Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์

Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์
/ ***ภาพประกอบบางภาพเกี่ยวข้องกับความสูญเสียและบาดแผลพุพอง / เมื่อคนจากรัฐไร้ความรับผิดชอบ ปล่อยปละละเลยให้เตาปฏิกรณ์ที่ยังสร้างไม่สมบูรณ์ถูกเปิดใช้งาน เมื่อคนจากรัฐกระหายตำแหน่งจนทดสอบความปลอดภัยในยามวิกาล โดยไม่มีผู้เชี่ยวชาญครบทีมอยู่ด้วย เมื่อคนจากรัฐโกหกประชาชนว่าไม่มีอะไรร้ายแรงในเหตุการณ์ ‘โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล’ ระเบิด ส่งผลให้การอพยพหนีกัมมันตรังสีล่าช้าไป 3 วัน แต่ 3 วันนั้นคือนรกบนดินของ ‘ประชาชนผู้ไม่รู้อะไรเลย’ ที่ต้องหายใจอยู่ท่ามกลางรังสีอันเข้มข้นและรุนแรงมากกว่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมาและนางาซากิ นำมาซึ่งการปนเปื้อนทั่วบริเวณ ‘เมืองปริปยัต’ ที่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศยูเครน และกระจายไปตามลมสู่ประเทศในทวีปยุโรป นอกจาก ผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตจากการสูดดม หรือสัมผัสกัมมันตรังสีอันเข้มข้นจนผิวหนังพุพอง ไขกระดูกตาย ระบบภูมิคุ้มกันล่ม และอวัยวะเริ่มเน่าเปื่อย พวกเขาที่ยังไม่ตายทันทีต้องเผชิญหน้ากับโรคมะเร็ง โลหิตจาง กระดูกฝ่อ และอีกสารพัดโรคแฝงที่ตามมา แต่สิ่งที่เลวร้ายที่สุดคือ ผลลัพธ์จาก ‘คำลวง’ ของรัฐที่ไม่ยอมเสียหน้าต่อประชาคมโลก เพราะมันทำให้กัมมันตรังสีรั่วไหลราวกับสัตว์ประหลาดที่ถูกปล่อยจากขุมนรก และผลลัพธ์ของการปนเปื้อนนั้นสามารถอยู่ต่อไปได้อีกหลายร้อยปี ส่งผลไปถึงลูกหลานทั้งที่เกิดและยังไม่เกิดในตอนนั้น เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนจะมีความผิดปกติทางร่างกายและจิตใจ ทั้งหมดคือสิ่งที่เด็กต้องแบกรับอย่างไม่อาจเลี่ยง หลังเตาปฏิกรณ์ที่ 4 ของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด เด็กที่อยู่บริเวณชายแดนยูเครน-เบลารุสได้รับผลกระทบโดยตรง และทั่วโลกก็รับรู้เรื่องนี้ รวมไปถึงชาวบ้านครูก (Crook) ในเทศบาลเมืองเดอรัม (Durham) สหราชอาณาจักรที่อยู่ห่างจากเบลารุสไป 2,000 กิโลเมตร แต่ระยะทางไม่ใช่อุปสรรคในการส่งน้ำใจไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อน เพราะพวกเขาตัดสินใจตั้งร้านค้าการกุศลขึ้น เพื่อระดมเงินช่วยเด็กที่ได้รับผลกระทบ ทั้งยังจัดโครงการพาเด็กจากเบลารุสมาพักที่อังกฤษเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันจากการสูดอากาศที่ไม่มีรังสีปนเปื้อน แต่ก่อนที่ร้านการกุศล ‘Crook store The Chernobyl Children's Project (UK)’ จะเปิดให้บริการในปี 1987 เราลองมาทบทวนความผิดพลาดของสหภาพโซเวียต และความน่ากลัวของกัมมันตรังสีผ่านมินิซีรีส์อันโด่งดังจาก HBO ‘Chernobyl’ (2019) กันก่อน Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ ย้อนรอย Chernobyl miniseries ภัยพิบัติเมื่อรัฐโกหก วันที่ 26 เมษายน 1986 เมืองปริปยัต สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน