรับการจัดงาน Silpakorn Clay Works 2022 ในปีนี้ มีศิลปินเข้าร่วมแสดงผลงานกว่า 70 คนทั้งไทยและต่างประเทศ ทั้งอาจารย์ นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ในประเทศไทย ศิลปินจากต่างประเทศ อาทิ เกาหลีใต้ ตุรเคีย จอร์เจีย ตูนิเซีย ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น ลัตเวีย มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินเดีย คณาจารย์จากภาควิชาเครื่องเคลือบดินเผา มหาวิทยาลัยศิลปากร นักศึกษาจากสถาบันอื่นทั่วประเทศ พร้อมทั้งศิลปินแห่งชาติให้เกียรติร่วมสร้างสรรค์ในงานนี้ด้วย

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

ภายในงานแบ่งเป็น 3 โซนด้วยกัน คือ
ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART
โซน A

โซนออกแบบสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผาโดยศิลปินระดับโลกจากนานาประเทศ ที่ครั้งนี้จะเป็นการสร้างชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นคือมีความสูงระดับ 1.5 – 2 เมตร โดยโซนนี้เปิดให้เข้าร่วมชมงานสาธิตและเรียนรู้เทคนิคจากเหล่าศิลปินกันแบบใกล้ชิด

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART โซน B

ห้องเวิร์คชอปการเรียนรู้การปั้นจากแท่นหมุน โดยเปิดให้ผู้ที่สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมล่วงหน้า

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

โซน C

ส่วนการจัดแสดงและจําหน่ายผลิตภัณฑ์ Craft & Ceramic กว่า 15 สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ และศิลปินผู้เข้าร่วมโครงการ นอกจากนี้ ยังมีการจัดแสดงผลงานนิทรรศการ จัดทำสูจิบัตรผลงานที่ศิลปินนำมาร่วมแสดง จัดพื้นที่สำหรับศึกษาดูงานเครื่องเคลือบดินเผา และงานศิลปวัฒนธรรมไทยแขนงอื่นๆ ภายในบริเวณงาน

และที่เป็นไฮไลต์ของงานคือ ช่วงเวลาการเผางานโดยใช้ เทคนิคการเผาแบบรากุ (Raku Firing) ซึ่งเป็นเทคนิคการเผาเครื่องปั้นดินเผาแบบหนึ่งของญี่ปุ่น ที่มีประวัติยาวนานกว่า 400 ปี จุดเด่นของเทคนิคการเผาแบบรากุคือ มีความสนุกสนาน เป็นการทำงานที่ฉับไว สามารถเห็นผลงานได้ทันทีหลังเผา

RAKU เป็นที่รู้จักกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากเครื่องปั้นดินเผาแบบญี่ปุ่นซึ่งใช้กันทั่วไปในพิธีชงชาญี่ปุ่น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นถ้วยชาแบบดั้งเดิม ปั้นด้วยมือ รูปมือ มากกว่าจะปั้นด้วยแป้นหมุน คุณลักษณะของเนื้อดินจะต้องมีความพรุนตัวสูงเพื่อการทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบรวดเร็วในช่วงเวลาที่นำผลงานออกจากเตา ในช่วงเวลาที่งานยังร้อนซึ่งเป็นกระบวนการแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น หลังจากที่นำผลงานออกมาจากเตาเผาแล้วจะถูกปล่อยให้เย็น บางครั้งจะทำให้เย็นลงทันทีโดยนำถ้วยชาไปจุ่มน้ำแล้วนำไปใช้งานทันทีในพิธีชงชา

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART ส่วนวิธีการที่นำผลงานออกมาจากเตาแล้วนำไปคลุกกับอินทรียสาร เช่น ขี้เลื่อย หญ้าแห้ง ๆ นั้น ไม่ใช่วิธีการดั้งเดิมของช่างปั้นญี่ปุ่น แต่เป็นวิธีการที่ถูกประยุกต์ขึ้นโดยช่างปั้นร่วมสมัยที่นำเทคนิครากุไปทดลองทำ ทำให้เป็นที่สนใจและแพร่หลายไปทั่วโลก

