‘โออิชิ แกรนด์’ ปรับโฉมใหญ่ รับเทรนด์ผู้บริโภคต้องการความพรีเมียมมากขึ้น

‘โออิชิ แกรนด์’ ปรับโฉมใหญ่ รับเทรนด์ผู้บริโภคต้องการความพรีเมียมมากขึ้น

หลังเปิดให้บริการมากว่า 20 ปี ‘โออิชิ แกรนด์’ ได้ปรับโฉมครั้งใหญ่ ด้วยงบกว่า 20 ล้านบาท ภายใต้แนวคิด The Ultimate Experience of All-Time Favorite and Real Japanese Taste หรือ “ให้ทุกคำ…ผสานรสชาติต้นตำรับญี่ปุ่นแท้ ๆ พร้อมสัมผัสประสบการณ์ความอร่อยครั้งใหม่…ไม่มีที่สิ้นสุด”

นงนุช บูรณะเศรษฐกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ โออิชิ กล่าวว่า หลังจากการวิกฤตโควิด-19 เทรนด์ผู้บริโภคพยายามมองหาสินค้าคุณภาพและมีความพรีเมียมมากขึ้น จึงเป็นโอกาสเติบโตสำหรับร้านอาหารในเซ็กเม้นท์นี้ ทำให้มีการปรับโฉมโออิชิ แกรนด์ครั้งใหญ่

‘โออิชิ แกรนด์’ ปรับโฉมใหญ่ รับเทรนด์ผู้บริโภคต้องการความพรีเมียมมากขึ้น

การปรับโฉมครั้งนี้ใช้งบกว่า 20 ล้านบาท นำเสนอด้วยแนวคิด The Ultimate Experience of All-Time Favorite and Real Japanese Taste หรือ “ให้ทุกคำ…ผสานรสชาติต้นตำรับญี่ปุ่นแท้ ๆ พร้อมสัมผัสประสบการณ์ความอร่อยครั้งใหม่…ไม่มีที่สิ้นสุด”  ซึ่งปัจจุบันได้เปิดให้บริการบนพื้นที่ใหม่ โซนฟู้ด พาสสาจ ชั้น 4 ศูนย์การค้าสยามพารากอน

โดยไฮไลท์ของที่นี้ คือ การนำเสนออาหารที่เน้นคุณภาพไม่ว่าจะเป็น ซูชิสารพัดหน้าคุณภาพเทียบเท่าระดับโอมากาเสะ, ซาชิมิ แล่สด ๆ ชิ้นโตเต็มคำที่วัตถุดิบคัดสรรคุณภาพสูงด้วยการนำเข้าจากตลาดปลาชั้นนำของญี่ปุ่น ไปจนถึงอาหารญี่ปุ่นเมนูยอดนิยมรวมกว่า 200 รายการ

‘โออิชิ แกรนด์’ ปรับโฉมใหญ่ รับเทรนด์ผู้บริโภคต้องการความพรีเมียมมากขึ้น

ขณะเดียวกันเพื่อให้คุ้มค่าคุ้มราคา การนำเสนอราคาก็จะแตกต่างจากเดิม โดยจะมีบริการแบบบุฟเฟต์ 3 ระดับราคา ซึ่งแต่ละระดับนั้นสามารถใช้บริการและรับประทานอาหารได้ไม่จำกัด ภายในเวลา2 ชั่วโมงเต็ม ประกอบด้วย

ระดับ PREMIUM Buffet : เมนูยอดนิยมรวมกว่า 140 รายการ ในราคา 1,059 บาท++

ระดับ PLATINUM Buffet : เมนูยอดนิยมบวกเมนูพิเศษ อาทิ ซูชิโฮตาเตะย่างซอสอูนิ ยากินิคุเนื้อวากิว หอยเชลล์ซอสมิโสะย่างใบโฮบะ ฯลฯ รวมกว่า 190 รายการ ในราคา 1,659 บาท++

ระดับ PRESTIGE Buffet : เมนูยอดนิยมบวกเมนูพิเศษ อาทิ ซูชิชูโทโร่คาเวียร์ กุนกันอูนิเนกิโทโร่คาเวียร์ ยากินิคุเนื้อวากิวญี่ปุ่น A4 ฯลฯ รวมกว่า 200 รายการ ในราคา 2,659 บาท++

 นอกจากนี้ ยังมีการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการบริการ เช่น ระบบการสั่งอาหารอัตโนมัติผ่านคิวอาร์โค้ดด้วยแท็บเล็ต ณ จุดให้บริการภายในร้าน หรือโทรศัพท์มือถือส่วนตัว รวมถึงจะมีการปรุงประกอบอาหารแบบจานต่อจาน (ในลักษณะ Made-to-Order) ที่นอกจากความสดใหม่แล้ว ยังมีส่วนช่วยลดการสูญเสียอาหาร (Food Loss) และขยะอาหาร (Food Waste) โดยเปล่าประโยชน์ตามเทรนด์การบริโภคอาหารแบบยั่งยืนอีกด้วย