นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม

นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม
“ถ้าลูกแม่ไม่ได้เข้าไปในนี้ คงจะกลับตัวไม่ได้หรอก ไม่คิดว่าเขาจะเอาไปบำบัด ไม่รู้จักหรอก แต่พอลูกมาเล่าให้ฟัง ก็ดีนะแม่ มีแต่คนดี ๆ มีแต่คนรัก เหมือนพี่ เหมือนน้อง เอาใจใส่ ใส่ใจเรา” เสียงของคุณแม่ ผู้มีลูกสาวผ่านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดที่ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ค่ายเพชรโยธิน ได้กล่าวว่าเธอเกือบเสียลูกไปเพราะยาบ้า ก่อนจะได้ลูกสาวคนเดิมกลับคืนมาหลังผ่านการบำบัดรักษา นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม ด้วยการดำเนินงานของกองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน กระทรวงมหาดไทย ในภารกิจด้านยาเสพติด ที่ดำเนินงาน 3 ขั้น ตั้งแต่ต้นน้ำ คือ การจับกุม กลางน้ำ คือ การปราบปราม และปลายน้ำ คือการบำบัดฟื้นฟู ที่ทำงานร่วมกับฝ่ายปกครอง ตำรวจ และ ทหาร ร่วมกันตัดวงจรอุบาทว์ปัญหายาเสพติด ทำให้หลายครอบครัวได้คนที่รักกลับคืนสู่อ้อมอก นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม การทำงานเพื่อสังคมเช่นนี้ เป็นแรงขับให้ นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น มีแรงผลักดันเข้ามาเป็นครูพี่เลี้ยง ประจำศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด สังกัดกองร้อยปฏิบัติการฝึกที่ 2 กองบัญชาการกองอาสารักษาดินแดน (ค่ายเพชรโยธิน) จ.เพชรบุรี แล้วกว่า 9 ปี กับภารกิจส่งคนดีคืนสู่สังคม “ยาเสพติดที่เราพบเห็นบ่อย ก็จะเป็นพวกยาบ้าค่ะ ส่วนใหญ่ผู้เข้ารับการบำบัดก็จะเป็นคนในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ปัญหายาเสพติดค่อนข้างระบาดรวดเร็วและรุนแรง” นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม จากแรงบันดาลที่เห็นผลการทำงานของสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ที่ได้เห็นสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน ทำงานกับฝ่ายปกครอง ฝ่ายตำรวจ ฝ่ายทหาร ในการช่วยเหลือประชาชน ทำให้เธออยากเข้ามาทำงานตรงนี้ ภาพที่หลายคนจินตนาการงานของเธอในฐานะ ครูพี่เลี้ยงศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด คือบรรยากาศเหมือนในคุก แต่ในความเป็นจริงแล้ว นฤมลมองว่าที่นี่เหมือน ‘บ้าน’ และผู้เข้ารับการบำบัดเหมือน ‘สมาชิกในครอบครัว’ ที่ต้องดูแลทุกด้าน ทั้งสุขภาพกาย-สุขภาพใจ นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม “งานของเรา ต้องใช้ความเข้าใจสูงเลยค่ะ เพราะว่าผู้บำบัดที่เข้ามาในนี้ จะมีปัญหามากมาย ซ้ำซ้อนกันเข้ามา เราก็คลุกคลีกันเหมือนครอบครัวหนึ่งเลยค่ะ ให้เขาเป็นครอบครัวของเรา ดูแลตลอดเวลาเลยค่ะ นายหมู่ตรี ณัฐรมน กล่าวถึงมุมมองที่มีต่อสถานที่และผู้คนที่ศูนย์ฟื้นฟูฯ กิจกรรมประจำวันตลอด 120 วัน ของผู้รับการบำบัดในศูนย์ฟื้นฟูฯ เธอมีส่วนร่วมตั้งแต่จัดประชุมเช้า พูดคุยสื่อสารถึงข่าวสารให้สมาชิกในบ้านรับทราบ จัดกิจกรรมสันทนาการให้สมาชิกกล้าแสดงออก รวมถึงจัดคณะรับผิดชอบงานด้านต่าง ๆ อาทิ ทีมบ้าน ทีมโยธา ทีมภูมิทัศน์ ทีมเกษตร และอื่น ๆ ทำให้สมาชิกได้เรียนรู้ทักษะการทำงาน ฝึกฝนวินัย และความรับผิดชอบ นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม นอกจากการดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้รับการบำบัดแล้ว งานสำคัญคือ การให้คำแนะนำ จัดหาวิทยากรหน่วยงานภายนอกเข้ามาสอนทักษะอาชีพ เช่น การทำขนม การตัดเย็บเสื้อผ้า และอื่น ๆ กับจุดมุ่งหมายปลายทางคือ เพื่อให้ผู้เข้ารับการบำบัด กลับไปมีอาชีพ สร้างรายได้ ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข แต่หน้าที่การเป็นครูพี่เลี้ยงไม่ได้จบเพียงเท่านั้น หลายครั้งอดีตผู้เข้ารับการบำบัดยังแวะเวียนมาขอคำปรึกษา หน้าที่ครูพี่เลี้ยงอย่างพวกเธอจึงไม่ได้จำกัดเพียงแค่ในเวลางาน “มีเคสผู้บำบัดที่เคยเสพยาเสพติดเข้ามารับการบำบัดที่เรา แล้วเขาก็สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ เขาก็ติดต่อมาหาเรา สอบถามว่า ครูคะ หนูอยากจะขายของ หนูอยากจะทำธุรกิจ ครูว่าหนูจะทำตรงนี้ดีไหมคะ เราก็ให้คำปรึกษา แนะนำกับเขาค่ะ และ ณ ตอนนี้ เขาก็สร้างและสามารถขยายธุรกิจขายของได้สำเร็จค่ะ” นายหมู่ตรี ณัฐมน กล่าวด้วยความภูมิใจ นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม ภาพของ นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น จึงเป็นภาพผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ทำงานด้วยความคล่องแคล่ว แข็งขัน แต่เต็มไปด้วยความเข้าใจต่อผู้เข้ารับการบำบัดและเพื่อนสมาชิก อส. ทำให้งานนี้หล่อเลี้ยงทั้งชีวิตและจิตวิญญาณคือการได้ช่วยเหลือ บำบัดทุกข์ บำรุงสุขแก่ผู้อื่น “ความท้าทายคือ เราต้องเรียนรู้ความรู้สึกของผู้เข้ารับการบำบัด เมื่อเข้ามาอยู่ในรั้วสี่เหลี่ยมของเราค่ะ อย่างหนึ่งเลยคือ เขาคิดถึงบ้าน อยากกลับบ้าน เราจะให้การเรียนรู้ พูดคุยให้เขารู้สึกสบายใจ ให้เขาหยุดการใช้ยาเสพติด เพื่อให้กลับไปใช้ชีวิตประจำวันข้างนอกได้ หน้าที่ของเราที่สำคัญที่สุดคือ ให้ผู้ที่หลงผิดได้มีโอกาสกลับตัวอีกครั้งค่ะ นายหมู่ตรี ณัฐรมน กล่าวทิ้งท้าย นายหมู่ตรี ณัฐรมน ช่วยชูกลิ่น : ครูพี่เลี้ยงผู้บําบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด อส. ผู้มอบชีวิตใหม่ คืนคนดีให้สังคม