เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”

เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”

TCP Spirit เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ถอดบทเรียนจากผืนป่า สู่การลงมือปฏิบัติที่ทุกคนทำได้เพื่อโลกที่ยั่งยืน

ภาวะโลกร้อน (global warming) ทวีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันเข้าสู่จุดเริ่มต้นของ “ภาวะโลกเดือด” (global boiling) ที่ก่อให้เกิดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ (biodiversity) ภาคธุรกิจจึงให้ความสำคัญกับการผลักดันเรื่อง nature positive หรือผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม ผนวกเป็นหนึ่งในเป้าหมายหลักขององค์กร รวมถึงกลุ่มธุรกิจ TCP ที่มุ่งเน้นดำเนินธุรกิจควบคู่กับการสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ผ่านการลงมือปฏิบัติ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) คืนต้นทุนทรัพยากรธรรมชาติให้กับโลก เพื่อช่วยโลกจากวิกฤต เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” หนึ่งในสิ่งที่กลุ่มธุรกิจ TCP ทำเพื่อขับเคลื่อนสังคมสู่ความยั่งยืน คือการปลุกพลังชวนคนรุ่นใหม่มาเป็นอาสาสมัคร เข้าร่วมโครงการภายใต้ชื่อ TCP Spirit ที่เปิดโอกาสให้ได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งในปีนี้จัดภายใต้ธีมคณะเศษสร้าง ปี 2 “แอ่วเหนือขึ้นดอย ตามรอยวิถีไร้ขยะ” สอดคล้องกับหนึ่งในกลยุทธ์ด้านความอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจ TCP คือ การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยนำทีมอาสาสมัครมุ่งสู่โครงการพัฒนาดอยตุงฯ ต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืน เจาะลึกเรื่องการจัดการขยะ ไขความลับแห่งผืนป่า ตลอดจนทำความเข้าใจถึงความเชื่อมโยงของระบบนิเวศกับเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการลงมือเพื่อโลกที่ยั่งยืน

เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP ให้มุมมองที่น่าสนใจระหว่างกิจกรรมเดินป่าว่า “การเดินป่าที่จัดขึ้นในครั้งนี้ มีความแตกต่างและทำให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของระบบนิเวศและแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น เข้าใจถึงธรรมชาติที่มีการหมุนเวียนในตัวเอง นั่นคือ การเกิดขึ้น เติบโต ย่อยสลาย และกลับคืนสู่โลกเพื่อสร้างธรรมชาติขึ้นใหม่ ซึ่งธุรกิจสามารถนำมาเป็นแนวทางและปรับใช้ได้ ตั้งแต่การออกแบบวัสดุให้สามารถนำไปหมุนเวียน และบริหารจัดการทรัพยากรในระบบการผลิตให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับแนวทางของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่มุ่งนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนไปใช้ให้เกิดผลลัพธ์เชิงบวก และขับเคลื่อนสู่เป้าหมายความยั่งยืนที่เราตั้งไว้”

ไขความลับพลังธรรมชาติ จากระบบนิเวศสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน
ผืนป่า เป็นเสมือนปอดของโลก เป็นระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอย่างน่าอัศจรรย์ และเป็นแหล่งกำเนิดทรัพยากรที่ให้ “นิเวศบริการ” (ecosystem services) หรือบริการด้านระบบนิเวศ ทั้งอากาศ น้ำ ปัจจัย 4 ในการดำรงชีพ รวมถึงพลังงานต่างๆ ที่มนุษย์นำมาใช้ จึงต้องช่วยกันเติมเต็มและรักษา  เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” ดร.เพชร มโนปวิตร นักวิทยาศาสตร์ด้านการอนุรักษ์ ผู้รับหน้าที่ครูใหญ่คณะเศษสร้าง กล่าวว่า “แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน มีความเชื่อมโยงกับศาสตร์ที่เรียกว่า ชีวะลอกเลียน หรือ biomimicry เป็นการเรียนรู้ การลอกแบบจากนวัตกรรมที่ธรรมชาติได้ลองผิดลองถูกมาเป็นล้านๆ ปี และเจอปัญหาเหมือนเรา แต่ธรรมชาติผ่านการพัฒนามาแล้ว ดังนั้นทางออกหลายอย่างที่ธรรมชาติค้นพบ  เป็นสิ่งที่เราสามารถนำมาใช้ได้  อย่าลืมว่าเราเองก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ แนวการพัฒนาต่างๆ ต้องรักษาต้นทุนเอาไว้ เพื่อความอยู่รอดของธุรกิจ ไม่ให้ขาดทุนนั่นเอง”