คือวันที่เตาปฏิกรณ์ที่ 4 ระเบิดขึ้นภายหลังการทดสอบความปลอดภัยที่ ‘ไม่ได้มาตรฐาน’ ตามคำสั่งของ ‘อนาโตลี ดีอัตลอฟ’ รองหัวหน้าวิศวกรประจำโรงไฟฟ้าที่หวังแค่จะทำงานให้เสร็จโดยไม่คำนึงถึง ‘ความปลอดภัยส่วนรวม’ แต่ความผิดพลาดของสหภาพโซเวียตไม่ได้เกิดจากเจ้าหน้าที่เพียงคนเดียว เพราะพวกเขาทุกคนที่รู้เห็นร่วมกันโกหกชาวโลก ด้วยความที่ขณะนั้นโซเวียตกำลังแข่งความยิ่งใหญ่กับสหรัฐอเมริกาในหลายด้านจึงต้องปิดบังความล้มเหลว และความน่าอับอายของตนเองไว้ สาเหตุหลายประการรวมกันทำให้ภัยพิบัติครั้งใหญ่เกิดขึ้นทั้งที่หลีกเลี่ยงได้ เตาปฏิกรณ์เริ่มใช้งานตั้งแต่ 20 ธันวาคม 1983 โดยมีผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าอย่าง ‘วิกตอร์ บรูคานอฟ’ เซ็นผ่านเอกสารเพื่อยืนยันว่าเตาปฏิกรณ์สร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว ส่งผลให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งสามคนคือ บรูคานอฟ ดีอัตลอฟ และ ‘นิโกไล ฟอมิน’ ได้รับการอวยยศและรับเครื่องอิสริยาภรณ์กันถ้วนหน้า ทั้งที่จริง ๆ แล้วเตาปฏิกรณ์ดังกล่าวยังสร้างไม่เสร็จ และเอกสารทั้งหมดเป็นเพียงเรื่องโกหก หากจะเปลี่ยนคำโกหกให้กลายเป็นความจริง ทั้งสามคนจะต้องเซ็นใบยืนยัน โดยทำการทดสอบระบบความปลอดภัยทั้งหมดให้เรียบร้อย พวกเขาต้องลดพลังงานของเตาปฏิกรณ์ลงให้ต่ำกว่ามาตรฐานเพื่อทดสอบในกรณีไฟดับ ซึ่งก่อนหน้านี้มีการทดสอบไปแล้ว 3 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ พอถึงครั้งที่ 4 จึงจบลงที่โศกนาฏกรรมระดับโลก Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ สาเหตุที่สองของการระเบิดนอกเหนือจากเตาปฏิกรณ์ยังสร้างไม่เรียบร้อย คือเจ้าหน้าที่โรงจ่ายไฟฟ้าที่เมืองเคียฟติดต่อมาว่า ‘ผู้ที่อยู่เบื้องบนขึ้นไปอีก’ ไม่ยอมให้ลดปริมาณกระแสไฟฟ้าจนกว่าจะถึงเวลาเที่ยงคืน เนื่องจากวันนั้นเป็นช่วงสิ้นเดือน และโรงงานต้องการไฟฟ้าในการทำงาน เหตุผลที่เห็นแก่ตัวนี้ทำให้การทดสอบล่าช้าไป 10 ชั่วโมง จนถึงช่วงกลางคืนที่ไม่เหลือผู้เชี่ยวชาญทำงานอยู่แล้ว แถมคู่มือปฏิบัติที่ส่งต่อให้กับคนที่ ‘ไม่เคยมีประสบการณ์’ ปิดเตาปฏิกรณ์มาก่อนก็ถูกขีดฆ่าไปหลายขั้นตอน นอกจากผลลัพธ์ตามหลักวิทยาศาสตร์ ทั้งปฏิกิริยาเคมี การระเบิด การใช้วัสดุอย่างตะกั่วดำที่ ‘ราคาถูก’ แต่ไม่ ‘ถูกต้อง’ หรือการหลงเหลือของสารพิษซีนอนที่เข้มข้นเกินไป อีกสิ่งที่ซีรีส์เรื่องนี้พยายามจะสื่อให้เห็นคือ ‘ความผิดพลาดที่เกิดจากคน’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘คนที่มีอำนาจ’ แต่ใช้อำนาจอย่างไร้ความรับผิดชอบ “ถ้าผมบอกว่ามันปลอดภัย ก็คือมันปลอดภัย” ดีอัตลอฟพูดแบบนั้นกับวิศวกรคนอื่นที่พยายามหยุดการทดสอบระบบ เพราะเห็นแล้วว่ามันอันตราย แต่แล้วก็เกิดขึ้นจนได้ ความผิดพลาดจากความหยิ่งผยอง และไร้ความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ทำให้มีคนเสียชีวิตทันทีอย่างน้อย 31 คน แถมดีอัตลอฟยังโกหกในการประชุมว่า มีสารเคมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้นที่รั่วออกมา ผลที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือการที่ตัวเองของเรื่องอย่าง ‘วาเลรี เลกาซอฟ’ ผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันพลังงานนิวเคลียร์คูร์ชาคอฟ ต้องเดินทางไปโกหกชาวโลกในที่ประชุมประเทศเวียนนาว่า มันเป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ผิดพลาดเท่านั้น ทั้งที่จริงแล้วแม้กระทั่งตัวระบบในโรงงานเองก็ยังไม่สมบูรณ์ แถมโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบเดียวกันอีก 16 แห่งทั่วโซเวียตก็ยังไม่ถูกแก้ไขให้ปลอดภัยขึ้น Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ “ขึ้นให้การก่อน พอเสร็จเรื่องแล้วเราจะมีวายร้ายของเราเอง เราจะมีผู้กล้าของเราเอง และเราจะมีความจริงในแบบของเรา” เจ้าหน้าที่ระดับสูงของโซเวียตพูดกับเลกาซอฟก่อนการไต่สวนเรื่องเชอร์โนบิลจะเริ่มขึ้น เพราะอย่างไรก็ตามโซเวียตจะเสียหน้าไม่ได้เด็ดขาด “ภาครัฐจะไม่ซ่อมเตาปฏิกรณ์ เพราะการยอมรับปัญหา เท่ากับการยอมรับว่าตัวเองโกหก” ‘อูลาน่า คอมยุค’ นักฟิสิกส์นิวเคลียร์หญิงบอกกับเลกาซอฟจนในที่สุดเขาก็รวบรวมความกล้าที่จะท้าทายอำนาจรัฐเป็นครั้งแรก “ทุกคำโกหกคือหนี้ที่ติดค้างความจริง” และเลกาซอฟไม่อยากติดหนี้นั้นอีกแล้ว Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ คำให้การของเลกาซอฟนำมาสู่การซ่อมเตาปฏิกรณ์ แต่จบลงที่เขาถูกโซเวียตยึดผลงาน และบังคับให้ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวจนเขาฆ่าตัวตายในอีก 2 ปีต่อมา ส่วนคอมยุคถือเป็นตัวละครสมมติที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นตัวแทนของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานร่วมกับเลกาซอฟ ซึ่งพวกเขาคือผู้รับใช้ ‘ความจริง’ ในเหตุการณ์นั้น แต่หลายคนกลับถูกสหภาพโซเวียตคุมขังและประจาน แม้การซ่อมเตาปฏิกรณ์จะป้องกันการระเบิดได้ แต่ผลลัพธ์เพียงครั้งเดียวของภัยพิบัติเชอร์โนบิลกลับส่งผลยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ ราคาของคำลวง ผลพวงถึงลูกหลาน หากไม่มีประชาชนกว่า 600,000 ชีวิต ช่วยกันเก็บกวาดหลังคาที่ระเบิดออกมา ทางรัฐบาลก็ไม่สามารถสร้างที่กำบังคลุมเพื่อระงับการกระจายของรังสีได้ แถมเศษซากที่ระเบิดออกมายังปล่อยกัมมันรังสีมากถึง 12,000 เรินต์เกน ซึ่งเกือบจะเป็น 2 เท่าของระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมา แต่ 4 เดือนหลังการระเบิด การอพยพยังคงดำเนินต่อไป ผู้คนสูดดมสารพิษอยู่เรื่อย ๆ “มีการเตือนแล้วจากเหตุระเบิดเมื่อ 10 ปีก่อน แต่พวกเขายอมให้มีข้อกังขาในความยิ่งใหญ่ของอุตสาหกรรมนิวเคลียร์โซเวียตไม่ได้” เลกาซอฟอธิบายว่า การระเบิดของท่อเชื้อเพลิงเตาปฏิกรณ์ที่แคว้นเลนินกราดถูกเคจีบี (คณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ) เก็บไว้เป็นความลับ เหล่าวิศวกรที่ทำงานอยู่จึงไม่รู้ข้อมูลเหล่านี้เลย