เพราะเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย จึงเกิด ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 งานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย

เพราะเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย จึงเกิด ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 งานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย
ในโลกปัจจุบันที่เหมือนจะหมุนเร็วขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เราเหนื่อยล้าจากการวิ่งไล่ความเปลี่ยนแปลง แต่สำหรับวัยรุ่นแล้วพวกเขายิ่งเหนื่อยกว่านั้น เพราะเป็นช่วงวัยที่กำลังเปลี่ยนผ่านก้าวไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการที่ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เรื่องความรักความสัมพันธ์ เรื่องเพื่อน ผลการเรียน การโดนแกล้งโดนรังแก ทั้งในชีวิตจริงหรือในโลกไซเบอร์ ไปจนถึง ความรักจากพ่อแม่ ไม่แปลกที่การเป็นวัยรุ่นมันเลยเหนื่อย โดยเฉพาะเมื่อต้องการหาวิธีจัดการกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และในความพยายามสื่อสารกับผู้ใหญ่เพื่อให้เข้าใจพวกเขามากยิ่งขึ้น ที่ผ่านมาเลยได้มีกิจกรรมเพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์และบทเรียนในเรื่องสุขภาวะเด็กและเยาวชน โดยมีการแนะนำนวัตกรรม แนวคิดทางวิชาการ เผยแพร่บทเรียนแนวทางการทำงานสุขภาวะเด็กและเยาวชน ภายใต้ชื่องานงานสัมมนาวิชากรระตับภาค เรื่องสุขภาวะและเยาวชน ภายใต้ชื่องานสัมมนาวิชาการ บทเรียนกระบวนการขับเคลื่อนงานเพื่อสุขภาวะเด็กและเยาวชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีในท้องถิ่นภาคใต้ หรืองาน ‘คนใต้ หยัดได้’ ครั้งที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2562 ณ โรงแรมกรีนเวิลด์พาเลซ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา โดยเป็นความร่วมมือของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานสำคัญระดับพื้นที่ ที่มีบทบาทและภารกิจการดูแลคุณภาพชีวิตของคนในท้องถิ่น เพื่อสร้างประชากรของประเทศให้มีคุณภาพต่อไป และมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) ซึ่งมีประสบการณ์ทำงานอย่างต่อเนื่อง ในการส่งเสริมบทบาทของกลไกภาคส่วนต่างๆ เช่น สาธารณสุข การศึกษา ชุมชน รวมทั้ง อปท. ด้วยนวัตกรรม เครื่องมือ และกระบวนการทำงาน ที่ส่งผลถึงความมีสุขภาวะที่ดีของเด็กและเยาวชน ซึ่งในช่วงกว่า 3 ปีที่ผ่านมา มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และภาคีท้องถิ่นใน 16 แห่งของจังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อลดปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ในงานมีผู้สนใจทั้งในส่วนของท้องถิ่น หน่วยงานด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา เข้าร่วมงานอย่างคึกคักเกือบ 400 คน รวมไปถึงเครือข่ายเยาวชนคนใต้หยัดได้ อีกกว่า 60 คน เพื่อเรียนรู้ร่วมกันถึงบทเรียนกระบวนการทำงานต่าง ๆ และนำไปเป็นแนวทางให้ท้องถิ่นตนเองต่อไป เพราะเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย จึงเกิด ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 งานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย ป๊อก-พงศธร บัวทอง ที่ปรึกษาสภาเด็กจังหวัดสงขลา ผู้ให้ความสนใจปัญหาของเยาวชนมาตั้งแต่อายุ 12 ปี แล้วได้ก่อตั้งเป็นกลุ่มเยาวชนเพื่อขับเคลื่อนแก้ไขปัญหาเยาวชนในเรื่อง ด้านเพศ และ ยาเสพติด การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เชื้อ HIV การสร้างทัศนคติใหม่เกี่ยวกับเด็กที่ท้อง ให้สามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนทั่วไป ได้ให้ความเห็นการมาร่วม ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 ในครั้งนี้ว่า “ที่เริ่มต้นขับเคลื่อนเรื่องนี้มาเป็น 10 ปี เพราะเราอยากให้ทุกคนมีรอยยิ่มที่มีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม อย่างในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์เราอยากให้เด็กรู้จักการป้องกัน ไม่ใช่จะส่งเสริม เราไปพูดถึงเรื่องถุงยางอนามัยกับเยาวชน เพราะเขาสามารถเอาไปขยายต่อได้ ให้เขามีภูมิคุ้มกัน เราต้องแก้ไขที่ต้นเหตุ ไม่ใช่ไปแก้ไขที่ปลายเหตุแล้ว ถ้าเกิดวันนี้เราไม่ลุกขึ้นมาทำ ก็จะไม่มีใครที่ลุกขึ้นมา ถึงแม้เราจะลุกขึ้นมาเพียงแค่คนเดียวแต่ว่าถ้าทำไปเรื่อย ๆ อย่างน้อย ๆ ก็จะมีคนที่มีความคิดเห็นเหมือนกับเราเดินเข้ามาหา หรือเราอาจเห็นคนที่คิดตรงกัน เราก็เดินไปหาเขา จากหนึ่งเป็นสองจากจากสองเป็นสี่ไปเรื่อย ๆ เกิดเป็นการพัฒนา ถ้าเราไม่มีความคิดที่อยากพัฒนาทุกอย่างมันก็จะหยุด