กระทรวงอุตฯ ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน

กระทรวงอุตฯ ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน

กระทรวงอุตฯ ผนึกกำลังพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน พร้อมต่อยอดสร้างเชฟมืออาชีพสู่ครัวโลก คาดสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 3,500 ล้านบาท 

กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ผนึกกำลังหน่วยงานภาครัฐ ภาคประชาชน และเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ แสดงพลังความร่วมมือสุดยิ่งใหญ่ จัดกิจกรรม “THAI MASTER CHEF POWER : พลังเชฟไทย สร้างชาติ” เดินหน้าปั้นเชฟไทยสร้างอาชีพต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ตั้งเป้าพัฒนาทักษะประชาชน 17,000 คน สู่เชฟชุมชน ผ่าน 2 หลักสูตร ได้แก่ Master Chef Program 50 ตำรับ และ Master Chef Program Plus 70 ตำรับ หวังสร้างรายได้ สร้างอาชีพ และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ พร้อมผลักดันซอฟต์พาวเวอร์อาหารไทยอวดสายตาเวทีโลก

โดยคาดว่าสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 3,500 ล้านบาท อันจะเป็นพลังใหม่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต 

กระทรวงอุตฯ ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การใช้อาหารเป็น “Soft Power” ไม่ใช่เพียงแนวคิด หากแต่เป็น “ยุทธศาสตร์ชาติ” ที่ต้องขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของ นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นปฏิรูปอุตสาหกรรมไทย ด้วยการยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็ง พัฒนาระบบนิเวศในการดำเนินธุรกิจ และส่งเสริมการประกอบกิจการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนการใช้ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อยกระดับสินค้า ทั้งด้านมาตรฐานและดีไซน์ให้ทันสมัย โดดเด่น แตกต่าง และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งสอดรับกับการขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ของรัฐบาล 

กระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) บูรณาการความร่วมมือ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ  สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เร่งเดินหน้า “โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย (Master Thai Chef)” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 เพื่อเป็นกลไกในการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจลดความเหลื่อมล้ำ และทักษะที่ได้รับการรับรอง ซึ่งไม่เพียงแต่เป็นการสร้างอาชีพใหม่ให้กับประชาชน แต่จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก กระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายเชฟไทยที่มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เติบโตยั่งยืนสอดคล้องกับนโยบาย OFOS (One Family One Soft Power) การยกระดับรายได้ให้ประชาชนของรัฐบาลผ่านการฝึกอบรมพัฒนาอาชีพอย่างมีมาตรฐาน รวมถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางอาหารของโลก อันจะนำไปสู่การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 3,500 ล้านบาท  

นางสาวณัฎฐิญา  เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า ดีพร้อมได้ตระหนักถึงบทบาทของอุตสาหกรรมอาหารไทย ในฐานะ Soft Power ที่ทรงพลังของประเทศ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านการส่งออก การท่องเที่ยว การสร้างอาชีพในระดับชุมชน และยกระดับภาพลักษณ์ของประเทศ  โดยมุ่งพัฒนาเชฟชุมชนให้เป็นผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุตสาหกรรมอาหารเชิงสร้างสรรค์ ไม่เพียงเน้นการฝึกอาชีพแต่ครอบคลุมถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ บรรจุภัณฑ์ และการตลาด พร้อมเชื่อมโยงเชฟกับ SME ท้องถิ่น เกษตรกรผู้ปลูกวัตถุดิบ ผู้ผลิตเครื่องปรุง และร้านอาหาร ภายใต้นโยบาย “ดีพร้อมคอมมูนิตี้ที่นี่มีแต่ให้” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากอย่างเป็นระบบผ่าน “โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย (Master Thai Chef)” เพื่อสร้างโอกาส สร้างอาชีพ และยกระดับทักษะให้ประชาชนสามารถเป็นเชฟมืออาชีพในระดับชุมชน โดยในปี 2568 ดีพร้อมได้ร่วมกับสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติทั้ง 13 สาขาเขต ขยายพื้นที่เป้าหมายเพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพให้ประชาชน จำนวน 17,000 คนทั่วประเทศ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 หลักสูตร

ได้แก่ 1. หลักสูตร Master Chef Program 50 ตำรับ จำนวน 12,000 คน และ 2. Master Chef Program Plus 70 ตำรับ จำนวน 5,000 คน โดยจะพัฒนาขึ้นมาใหม่จาก 7 กลุ่มอาหาร ประกอบด้วย อาหารไทยต้นตำรับเพื่อการประกอบอาชีพ อาหารไทยสร้างสรรค์เพื่อสุขภาพ ขนมหวานไทยประยุกต์สำหรับตลาดสากล อาหารไทย Street Food ฟิวชั่นอาหารไทยกับรสชาติสากล อาหารเจ และอาหารชาววัง ซึ่งออกแบบให้สอดคล้องกับศักยภาพของผู้เข้ารับการอบรมทำให้สามารถต่อยอดสู่อาชีพ เกิดการสร้างรายได้ และสร้างแบรนด์ท้องถิ่น อันจะนำไปสู่การยกระดับเชฟชุมชนให้เป็น Soft Power ระดับประเทศและการยอมรับอาหารไทยในเวทีสากลต่อไป