หลังจากนั้น ต้นไม้ที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีถูกจัดการนำไปฝังลงดิน สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงถูกยิงตาย แต่รังสีเหล่านั้นก็ยังถูกพัดไปกว่า 14 ประเทศในยุโรป สิ่งมีชีวิตทุกอย่างได้รับผลกระทบ และจะเป็นเช่นนั้นไปอีก 100 - 50,000 ปี Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ รังสีที่รั่วไหลจากภัยพิบัติเชอร์โนบิลทำให้อัตราการเป็นมะเร็งของชาวยูเครนและเบลารุสสูงขึ้น และสูงขึ้นมากที่สุดในหมู่เด็ก แม้จะไม่มีใครสามารถบอกจำนวนที่แน่นอนได้ว่า เชอร์โนบิลพรากชีวิตคนไปมากเท่าไร แต่มีการประเมินไว้ตั้งแต่ 4,000 - 93,000 คน ขณะที่สหภาพโซเวียตบันทึกไว้อย่างเป็นทางการเพียง 31 คนในปี 1987 ในซีรีส์ Chernobyl คอมยุคเล่าว่า ภรรยาของนักดับเพลิงที่เสียชีวิตจากกัมมันตรังสีรั่วไหลต้องสูญเสียลูกไปหลังจากเด็กเกิดได้เพียง 4 ชั่วโมง นั่นก็เพราะเด็กดูดซับรังสีแทนผู้เป็นแม่ “เรากำลังอยู่ในประเทศที่เด็ก ๆ ต้องมาตาย เพื่อช่วยชีวิตพ่อแม่ของพวกเขา” สิ่งที่คอมยุคกล่าวยังไม่ร้ายแรงเท่าลูกหลานที่เกิดหลังเหตุระเบิดหลายปี แต่ยังคงต้องสูดดมอากาศที่ปนเปื้อนจนสภาพร่างกายของพวกเขาไม่ปกติ ทั้งยังเสียชีวิตจากโรคมะเร็งตั้งแต่เด็ก ซึ่งแพทย์ชาวเบลารุสได้บอกว่า การออกมาสูดอากาศบริสุทธิ์เพียง 1 เดือนก็สามารถช่วยพัฒนาภูมิคุ้มกันได้แล้ว นั่นจึงเป็นเหตุให้ชาวเมืองครูกแห่งเกาะอังกฤษเปิดร้านการกุศลเพื่อระดมทุนช่วยเหลือ และพาเด็ก ๆ จากเบลารุสมาฟื้นฟูระบบทางเดินหายใจกัน ร้านการกุศลเพื่อเด็กที่ได้รับผลกระทบ ร้าน ‘Crook’ เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 1987 โดยภายหลังซีรีส์ Chernobyl ออกฉาย ผู้คนก็เริ่มตื่นตะลึงกับความจริง และหันมาสนใจภัยพิบัติในครั้งนั้นมากขึ้น “พวกเขาไม่อยากจะเชื่อว่าอะไรเกิดขึ้นในวันนั้น และมันยังส่งผลถึงทุกวันนี้ หลายคนมาที่ร้านของเรา เพราะพวกเขาอยากจะช่วย” ผู้จัดการร้าน ‘เจอรัลด์ เฮิร์สท์’ (Gerald Hirst) เล่าว่า ร้านการกุศลแห่งนี้มีเป้าหมายเพื่อระดมทุนสนับสนุนด้านการแพทย์แก่ผู้เดือดร้อนจากเหตุการณ์เชอร์โนบิล ก่อนที่ภายหลังจะกลายเป็นหนึ่งในเจ้าภาพของเกาะอังกฤษในการต้อนรับเด็ก ๆ ผู้ประสบภัยจากเบลารุส Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ ต่อมาในปี 1995 ร้าน Crook ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ The Chernobyl Children's Project (UK) ขององค์กรการกุศลที่เกี่ยวกับเชอร์โนบิล ก่อตั้งโดย ‘ลินดา วอร์คเกอร์’ (Linda Walker) ซึ่งเธอได้พาเด็กชาวเบลารุสกว่า 3,000 คนมายังเกาะอังกฤษเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อพักผ่อน “พื้นที่ที่เด็กเหล่านี้จากมามีกัมมันตรังสีปนเปื้อนเป็นเวลานาน มันซึมลงในดินและอาหาร ทำให้ภูมิคุ้มกันของเด็ก ๆ บกพร่อง ซึ่งแพทย์ในเบลารุสบอกว่า แค่พวกเขาได้อากาศบริสุทธิ์ และอาหารที่สะอาดเพียง 1 เดือน ระบบภูมิคุ้มกันของพวกเขาก็จะดีขึ้น