ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน

ถวิล อุปรี คือประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามดอนกอย จังหวัดสกลนคร ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในโครงการต้นแบบ เพราะหลังจากปฏิบัติตามพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ผ้าย้อมครามของชาวบ้านก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น คุณภาพชีวิตของคนในชุมชนก็ดีขึ้นตามลำดับ

ผ้าครามน้ำดี มัดหมี่สะดุดตา เลิศล้ำคุณค่า ภูมิปัญญาบ้านเฮา

‘ถวิล อุปรี’ ประธานกลุ่มทอผ้าย้อมครามดอนกอย อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เอ่ยคำขวัญประจำกลุ่มขึ้นมาด้วยความภูมิใจ เพราะนี่ไม่ใช่แค่สถานที่เรียนรู้การทอผ้าย้อมครามเท่านั้น หากแต่ยังเป็นแหล่งรวมตัวของเหล่าสุภาพสตรีจากทั่วอำเภอกว่า 63 คน หลังจากละสายตาจากผืนนา มานั่งจับกลุ่มทอผ้าอย่างเบิกบาน

เสียงหัวเราะดังขึ้นเป็นระยะ สลับกับกระสวยทอผ้าที่พุ่งไปมาไม่หยุด ถึงบรรยากาศโดยรอบจะดูผ่อนคลายมากเพียงใด แต่สายตาและมือของ ‘พวกเธอ’ ก็ยังคงทำหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ราวกับเป็นปฏิกิริยาอัตโนมัติของ ‘แม่ ๆ’ กลุ่มดอนกอยโมเดลไปแล้ว

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน

‘ดอนกอยโมเดล’ คือโครงการกลุ่มทอผ้าต้นแบบ จากพระราชดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย และสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์

เริ่มถูกพูดถึงครั้งแรกในปี 2563 หลังจากพระองค์เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรขั้นตอนการผลิตผ้าย้อมคราม และเล็งเห็นว่าภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสกลนครควรได้รับการสนับสนุน-สืบทอดไปสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน นั่นจึงเป็นที่มาว่าทำไมกลุ่มทอผ้าย้อมครามดอนกอยจึงได้รับความไว้วางใจให้เป็นชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน

“อาชีพหลัก ๆ ของชาวบ้านดอนกอยคือทำนา ส่วนเสื้อผ้าที่ใช้ก็ได้มาจากการทอกันขึ้นมาเอง ก็ทอผ้าใช้กันมาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด แล้วเหมือนกัน ฉันโตมาก็เห็นว่าท่านทอในสิ่งที่ใช้ แล้วก็ใช้ในสิ่งที่ทำ ตั้งแต่ชิ้นผ้า ไม่ว่าจะเป็นผ้าห่ม ผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้าตัดเสื้อ ผ้าทุกอย่างที่เราทำ เราก็จะใช้สิ่งนั้นเป็นเรื่องปกติของชาวบ้านที่นี่”

ถวิลในวัย 68 ปีบอกกับเราถึงเหตุผลที่ตัดสินใจจัดตั้งกลุ่มทอผ้าย้อมครามขึ้นมา เพราะเธอเกิดและเติบโตมาในครอบครัวที่ทอผ้าใช้กันอย่างเป็นปกติ จึงไม่แปลกหากจะเลือกทำหน้าที่นี้ต่อไป

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน กลุ่มทอผ้ายุคแรกมีสมาชิกผู้บุกเบิก 9 คน ลงขันกันคนละ 1,000 บาท ทุกคนมีความฝันร่วมกันว่าจะต้องหลุดพ้นกับดักความยากจนและหลุดพ้นจากหนี้สิน เพื่อจะได้มีรายได้ประจำเป็นของตัวเองเสียที นอกจากเงินลงทุนแล้ว พวกเธอต้องเตรียมน้ำด่างกับเนื้อครามคนละ 6 กิโลกรัม อุปกรณ์ที่จะช่วยแต่งเติมความฝันให้สมบูรณ์

นี่คือกฎตายตัวที่เหล่าแม่ ๆ ปฏิบัติตามกันตั้งแต่ขวบปีแรกจนมาถึงปัจจุบันที่มีสมาชิกสมาชิก 63 คน และดูเหมือนว่าจะมีคนในชุมชนเข้าร่วมกลุ่มมากขึ้นอีกเป็นแน่

“ช่วงที่ตั้งกลุ่มกันขึ้นมาในปี 2536 สมัยนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก ยากมากจริง ๆ เพราะเราไม่รู้ช่องทางการขายสินค้า ไม่รู้ว่าจะติดต่อกับใคร

“บอกตามตรงว่าฉันไม่เคยคิดฝันเลยว่าจะมาทำตรงนี้ ฉันจบ ป.4 นะ ตอนนั้นแม่ให้ฝึกทอผ้า เราจะได้ทำใช้ เวลาเราโตขึ้นมาเราจะได้ทำใช้เอง หรือว่าเวลามีครอบครัวเราก็สามารถนำตรงนี้มาจุนเจือครอบครัวได้”

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน หลังจากลองผิดลองถูกมาได้ระยะหนึ่ง ถวิลก็ได้ฤกษ์ทำสิ่งที่ทำอยู่ให้จริงจังขึ้นอีกขั้น ในปี 2546 กลุ่มทอผ้าย้อมครามเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกวันนี้มีรายได้แบ่งกันในรูปแบบสหกรณ์ เพียงแค่ไม่มีคำว่า ‘สหกรณ์’ อยู่ในชื่อกลุ่มก็เท่านั้น