“ดีพร้อม” เชื่อมั่นว่า พลังของความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคประชาชน และเครือข่ายกองทุนหมู่บ้านทั่วประเทศ จะผลักดันให้ชุมชนสร้างเชฟคุณภาพที่สามารถยกระดับวิถีชีวิตของตนเองและครอบครัวได้อย่างมั่นคง สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดในชีวิตจริง วันนี้ทักษะอาหารไทยไม่ใช่เพียงแค่ฝีมือในครัวแต่คือพลังในการสร้างเศรษฐกิจของชาติ เป็นพลังใหม่ของเศรษฐกิจไทยในอนาคต ทั้งนี้ ในปี 2567 ดีพร้อม ได้นำร่อง Master Thai Chef โดยมีผู้ผ่านการอบรม จำนวน 1,304 ราย เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 356 ล้านบาท สามารถประกอบอาชีพได้จริงในพื้นที่ของตนเอง อันนำไปสู่การลงทุนต่อเนื่องในระดับชุมชนและเกิดผลสัมฤทธิ์เชิงรูปธรรม”

โดยล่าสุด ดีพร้อม ได้จัดกิจกรรม “THAI MASTER CHEF POWER : พลังเชฟไทย สร้างชาติ” เพื่อเป็นการคิกออฟ “โครงการยกระดับหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย (Master Thai Chef)” และประชาสัมพันธ์โครงการดังกล่าวในวงกว้าง รวมถึงแสดงผลการดำเนินงานและสื่อสารพลังความร่วมมือกับหน่วยงานร่วม MOU ได้แก่ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ทั้งมีการจัดแสดงนิทรรศการ “รูป รส กลิ่น สี ครบทุกสัมผัส” แบ่งออกเป็นโซนต่าง ๆ และการสาธิตเมนูอาหารไทยสร้างสรรค์โดยเชฟรุ่นใหม่ เพื่อยืนยันว่า Soft Power ของไทยนั้นสามารถสร้างงาน สร้างอาชีพ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากได้อย่างแท้จริง

นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ กล่าวเพิ่มเติมว่า สำนักงานฯ มีภารกิจในการส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมและพึ่งพาตนเองของหมู่บ้านและชุมชนเมืองด้วยการเรียนรู้และพัฒนาความคิดริเริ่ม ตลอดจนเสริมศักยภาพ และส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในหมู่บ้านและชุมชนเมือง มุ่งมั่นพัฒนาศักยภาพตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถของคนในหมู่บ้านและชุมชนให้สามารถพัฒนาอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ ซึ่งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านฯ มีเครือข่าย ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้ง 13 สาขาเขต เชื่อมโยงกับชุมชนในระดับหมู่บ้านอย่างใกล้ชิด และจะเป็นส่วนที่สำคัญในการขับเคลื่อนการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสำนักงานฯ พร้อมขับเคลื่อนโครงการฯ ผ่านความร่วมมือในหลายมิติ ทั้งในด้านการประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้ ผ่านกิจกรรมสื่อสารเชิงรุกในพื้นที่ การรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรม โดยอาศัยการเชื่อมโยงจากผู้นำชุมชน กรรมการกองทุน และกลุ่มอาชีพ ตลอดจน การหาลูกค้าเป้าหมาย ที่สนใจเข้าร่วมโครงการอย่างตรงจุดผ่านกลไกและฐานข้อมูลสมาชิกของแต่ละเขต

โดยจะได้จัดให้มี “กิจกรรมสร้างการรับรู้และทำความเข้าใจโครงการหนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งเชฟอาหารไทย” ณ สถานที่ตั้งของสำนักงานกองทุนหมู่บ้านฯ หรือสถานที่ที่เหมาะสมในพื้นที่รับผิดชอบของทั้ง 13 สาขาเขต ทั่วประเทศ เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาทักษะ เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมอบรมและสร้างอาชีพใหม่อย่างจริงจัง รวมทั้งผลักดันให้เกิดการสร้างเชฟอาหารไทยมืออาชีพให้ครอบคลุม 17,000 คน ทั่วประเทศ 

กระทรวงอุตฯ ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน กระทรวงอุตฯ ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน กระทรวงอุตฯ ผนึกพันธมิตรภาครัฐ-เอกชน-ประชาชน ตะลุยปั้นเชฟไฟแรง 1.7 หมื่นคน

“ความร่วมมือในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพลังของความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนที่ผนึกกำลังกันเพื่อสร้างโอกาสที่ดีของการพัฒนาทักษะอาชีพโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยการสนับสนุนและเชื่อมโยงการขับเคลื่อนโครงการให้เข้าถึงประชาชนอย่างทั่วถึง”