เรียนรู้เศรษฐกิจหมุนเวียน ผ่าน butterfly diagram
“TCP Spirit ปีนี้ เราได้นำแผนภาพผีเสื้อ (butterfly diagram) มาให้อาสาสมัคร ได้เรียนรู้เจาะลึกถึงแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เห็นภาพรวมตลอดการเดินทางของขยะว่าแยกแล้ว จะทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเพื่อสร้างวิถีไร้ขยะ รวมถึงเข้าใจธรรมชาติ การอยู่ร่วมกัน เพื่อดูแลและฟื้นฟูทรัพยากรให้เกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง” ดร.เพชร กล่าว  เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” แผนภาพ butterfly diagram เป็นแผนภาพที่ใช้อธิบายระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน ออกแบบโดย Ellen MacArthur ซึ่งเป็นแนวคิดในการออกแบบกระบวนการผลิต บริการ และรูปแบบธุรกิจ ที่ให้ทรัพยากรเกิดการหมุนเวียน ลดของเสีย หรือนำไปสู่การไม่มีของเสียในที่สุด แบ่งเป็น วัฏจักรทางธรรมชาติ (ปีกผีเสื้อด้านซ้าย) ที่วัสดุที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพจะถูกส่งกลับคืนสู่โลกเพื่อสร้างธรรมชาติขึ้นใหม่ และวัฏจักรของวัสดุ (ปีกผีเสื้อด้านขวา) ที่ผลิตภัณฑ์และวัสดุที่ย่อยสลายไม่ได้ จะถูกหมุนเวียนผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น การใช้ซ้ำ การซ่อมแซม การผลิตซ้ำ และการรีไซเคิล 
•    วัฏจักรทางธรรมชาติ มีกระบวนการรีไซเคิลในตัวเองตามระบบนิเวศ เช่น ป่าไม้ให้ผลผลิตแก่มนุษย์และสัตว์ป่า ผลไม้ร่วงหล่นกลายเป็นปุ๋ยให้ต้นไม้ มีสัตว์มากินผลไม้ และขับถ่ายออกมา หมุนเวียนธาตุอาหารกลายเป็นปุ๋ยที่มาบำรุงต้นไม้อีกครั้ง ต้นไม้ออกผลผลิตกลับมาเป็นวงจรต่อไปไม่สิ้นสุด และไม่มีของเสียเกิดขึ้นเลย อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจากธรรมชาติมีระยะเวลาในการผลิตตามฤดูกาล มนุษย์จึงต้องช่วยกันดูแลรักษา เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ เพื่อดูแลและฟื้นฟูให้ธรรมชาติยังคงอยู่ ในกิจกรรมอาสา TCP Spirit อาสาสมัครได้ลงมือนำขยะเศษอาหารไปทำปุ๋ยไส้เดือน และได้สำรวจป่า รู้จักป่าเศรษฐกิจ ป่าใช้สอย ที่สามารถนำผลผลิตมาใช้ได้ตามฤดูกาล ส่วนป่าอนุรักษ์ เป็นป่าที่ต้องอนุรักษ์พรรณไม้หรือผลผลิตเอาไว้ รวมไปถึงการนำสีจากธรรมชาติมาใช้ย้อมผ้าลดการใช้สารเคมีที่จะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศปลายน้ำ
•    วัฏจักรทางวัสดุ เริ่มจากการบริโภคสินค้า เกิดขยะที่เหลือจากการบริโภค จึงต้องมีการแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เช่น ในกิจกรรม TCP เศษโมลด์เซรามิก ก็สามารถนำไปใช้ในการซ่อมแซมถนน ลดความต้องการในการใช้ซีเมนต์ใหม่ หรือนำเศษซองขนมมารีไซเคิล สร้างสรรค์เป็นสินค้า เช่น จานรองแก้ว พวงกุญแจ เพื่อเพิ่มมูลค่าได้ เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”

