Less is more ความน้อยนิดมหาศาล กับการเหลือไว้เท่าที่จำเป็น ทำไมยังนิยมจนถึงวันนี้

Less is more ความน้อยนิดมหาศาล กับการเหลือไว้เท่าที่จำเป็น ทำไมยังนิยมจนถึงวันนี้
Less is more เป็นคำพูดของสถาปนิกระดับตำนาน ลุดวิก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ (Ludwig Mies van der Rohe) หัวหอกของสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ เจ้าของผลงานขึ้นหิ้งมากมาย ตั้งแต่เฟอร์สุดคลาสสิคอย่างเก้าอี้ Barcelona Chair, อาคาร Crown Hall ในชิคาโก ไปจนถึงอาคาร Seagram Building หนึ่งในตึกระฟ้าแลนด์มาร์คของมหานครนิวยอร์ก ทำไมทุกวันนี้แนวคิด less is more ของสถาปนิกจากยุคโมเดิร์นจากครึ่งศตวรรษที่แล้ว ยังคงถูกใช้กันอย่าง แพร่หลาย ตั้งแต่ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต รูปแบบอาคารบ้านเรือน การออกแบบร้านกาแฟคลีน ๆ แฟชันเสื้อผ้าแสนเรียบง่าย อุปกรณ์ของใช้ ไปจนถึงอาหารการกิน และเครื่องดื่มมากมาย Less is more ความน้อยนิดมหาศาล กับการเหลือไว้เท่าที่จำเป็น ทำไมยังนิยมจนถึงวันนี้ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จัก มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ผู้ซึ่งทำให้ประโยคนี้เป็นที่จดจำกันสักนิด เขาเป็นสถาปนิกชาวเยอรมัน ที่เกิดเมื่อ 27 มีนาคม ค.ศ.1886 แม้เขาจะไม่ได้ร่ำเรียนด้านสถาปัตยกรรมมาโดยตรง แต่ด้วยประสบการณ์การทำงานที่ใกล้ชิดกับพ่อที่เป็นช่างแกะสลักหิน และได้เริ่มงานเป็นช่างเขียนแบบตั้งแต่อายุยังน้อย ทำให้เขามีทักษะที่จำเป็นต่องานด้านการออกแบบ เขาได้สร้างสรรค์ผลงานมาสเตอร์พีชคือ Barcelona Pavilion ในงาน Barcelona International Exhibition ที่จัดขึ้นเมื่อ ค.ศ.1929 รวมไปถึงผลงานมากมายที่ช่วยยกระดับให้เขาได้ขึ้นเป็นผู้อำนวยการของเบาเฮาส์ (Bauhaus) โรงเรียนศิลปะในสาธารณรัฐไวมาร์ที่โด่งดังที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ในช่วงปี ค.ศ.1930 หลายคนอาจคิดไปว่าความน้อยนิดมหาศาลที่บิดาแห่ง less is more กล่าวถึงคือ การทำน้อย ๆ ไม่ต้องลงรายละเอียดให้เยอะแยะ แต่เดี๋ยวก่อนความน้อยแต่มากจริงแล้วมาควบคู่กับปรัชญา God is in the details นั่นหมายถึงเจ้าจงหมกมุ่นกับรายละเอียดแม้เพียงเล็กน้อยซะ แนวคิดการออกแบบของ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ ยังได้สะท้อนปรัชญาที่เน้นประโยชน์ใช้สอยมาก่อนรูปแบบ หรือ (​​Form follows function) อันเป็นแก่นคิดหลักของสถาปัตยกรรมในยุคโมเดิร์นอีกด้วย ถ้าจะกล่าวอีกนัยว่าความน้อยแต่มาก นอกจากเลือกส่วนประกอบให้เหลือเพียงความเรียบง่ายที่สุดแล้ว ยังต้องตัดทอนลายละเอียดที่ไม่จำเป็นออกให้มากที่สุดไปพร้อมกัน เพื่อสร้างสรรค์งานที่เชื่อมโยงกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน หลายครั้งที่ มีส ฟาน เดอร์ โรห์ เรียกผลงานของเขาเองว่ารูปแบบสถาปัตยกรรม ผิวหนังและกระดูก (Skin and Bones) ที่มีคงไว้เพียงแก่นของงาน บางคนเลยเรียกการออกแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นในเรื่องความโปร่งและความเรียบง่ายของเขาว่าเป็นความงามในแบบมินิมอล นอกจากสถาปัตยกรรมกรรมแล้วความมินิมอลยังส่งผลต่อวิถีการดำเนินชีวิตไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมของผู้คน โดยเฉพาะผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ หรือ Metropolitan ที่หันมาใช้ชีวิตที่เรียบง่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ ลดทอนความซับซ้อนของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่รบกวนจิตใจ เลือกซื้อของใช้คุณภาพที่คุ้มค่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดลำดับความสำคัญและสิ่งที่จำเป็นกับตัวเอง เริ่มหันมาให้ความหมายกับการใช้ชีวิตที่มีความสุข และมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ซึ่งพวกเขาค้นพบว่าเป็นสิ่งที่ยิ่งน้อยลง กลับยิ่งได้มากขึ้น ที่เป็นหัวใจของแนวคิดนี้ แม้แนวคิดมินิมอลนี้จะเป็นที่นิยมมาแล้วหลายทศวรรษ แต่เหตุผลที่พวกเรายังมูฟออนจากความมินิมอลกันไม่ได้สักที ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะความวุ่นวายแห่งยุคสมัยที่ผู้คนและสังคมยุ่งเหยิงมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งจากเทคโนโลยีสุดล้ำที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ความเชื่อทางสังคมสมัยใหม่ ความเชื่อทางสังคมสมัยใหม่ การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปจากความไม่แน่นอนจากวิกฤตโรคระบาด ที่ทำให้หลายคนหันหลังให้ความเร่งรีบวุ่นวายมาพักกายใจกับความนิ่งสงบเรียบง่ายในแบบมินิมอล Less is more ความน้อยนิดมหาศาล กับการเหลือไว้เท่าที่จำเป็น ทำไมยังนิยมจนถึงวันนี้ ร้านกาแฟคลีน ๆ คุมโทนสีไม่ฉูดฉาดที่จัดวางอย่างเป็นระเบียบอบอวลไปด้วยกลิ่นความเป็นมินิมอล เสื้อผ้าเรียบง่าย ๆ ใส่สบายตามสไตล์ญี่ปุ่น เฟอร์นิเจอร์อเนกประสงค์เน้นการใช้งาน อุปกรณ์เครื่องใช้น้อยชิ้นแต่ใส่ใจรายละเอียดแบบสแกนดิเนเวียน เป็นหนึ่งของความน้อยที่เราพบเห็นได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ไปจนถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของใครหลายคน ที่เริ่มลงรายละเอียดกับความน้อยแต่มากเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรักษาสุขภาพ การเลือกกินที่ไม่ต้องเยอะ แต่เน้นที่อร่อยมีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างวากิว A5 ชิ้นเล็ก ๆ ที่แอบแฝงปรัชญาความมินิมอล ไม่ว่าจะเป็นการหันหลังให้กับเลี้ยงวัวแบบอุตสาหกรรมที่เน้นปริมาณ กลับมาใส่ใจกับกระบวนการเลี้ยงวัวเชิงคุณภาพ คัดสรรอาหารที่ดีที่สุดให้กับวัว จนได้เนื้อลายหินอ่อนที่มีไขมันแทรกอยู่ทั่วชิ้นเนื้อจนแทบละลายในปาก โอมากาเสะที่เชฟจัดให้ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของความมินิมอล ที่แสดงถึงความน้อยแต่มาก เพราะอย่างที่รู้กันว่าซูชิเป็นอาหารที่ดูเหมือนจะทำง่าย แค่นำปลาดิบมาโปะลงบนข้าวปั้นเท่านั้นเอง แต่ความเป็นจริงแล้วกว่าจะเป็นซูชิที่ดูเรียบง่ายชิ้นหนึ่ง ผู้ปั้นต้องผ่านการฝึกฝนประสบการณ์ต่าง ๆ มามากมาย ทั้งการแล่ปลา การหุงข้าวให้ได้เม็ดที่พอเหมาะ ไปถึงการประกอบร่างชิ้นปลาเข้ากับข้าวปั้นให้กลายเป็นหนึ่งเดียวกัน Less is more ความน้อยนิดมหาศาล กับการเหลือไว้เท่าที่จำเป็น ทำไมยังนิยมจนถึงวันนี้ หรือเครื่องดื่มอย่าง เย็นเย็น มินิมอล น้ำสมุนไพรจับเลี้ยงสูตรใหม่ น้ำตาลน้อยแค่ 2 % รสชาติมินิมอล ที่นำแนวคิดมินิมอลมาเป็นโจทย์ตั้งต้น ทั้งการตัดน้ำตาลส่วนเกินออกไป เหลือแค่ 2 % ให้แคลอรีที่น้อยนิด แต่ยังคงความอร่อยเพื่อสุขภาพ แล้วไปเพิ่มนวัตกรรมการผสมรสชาติจากสมุนไพรฤทธิ์เย็น ให้ได้ความหวานธรรมชาติไลท์ ๆ ที่ได้จากน้ำรากบัว และน้ำมะพร้าว ได้ทั้งความอร่อยได้ทั้งประโยชน์ ช่วยดับเผ็ดดับร้อนได้ แบบหวานน้อย อร่อยมาก Less is more ความน้อยนิดมหาศาล กับการเหลือไว้เท่าที่จำเป็น ทำไมยังนิยมจนถึงวันนี้ อีกทั้งการออกแบบดีไซน์ของ เย็นเย็น มินิมอล ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์คนเมือง ด้วยการยึดหลัก mininal แบบให้เอาปากกามาวงได้เลยว่าไม่มินิมอลตรงไหน ซึ่งแม้สีสันโทนฟ้าขาวจะไม่ฉูดฉาดบาดตา แต่ก็ทำให้น่าหยิบไปถ่ายรูป หรือถือติดมือเข้าไปเดินสวย ๆ ในอาร์ตแกลอรีได้อย่างไม่บ้ง เย็นเย็น มินิมอล เป็นอีกตัวอย่างของการคลี่คลายของความ minimal ให้ถ่ายทอดออกมาเป็นเครื่องดื่มที่ หวานน้อย อร่อยมาก ได้อย่างลงตัว ให้สามารถสัมผัสประสบการณ์ของความน้อยแต่มากได้ด้วยตัวเอง ซึ่งถ้าใครได้ลองแล้วจะไม่แปลกแล้วว่าทำไมแนวคิด less is more ความน้อยนิดที่แฝงความเรียบง่ายนี้ ถึงยังคงได้รับความนิยมมาจนถึงวันนี้ เพราะสิ่งที่ได้จากการเหลือไว้เท่าที่จำเป็นคือ สิ่งที่กลับมาอย่างมากมายมหาศาล   ที่มา: https://web.archive.org/web/20010810221712/http://www.designboom.com/portrait/mies/bg.html https://vimeo.com/139258382 https://en.wikipedia.org/wiki/Ludwig_Mies_van_der_Rohe https://en.wikipedia.org/wiki/Form_follows_function https://en.wikipedia.org/wiki/Modern_architecture https://en.wikipedia.org/wiki/Minimalism