การเดินทางของ “กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ” และก้าวต่อไปของวงการกีฬาไทย

การเดินทางของ “กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ” และก้าวต่อไปของวงการกีฬาไทย

เป็นเวลากว่า 25 ปีแล้ว ที่ “กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ” ได้มีแนวคิดในการสนับสนุนเงินทุนและการอัดฉีดให้กับเหล่านักกีฬาผ่านกองทุนที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะที่ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2540

หากจะกล่าวถึงวงการกีฬาในประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เราคงจะมองเห็นถึงพัฒนาการของวงการกีฬาในปัจจุบันว่าได้มีการพัฒนารุดหน้าไปมากกว่าในอีดตเยอะมากๆ อาจจะเพราะด้วยปัจจัยหลายๆ ส่วนที่ประกอบเข้าด้วยกันตั้งแต่ตัวนักกีฬา, มาตรฐานของการแข่งขัน, มาตรฐานของการฝึกซ้อม, สถานที่ในการแข่งขันฝึกซ้อม, หรือแม้กระทั่งคนดูที่คอยซับพอร์ทมากขึ้น, และอีกหลายๆ ปัจจัยที่มีส่วนช่วยเหลือและผลักดันให้วงการกีฬาของประเทศไทยสามารถพัฒนามาได้อย่างก้าวกระโดดและถูกพูดถึงเหมือนในปัจจุบัน

 

ซึ่งยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่คอยสนับสนุนผลักดันและคอยซับพอร์ทนักกีฬาไทยอย่างเป็นระบบอยู่ข้างหลังมาอย่างต่อเนื่องร่วมช่วยเหลือนักกีฬาไทยมานานกว่า 25 ปี

 

นั่นคือ “กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ” ที่ได้มีแนวคิดในการสนับสนุนเงินทุนและการอัดฉีดให้กับเหล่านักกีฬาผ่านกองทุนที่ดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะเมื่อเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 ที่ได้เริ่มมีการกำหนดมาตรการเร่งรัดพัฒนามาตรฐานการกีฬาและการจ่ายเงินอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นการสนับสนุนเงินฝึกซ้อม จัดการแข่งขัน ทุนการศึกษา หรือแม้แต่ค่ารักษาพยาบาลให้กับทัพนักกีฬาไทย เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายอย่างที่ตั้งใจ

ย้อนกลับไปในจุดเริ่มต้นเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2542

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เป็นประธานกรรมการ การกีฬาแห่งประเทศไทย เสนอให้จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทย" เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งนับว่าเป็นความท้าทายครั้งใหญ่ของกองทุนกีฬาเพื่อช่วยผลักดันด้านการพัฒนาวงการกีฬาไทย ซึ่งในที่สุดก็ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้ง "กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งประเทศไทย" ขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม 2545

จนกระทั่งในปี 2558 ได้มีการควบรวม 3 กองทุนเข้าด้วยกันคือ

1. กองทุนการศึกษาของนักกีฬา

2. กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ

3. กองทุนสวัสดิการนักกีฬา

ให้มาอยู่ภายใต้การทำงานของ “กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ” และจนถึงวันนี้ “กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ” ก็ได้ดำเนินกิจการและให้เงินสนับสนุนนักกีฬามาโดยตลอด ทั้งในแง่การทำงานของกองทุนกีฬาที่ได้มีพันธกิจในการทำให้สำเร็จอยู่ 9 อย่าง นั่นคือ การมอบเงินสนับสนุนฝึกซ้อม

การให้เงินอัดฉีดสำหรับนักกีฬาที่คว้าชัยชนะมาได้ การมอบเงินทุนการศึกษา ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล มอบทุนเพื่อจัดการแข่งขันกีฬาทั้งในและต่างประเทศ ให้เงินทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางด้านกีฬา และสนับสนุนอุปกรณ์กีฬาให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลน

โดยในปี 2563 นี้ ดร.สุปราณี คุปตาสา ได้เข้ามาหน้าที่เป็นประธานกองทุนกีฬาคนใหม่ เพื่อสานต่อและผลักดันให้กองทุนกีฬาทำหน้าที่ตามพันธกิจที่หมุดหมายเอาไว้ ที่ยังคงมุ่งเน้นการส่งเสริมนักกีฬา โดยเฉพาะนักกีฬาคนพิการ ด้วยการจัดตั้งศูนย์พัฒนากีฬาตามที่ต่างๆ และบุคลากรที่คอยฝึกซ้อมและให้คำแนะนำแก่นักกีฬา


และในปี 2565 ที่ผ่านมา กองทุนกีฬาได้มอบทุนการศึกษาให้กับนักกีฬาทั้งทุนใหม่และทุนต่อเนื่องไปเป็นจำนวน 374 คน รวมเป็นเงินกว่า 41,973,900 บาท จนล่าสุดหลังจากที่มีการผลักดันกันมาหลายปีที่จะทำให้มวยไทยเป็นหนึ่งในประเภทการแข่งขันในโอลิมปิก ก็กำลังจะเข้าใกล้ความเป็นจริงเต็มทีแล้วที่คนไทยทุกคนจะได้เห็นศิลปะการต่อสู้แม่ไม้มวยไทยกลายเป็นหนึ่งในกีฬาโอลิมปิกสู่สายตาชาวโลกต่อไป