ความรู้สึกจากตัวแทนศิลปินบางส่วนที่มีต่องานในครั้งนี้   

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

Nato Eristavi

ศิลปินจากประเทศจอร์เจีย “รู้สึกภาคภูมิใจและเป็นเกียรติที่ได้มาร่วมงาน Silpakorn Clay Works ในครั้งนี้ นับเป็นประสบการณ์ที่ดี ประเทศไทยได้จัดงานที่ยอดเยี่ยมนี้ขึ้น เสมือนเป็นการรวบรวมวัฒนธรรมที่หลากหลายทั่วโลก ศิลปินจากทั่วโลกมารวมกันอยู่ที่นี่ สำหรับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานของฉันมักเป็นแรงบันดาลใจจากแต่ละกาลเวลาและสถานที่ เป็นการเกิดขึ้นในชั่วเวลาขณะนั้นๆ”

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

ยัง ซู คิม

ศิลปินชาวเกาหลี “ถึงจะมาประเทศไทยเป็นครั้งที่สามแล้ว แต่ทุกครั้งที่มาก็ได้รับความสุขและพลังใหม่ๆ เสมอ ส่วนแรงบันดาลใจครั้งนี้จะเป็นการสร้างผลงานในเทคนิคของตนเอง คือแนว Smoke Painting Raku”

 

Kenichi Harayama

ศิลปินญี่ปุ่นซึ่งได้มาเป็นครั้งที่สองแล้วกล่าวว่า “มีความสุขมากที่ได้เจอศิลปินต่างๆ มารวมตัวกัน เป็นช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่จะได้สร้างผลงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น”

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

Elina Titante

ศิลปินจากสาธารณรัฐลัตเวียได้กล่าวว่า “นี่เป็นการมาร่วมงานกับมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นครั้งที่สองแล้ว รู้สึกยินดีมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของงาน Silpakorn Clay Works ในครั้งนี้ นับเป็นประสบการณ์ที่มีค่าอย่างยิ่ง โดยปกติแล้วเทคนิคงานที่ใช้สร้างสรรค์งานประติมากรรมของฉันมักเป็นผลงานที่เกี่ยวโยงกับธรรมชาติเพราะส่วนตัวชอบที่จะค้นหาแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่และเวลานั้นๆ”

 

Burcu Karabey

จากประเทศตุรเคีย ศิลปินผู้ที่มาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก กล่าวถึงการมาร่วมงานในครั้งนี้ว่า “รู้สึกขอบคุณและเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับเชิญในฐานะศิลปินให้มาสร้างสรรค์ผลงานในงาน Silpakorn Clay Works 2022 นับว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีที่จะได้เห็นการสร้างสรรค์จากศิลปินทั้งไทยและศิลปินต่างชาติ ซึ่งสร้างแรงบันดาลใจได้อย่างดีเยี่ยม สำหรับเอกลักษณ์ของผลงานต่างๆ ที่ผ่านมา จะเป็นการใช้เทคนิคที่หลากหลาย เป็นไปตามช่วงเวลา เหมือนกับการบันทึกไดอารี่ส่วนตัว”

ศิลปากรจัดงานใหญ่รวมยอดศิลปินปั้นเซรามิกทั่วโลกสร้าง CLAY WORKS STREET ART

เดช นานกลาง

ศิลปินแห่งดินแดนอีสาน ที่ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินมรดกอีสาน (ประติมากรรม) เปรียบงาน Clay Works เสมือนดิน “ดินที่สามารถนำพาเรื่องราวต่างๆ ของมนุษย์มารวมตัวกัน และพาศิลปินมาเชื่อมต่อกันได้ เพื่อให้เกิดบริบทใหม่ๆ และเปิดโอกาสให้คนทำงานศิลปะได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ส่วนงานที่เตรียมจัดแสดงในครั้งนี้ ยังคงได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติ นั่นก็คือผีเสื้อ โดยเน้นความงามในธรรมชาติ เช่นการขยับปีกและการโบยบิน เป็นอีกเทคนิคที่น่าสนใจ

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเข้าร่วมชมงาน งาน Silpakorn Clay Works 2022 โดยเหล่าศิลปินชั้นนำระดับโลกอย่างใกล้ชิดทุกขั้นตอน พร้อมทดลองปั้นเซรามิกด้วยตัวเองได้ตั้งแต่วันนี้– 30 กันยายน 2565 ณ มหาวิทยาลัยศิลปากร สนามจันทร์ จ.นครปฐม

รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://web.facebook.com/Silpakornclayworks