เราต้องไม่คิดว่าสิ่งที่เราทำดีที่สุดแล้ว” งานในครั้งนี้ออกแบบเพื่อให้เด็กและผู้ใหญ่ในชุมชน เกิดการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกัน จากการสร้างและพัฒนากลไกขับเคลื่อน การส่งเสริมการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว การพัฒนาแกนนำเยาวชนเพื่อสื่อสารกับเยาวชน การพัฒนาระบบช่วยเหลือเยาวชนที่เผชิญปัญหารายกรณี (case conference) การส่งเสริมบทบาทสื่อมวลชนท้องถิ่นกับการทำงานเยาวชนเชิงบวก และ เชื่อมโยงการทำงานกับกลไกระดับอำเภอและจังหวัด โดยนายแพทย์ดนัย ธีวันดา รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงโครงการนี้ว่า “ผมยินดีมากที่ในจังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคีในท้องที่ ร่วมกับมูลนิธิแพธทูเฮลท์ โดยการสนับสนุนของเชฟรอน พัฒนาสมถะผู้ปฏิบัติงานและชุมชนแบบมีส่วนร่วม จนเกิดแกนนำทั้งผู้ใหญ่ และเยาวชนที่มาร่วมกันขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาของวัยรุ่นอย่างจริงจัง มีการถอดบทเรียนและเครื่องมือมาเผยแพร่แบ่งปันกัน มีการสมทบงบประมาณจากท้องถิ่นเพื่อให้ดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุม แสดงถึงความสำเร็จและสะท้อนว่าท้องถิ่นเห็นประโยชน์ และให้ความสำคัญต่อเรื่องนี้” เพราะเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย จึงเกิด ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 งานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย ในส่วนงบในการจัดงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ซึ่งได้ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคีเครือข่าย และมูลนิธิแพธทูเฮลท์ ดำเนินโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนในจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีรรมราช ตั้งแต่ปี 2559 เป็นดันมา และประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีในการส่งเสริมสุขภาวะให้กับเยาวชนและครอบครัวกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ ซึ่ง อาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด กล่าวว่า “บริษัทเชฟรอนและองค์กรภาคีเครือข่าย มุ่งหวังที่จะสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และแบ่งปันบทเรียนของการพัฒนาทักษะในเรื่องสุขภาวะเด็กและเยาวชนของโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนในจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนแนะนำนวัตกรรมและแนวคิดทางวิชาการในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาคใต้ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ นำไปเผยแพร่และขยายต่อเพื่อช่วยกันดูแลลูกหลานของเราในอนาคตต่อไป” เพราะเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย จึงเกิด ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 งานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย ด้าน ชูไชย นิจไตรรัตน์ ผู้จัดการโครงการส่งเสริมองค์กรท้องถิ่นเพื่อพัฒนาสุขภาวะเยาวชนและตัวแทนคณะทำงานงานสัมมนาวิชาการ ‘คนใต้หยัดได้’ กล่าวว่า "การจัดงานครั้งนี้เพื่อคัดสรรบทเรียนและตัวอย่าง ความสำเร็จของภาคีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ทำงานด้านส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในภาคใต้ รวมถึงการคัดเลือกผู้เข้าร่วมที่มีความสนใจ ต้องการแนวทางไปทำงานในพื้นที่ เข้าร่วมงานเพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำสิ่งที่ได้จากงานสัมมนาไปปรับใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมของภาคใต้" เพราะเป็นวัยรุ่นมันเหนื่อย จึงเกิด ‘คนใต้หยัดได้’ ครั้งที่ 2 งานสัมมนาเพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างวัย การจัดงานสัมมนาวิชาการ ‘คนใต้หยัดได้’ ในครั้งนี้ เป็นความร่วมมือกันระหว่างภาคธุรกิจผู้สนับสนุนงบประมาณจัดงานคือ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด หน่วยงานระดับภาคคือ ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช, ศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา และมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (p2h) ซึ่งจัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2561 โดยครั้งนั้นใช้ชื่องาน ‘ท้องถิ่นเพื่อน้อง : คนใต้หยัดได้’ ภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชน 4+4 อปกในจังหวัดสงขลา เพื่อถอดบทเรียนการทำงานเยาวชที่เป็นรูปธรรมให้กับ อปท. อื่น ๆ นำไปปรับใช้ในการทำงานต้นสุขภาวะเยาวชนในพื้นที่ต่อไป