“พอมีกลุ่มขึ้นมาทุกอย่างเปลี่ยนไปหมดเลย จากรายได้เฉลี่ยตกวันละ 16 บาท เดือนหนึ่ง 300 - 600 บาท ตอนนี้รายได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะได้รับความร่วมมือจากทางอำเภอ ตอนนั้นท่านเดินทางมาหาเราเลยนะ ท่านมาถามว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ดูน่าสนใจดี ฉันก็บอกท่านไป ท่านเลยให้ข้อคิดกลับมาว่ากลุ่มทอผ้าของเราควรจะไปเข้าร่วมโครงการอบรมสินค้าโอทอปนะ เราก็เลยไปอบรมตามที่ท่านแนะนำ”

15 พฤศจิกายน 2563 คือวันที่เปลี่ยนโชคชะตาของชาวบ้านกลุ่มทอผ้าย้อมครามดอนกอยครั้งใหญ่ เมื่อสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ เสด็จฯ ไปทอดพระเนตรขั้นตอนการผลิตผ้าย้อมคราม โดยมีบ้านของถวิลเป็นสถานที่เปิดให้พระองค์เห็นกระบวนการผลิตผ้าตั้งแต่เป็นเพียงเส้นด้ายบาง ๆ มาจนถึงการถักทอจนกลายเป็นผ้าผืนงาม

“แม่ ๆ อย่าขี้เกียจนะ เราต้องช่วยกันทำมาหากิน”

ถวิลย้อนบทสนทนาที่สำคัญที่สุดในชีวิตของเธอให้ฟัง หลังจากพระองค์ตรัสกับเธออย่างเป็นกันเอง ทำเอาประชาชนคนธรรมดาอย่างเธอปลื้มสุดใจ เพราะนี่เป็นคำพูดที่มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด

“พระองค์มองเห็นวิถีชีวิตของแม่ ๆ ที่อยู่กับดินกินกับทราย เราก็ไม่เคยคาดคิดเลยนะ เหมือนฝันที่มาไกลเกินไป เพราะตั้งแต่ปีแรก ๆ ที่ตั้งกลุ่มขึ้นมาก็คิดแค่ว่าอยากมีรายได้ มีงาน มีเงิน ส่งลูกหลานไปเล่าไปเรียน

“พอพระองค์เสด็จฯ มาเหมือนเป็นการจุดประกายให้เราตั้งใจทำงาน ไม่มีอะไรจะเปรียบปานได้ เราไม่เคยคิดว่าจะได้รับเกียรตินี้ นี่คือความภาคภูมิใจ เราดีใจมาก ๆ ที่ได้เจอพระองค์ท่าน

“ฉันรักและเทิดทูนพระองค์ยิ่งกว่าสิ่งใด ยกเอาไว้เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม”

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน ปัจจุบันผ้าย้อมครามของจังหวัดสกลนครได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็นการบอกให้โลกรู้ว่า นี่คือผ้าทอที่อัดแน่นไปด้วยรากเหง้าทางประวัติศาสตร์ของชาวสกลนคร สินค้าทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของคนไทย

อีกทั้งยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน จากรายได้หลักร้อยต่อคนต่อเดือน เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งหมื่นบาทต่อคนต่อเดือน เพราะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ จัดอบรมมอบความรู้ให้ชาวบ้านอยู่บ่อยครั้ง แถมยังมีการพัฒนาปรับลวดลายให้มีความทันสมัยเพิ่มขึ้น เข้าคอนเซ็ปต์ ‘ผ้าไทยใส่สนุก’ ช่วยให้วัฒนธรรมอันดีงามไม่สูญหายไปตามกาลเวลา

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน “หัวใจสำคัญของการทอผ้าคือเราต้องทำงานด้วยใจรัก และเราจะต้องไม่ขี้เกียจเหมือนที่พระองค์ได้ตรัสไว้ นี่คือคำกล่าวที่พระองค์ท่านพูดกับฉัน แล้วฉันจะไม่มีวันลืม พระองค์ทรงเป็นห่วงเป็นใยประชาชน อยากเห็นเรามีรายได้ มีอยู่มีกิน

“ฉันก็อายุมากแล้วนะ แต่สิ่งที่ได้เรียนรู้มาจนถึงทุกวันนี้คือ ความรู้ที่เราได้มาไม่ใช่ของเราแต่ดั้งเดิม แต่เป็นความรู้จากเจ้าหน้าที่หน่วยงานรัฐ คอยชี้แนะแนวทางให้เป็นไปตามช่องทางกฎระเบียบของภาครัฐ หากไม่ได้รับการสนับสนุนก็คงอยู่ไม่ได้จนถึงทุกวันนี้

“เมื่อได้ความรู้มาฉันก็จะทำหน้าที่สืบสานภูมิปัญญาเหล่านี้ต่อไป จะอนุรักษ์สิ่งดีงามของบรรพบุรุษให้อยู่กับชาวสกลนครชั่วลูกชั่วหลาน”

ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน ถวิล อุปรี: ผู้ผลักดัน ‘ดอนกอยโมเดล’ กับฝันที่อยากเห็นคนไทยมีผ้าทอผืนงามไว้ใช้ยันลูกหลาน