Butterfly diagram และแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน ต่อยอดสู่การปรับใช้ในชีวิตประจำวันและการทำธุรกิจ 
เราสามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาปรับใช้ได้ โดยสร้างการหมุนเวียนวัสดุง่ายๆ ด้วยตนเอง เช่น นำสิ่งของที่ยังใช้ได้กลับมาใช้ซ้ำ เพื่อลดปริมาณขยะ และช่วยแยกขยะ เพื่อให้เกิดการรีไซเคิลนำไปบริหารจัดการอย่างถูกวิธี ซึ่งเป็นการช่วยลดของเสียและป้องกันทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้ถูกทำลาย

สำหรับองค์กรธุรกิจควรพิจารณาว่าจะสามารถมีบทบาทได้ในขั้นตอนใดของวงจร  อาจเริ่มจากการลดของเสีย หรือทำให้เกิดของเสียน้อยที่สุด ไปจนถึงทำให้เกิดของเสียเป็นศูนย์ รวมถึงการดูแลและหมุนเวียนทรัพยากรให้ได้มากที่สุด ซึ่งทำได้ทั้งในกระบวนการผลิต ให้บริการ หรือการปฏิบัติงานในสำนักงานทั่วไป ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองดูแนวทางจากกลุ่มธุรกิจ TCP:
          •    วัฏจักรทางวัสดุ เริ่มตั้งแต่ต้นทาง คือ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้รีไซเคิลได้ 100% สามารถหมุนเวียนทรัพยากรนำกลับมาเป็นวัสดุสำหรับผลิตบรรจุภัณฑ์ใหม่ได้ไม่รู้จบ 
          •    วัฏจักรธรรมชาติ เนื่องจากเป็นองค์กรที่ใช้น้ำเป็นส่วนประกอบหลักในการผลิตสินค้า จึงมีโครงการ TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย ที่ช่วยฟื้นฟูแหล่งน้ำ เติมน้ำทั้งบนดินและใต้ดินกลับสู่ธรรมชาติพร้อมกับคืนน้ำให้ชุมชน นำน้ำไปใช้ประโยชน์เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ปัจจุบัน ผู้บริโภครุ่นใหม่สนใจเรื่องความยั่งยืนกันมากขึ้น จนถึงจุดหนึ่งจะทำให้เกิดแรงกระเพื่อม ชวนให้ทุกคนร่วมกันคิด เช่น เมื่อมองบรรจุภัณฑ์หรือถ้วยกาแฟ แล้วตั้งคำถามถึงวัสดุที่ทำ จะเริ่มเกิดแรงผลักดัน และเมื่อมีการพูดเรื่องนี้กันมากขึ้น มีความรู้มากขึ้น ก็จะมีน้ำหนัก ผลักดันการเปลี่ยนแปลงในสังคม เมื่อลูกค้าให้ความสำคัญกับความยั่งยืนมากขึ้น องค์กรที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ก็จะตอบโจทย์ สร้างผลกำไรคืนกลับมาได้ ทุกส่วนของธุรกิจจึงมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจหมุนเวียนนี้ได้ และเราไม่ได้แข่งกับใคร เราทำให้ดีขึ้น เป็นเวอร์ชันที่ดีกว่าเดิม” นายสราวุฒิ กล่าวสรุป

เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน” เปิดรหัสลับความเชื่อมโยง “ระบบนิเวศ” กับ “เศรษฐกิจหมุนเวียน”