เพราะสารเคมีซีเซียม-137 ลดลง” ลินดา วอร์คเกอร์ เล่าต่อว่า เธอเคยพาเด็กและวัยรุ่นที่ป่วยเป็นมะเร็งมาพักผ่อน เพื่อเสริมความแข็งแรงทางด้านจิตใจของพวกเขา ซึ่งเด็กเหล่านั้นรู้สึกดีมากที่รู้ว่าประเทศอื่น ๆ ใส่ใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขา แต่ลินดาก็บอกอีกว่า สารพิษที่ตกค้างจะไม่หายไปไหนอีกหลายร้อยปี เด็กที่ไม่รู้อะไรเลยเหล่านี้ต้องรับปัญหาต่อไป รวมถึงลูกหลานของพวกเขาด้วย Crook shop: จากความผิดพลาดของรัฐในเหตุการณ์ภัยพิบัติ ‘เชอร์โนบิล’ สู่ร้านการกุศลที่ประชาชนเปิดกันเอง เพื่อช่วยเด็กที่ต้องรับเคราะห์ ในระยะเวลา 10 ปีก่อนเกิดเหตุการณ์เชอร์โนบิล มีเด็กเพียง 7 คนเท่านั้นที่ถูกบันทึกว่าเป็นโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเบลารุส แต่ในช่วง 4 ปีที่เกิดเหตุระเบิด สถิติกลับพุ่งขึ้นถึง 30 เท่า องค์การอนามัยโลก ‘WHO’ คาดว่า มีเด็กประมาณ 50,000 คนที่มีอายุไม่เกิน 4 ขวบ ติดเชื้อหรือเป็นโรคบางอย่างจากเหตุระเบิด ทั้งโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว เนื้องอก เบาหวาน และความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งแน่นอนว่าเด็กเหล่านี้จะไม่หายจากมะเร็ง เพราะภูมิคุ้มกันของพวกเขาอ่อนแอมาก นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไม อากาศบริสุทธิ์เพียง 4 สัปดาห์จึงต่อลมหายใจของเด็ก ๆ ได้ถึง 2 ปี “Crook เป็นร้านเดียวที่องค์กรการกุศลมี และดูแลโดยจิตอาสาทั้งหมด มันน่าทึ่งมากที่ร้านเล็ก ๆ แห่งนี้สร้างแรงกระเพื่อมได้อย่างมหาศาล เราต้องขอบคุณผู้บริจาค ผู้ซื้อ และจิตอาสาทุกคน” ‘แคทเทอรีน แม็คเซลโฮล์ม’ (Catherine McElholm) เหรัญญิกของโครงการกล่าว นอกจากนี้ ทางร้าน Crook ยังให้เด็กที่มาเยี่ยมเกาะอังกฤษสามารถเข้ามาเลือกของเล่นและเสื้อผ้าภายในร้านกลับบ้านไปได้ ถึงแม้ในปัจจุบัน จำนวนเด็กที่มาเยือนจะน้อยลงตามจำนวนโฮสต์ที่สามารถรับดูแล แต่ร้าน Crook และผู้มีจิตเมตตาทุกคนก็ยังคงระดุมทุนช่วยเหลือต่อไป เพราะนั่นคือสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่เพื่อนมนุษย์สามารถทำให้กันได้ แม้ว่าสาเหตุที่แท้จริงจะไม่ได้เกิดจากประชาชนอย่างพวกเขา แต่เกิดจากความผิดพลาดของรัฐก็ตาม เรื่อง วโรดม เตชศรีสุธี ภาพ https://www.imdb.com/title/tt7366338/  https://www.bbc.com/news/uk-england-48542553  https://www.chernobyl-children.org.uk/charity-shop  https://www.youtube.com/watch?v=s9APLXM9Ei8 อ้างอิง Chernobyl (2019), HBO GO https://www.thenorthernecho.co.uk/opinion/leader/11176640.crook-shop-helps-chernobyl-children-28-years-nuclear-disaster/  https://www.bbc.com/news/uk-england-48542553  https://www.chernobyl-children.org.uk/charity-shop  https://chernobyl-childrens-project-uk-crook-charity-shop.business.site/  https://www.bbc.com/future/article/20190725-will-we-ever-know-chernobyls-true-death-toll