read
social
28 ต.ค. 2564 | 15:37 น.
ทีม KEETA จากประเทศไทยผ่านรอบแรกของโครงการผลิตอาหารอวกาศของ NASA
Play
Loading...
ทีม KEETA จากประเทศไทยผ่านรอบแรกของโครงการ ‘Deep Space Food Challenge’ ของ NASA ในการส่งภูมิปัญญาอาหารไทยอย่าง ‘การกินแมลง’ ไป ‘นอกโลก’
ทีม KEETA จากประเทศไทย เป็น 1 ใน 10 ทีมนานาชาติที่ผ่านรอบแรกของการแข่งขันโครงการ ‘Deep Space Food Challenge’ จัดโดย องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (National Aeronautics and Space Administration - NASA) และองค์การอวกาศแคนาดา (Canadian Space Agency - CSA)
โครงการ Deep Space Food Challenge เป็นโครงการที่มีเป้าหมายสำคัญในการเฟ้นหาทีมผู้สร้างเทคโนโลยีและระบบผลิตอาหารที่เต็มไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการสำหรับนักบินอวกาศและผู้คนบนโลก โดยการผลิตดังกล่าวจะต้องตอบโจทย์ 5 สิ่งดังต่อไปนี้
(1) ความต้องการอาหารในระยะยาว 3 ปี โดยไม่มีการส่งเสบียงเสริมจากโลก
(2) เพียงพอต่อนักบินอวกาศ 4 คน
(3) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงอาหารบนโลก โดยเฉพาะการผลิตอาหารในพื้นที่ใจกลางเมืองและพื้นที่ห่างไกล
(4) ผลิตอาหารได้ในปริมาณมากที่สุด โดยใช้ปัจจัยการผลิตน้อยที่สุด และผลิตของเสียน้อยที่สุด
(5) สร้างสรรค์อาหารที่อร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการ ปลอดภัย และมีกระบวนการเตรียมอาหารที่ใช้เวลาน้อยที่สุดสำหรับนักบินอวกาศ
ทีมวิศวกรรมอวกาศ KEETA จากประเทศไทยผ่านการแข่งขันรอบที่ 1 ด้วยไอเดีย ‘Bio Culture Foods’ ซึ่งเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่อยู่ภายใต้การพัฒนาของบริษัท ‘SPACE ZAB Company’ เข้ากับภูมิปัญญาของคนไทยในการกินสิ่งมีชีวิตจากระบบนิเวศขนาดเล็กอย่าง ‘แมลง’ ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนชั้นเลิศและมีรสชาติหลากหลาย
โดยหลังจากนี้ KEETA จะได้เข้าร่วมการแข่งขันรอบที่ 2 ไปพร้อมทีมจากโคลอมเบีย เยอรมนี ออสเตรเลีย อิตาลี บราซิล ฟินแลนด์ อินเดีย และซาอุดีอาระเบีย ในประเภททีมนานาชาติ ส่วนอีก 2 ประเภทได้แก่ทีมในพื้นที่สหรัฐอเมริกา และทีมในพื้นที่แคนาดา
สุดท้าย ความสำเร็จจากโครงการ Deep Space Food Challenge ไม่ได้เปิดทางให้แก่นักบินอวกาศในการเข้าถึงอาหารที่ปรุงง่าย รสชาติดี และหลากหลายระหว่างปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ที่มีระยะเวลายาวนานขึ้นเท่านั้น แต่ยังเปิดทางให้กับการแก้ไขปัญหาขาดแคลนอาหารและทรัพยากรในภูมิภาคห่างไกลบนโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ที่ถูกภัยพิบัติทำลายโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้มนุษย์ทุกคนทั้งบนโลกและนอกโลกเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการสูงที่สุด
เรื่อง: วโรดม เตชศรีสุธี
ภาพ:
https://www.deepspacefoodchallenge.org/events
https://www.youtube.com/watch?v=es4CpOY3Xuk
https://www.nasa.gov/feature/space-station-20th-food-on-iss
อ้างอิง:
https://www.nasa.gov/press-release/nasa-announces-winners-of-deep-space-food-challenge
https://thespoon.tech/fruit-cells-space-bread-and-cultured-meat-cartridges-deep-space-food-challenge-announces-phase-1-winners/
https://6park.news/northcarolina/nasa-announces-kemel-deltech-usa-of-cape-canaveral-among-deep-space-food-challenge-winners.html
https://www.space.com/nasa-deep-space-food-challenge-winners
https://www.facebook.com/1755459301428436/posts/2659554944352196/?_rdc=2&_rdr
https://www.facebook.com/worldspaceweekthailand/photos/a.2638821499743963/2721258924833553?_rdc=1&_rdr
https://www.deepspacefoodchallenge.org/winners?fbclid=IwAR3Lktoc-5UQ_PRk2Eca6_UXk1oNCNBy2JXBdGelnii0YBdrvFlVnARC7N4#intlwinners
https://www.nasa.gov/press-release/nasa-announces-winners-of-deep-space-food-challenge
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
‘บิ๊กโจ๊ก’ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล ตำแหน่งใหญ่ขณะอายุน้อย บารมีมาก เส้นทางสีกากีติดไฮสปีด
15 ก.ย. 2566
3462
ถอดรหัส ‘Naatu Naatu’ เพลงประกอบหนังอินเดียฉากร้อง-เต้นใน RRR ได้ออสการ์-Golden Globes
13 มี.ค. 2566
6931
‘เอมิลิโอ เฟอร์นันเดส’ ชายผู้เป็นต้นแบบของตุ๊กตารางวัล ‘ออสการ์’
12 มี.ค. 2566
805
แท็กที่เกี่ยวข้อง
Social
The People
NASA
KEETA
Deep Space Food Challenge