ปีเตอร์ เทิร์กสัน : คาร์ดินัลลผู้เป็นโล่ให้ผู้ไร้เสียงและหยุดความขัดแย้งในแอฟริกา

ปีเตอร์ เทิร์กสัน : คาร์ดินัลลผู้เป็นโล่ให้ผู้ไร้เสียงและหยุดความขัดแย้งในแอฟริกา

เรื่องราวของ ‘ปีเตอร์ เทิร์กสัน’ (Peter Turkson) พระคาร์ดินัลผู้ซึ่งเป็นผู้นำที่อุทิศตนให้กับคริสตจักรและเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม

ในประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 2,000 ปีของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก พระสันตะปาปาถือเป็นตำแหน่งที่สูงสุดและทรงอิทธิพลที่สุดของคริสตจักร โดยมีพระสันตะปาปาทั้งหมด 266 องค์ที่ได้บันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ องค์ล่าสุดคือ พระสันตะปาปาฟรานซิส ผู้ซึ่งได้จากไปอย่างสงบเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2025 สิริพระชนมายุ 88 ปี

พระสันตะปาปาฟรานซิสได้ทำหน้าที่เป็นผู้นำของคริสตจักรอย่างเต็มที่ตลอดชีวิตของท่าน ท่านเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลสูง มีการกระทำและคำสอนที่สร้างแรงบันดาลใจแก่คนทั่วโลก ท่านแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความกล้าหาญในการต่อสู้เพื่อสังคมที่ยุติธรรมและเป็นมิตร แม้ในช่วงเวลาที่ท่านอยู่ในตำแหน่ง

หลังจากการจากไปของพระสันตะปาปาฟรานซิส คณะพระคาร์ดินัลจะมีการประชุมลับ (Conclave) เพื่อเลือกผู้ที่จะขึ้นมาเป็นโป๊ปองค์ใหม่ ซึ่งจะเป็นการตัดสินอนาคตของคริสตจักรโลก คณะพระคาร์ดินัลปัจจุบันมีทั้งหมด 252 คน โดยมี 135 คนที่มีสิทธิ์เข้าร่วมการประชุมและโหวตเลือกโป๊ปองค์ใหม่

ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนว่าใครจะได้รับเลือกเป็นผู้นำคริสตจักรองค์ต่อไป แต่มีพระคาร์ดินัลบาองค์ที่ได้รับการจับตามองอย่างมากในฐานะผู้ที่มีโอกาสสูงในการขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นพระสันตะปาปาองค์ใหม่ หนึ่งในนั้นคือ ‘ปีเตอร์ เทิร์กสัน’ (Peter Turkson) พระคาร์ดินัลผู้ซึ่งเป็นผู้นำที่อุทิศตนให้กับคริสตจักรและเป็นตัวแทนของความหลากหลายทางวัฒนธรรม บทความนี้จะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับพระคาร์ดินัลเทิร์กสัน และบทบาทของท่านในการขับเคลื่อนอนาคตของคริสตจักรโรมันคาทอลิก

นักบวชกานาผู้มีความหมั่นเรียน

ชื่อเต็มคือ ‘ปีเตอร์ โคด์โว แอพเพีย เทิร์กสัน’ (Peter Kodwo Appiah Turkson) เกิดเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 1948 ในเมือง นซูตา-วาสซอว์ เมืองทางตะวันตกของประเทศกานา เทิร์กสันเป็นลูกคนที่ 4 ซึ่งพี่น้อง 10 คน คุณพ่อเป็นช่างไม้นับที่ถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิค คุณแม่มีอาชีพขายนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์และคุณลุงที่นับถือศาสนามุสลิม

ตัวของเทิร์คสันเองมีความสนใจที่จะเรียนหนังสือตั้งแต่ตอนเด็ก เขาใช้ชีวิตอยู่เมื่อเขาอายุได้สิบสี่ปี เขาเข้าเรียนที่ St. Teresa’s Minor Seminary ระดับภูมิภาคตั้งแต่ปี 1969 ถึง 1971 

วิทยาลัยเซมินารีคือโรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นโรงเรียนประจำซึ่งจะก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์โดยเฉพาะสำหรับเด็กชายจนถึงวัยรุ่นที่สนใจที่จะเป็นบาทหลวงนิกายคาทอลิก

โดยจะขอกล่าวถึงลำดับขั้นของพระสงฆ์ในคริสตจักรคาทอลิก ผู้ที่ปรารถนาจะรับศีลบวชต้องผ่านกระบวนการเป็นลำดับ โดยเริ่มจาก สังฆานุกร (Deacon) ซึ่งเป็นขั้นแรกสำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมในบ้านเณรและได้รับการพิจารณาจากพระสังฆราชและพระสงฆ์ในสังฆมณฑล

หากมีคุณสมบัติเหมาะสมและรับหน้าที่เป็นสังฆานุกรมาอย่างน้อยหนึ่งปี บุคคลนั้นจึงสามารถได้รับแต่งตั้งเป็น พระสงฆ์ (Priest) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า ‘บาทหลวง

ตำแหน่งสูงขึ้นไปคือ พระสังฆราช (Bishop) ซึ่งทำหน้าที่ปกครองสังฆมณฑล การคัดเลือกพระสังฆราชจะพิจารณาจากพระสงฆ์ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป มีความรู้เฉพาะทาง และมีคุณสมบัติเพรียบพร้อม รายชื่อผู้เหมาะสมจะถูกส่งต่อไปยังวาติกัน เพื่อให้สมเด็จพระสันตะปาปาทรงแต่งตั้ง หากได้รับมอบหมายให้ดูแล อัครสังฆมณฑล ซึ่งเป็นเขตปกครองหลักในแต่ละแขวง จะได้รับตำแหน่งเป็น พระอัครสังฆราช (Archbishop)

เทิร์กสันได้รับการบวชขึ้นเป็นหลวงพ่อในวัย 27 ปีที่ประเทศกานาในปี 1975

เทิร์กสันมุ่งมั่นศึกษาต่อในระดับปริญญาโทด้านเทววิทยา ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะทางที่ครอบคลุมสาขาต่างๆ เช่น การให้คำปรึกษา ประวัติศาสตร์คริสตจักร และเทววิทยาเชิงระบบ หลังสำเร็จการศึกษา เขาได้ทำหน้าที่เป็นครูสอนในโรงเรียนเซมินารีช่วงระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะได้รับมอบหมายให้เดินทางไปยังกรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อศึกษาต่อเพิ่มเติม สี่ปีถัดมา เขาได้รับใบอนุญาตทางวิชาการจากสถาบันพระคัมภีร์ของพระสันตปาปา ในปี ค.ศ. 1980 และไม่นานหลังจากนั้น เทิร์กสันก็ตัดสินใจกลับมาปฏิบัติหน้าที่เป็นครูสอนอีกครั้ง

สถาบันพระคัมภีร์ของพระสันตปาปา (หรือเรียกอีกอย่างว่า Biblicum) เป็นสถาบันวิจัยและการสอนระดับบัณฑิตศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านพระคัมภีร์และการศึกษาตะวันออกใกล้โบราณซึ่งตั้งอยู่ในกรุงโรม ก่อตั้งขึ้นในปี 1909

นอกจากภารกิจด้านการศึกษาแล้ว เทิร์กสันยังอุทิศตนทำงานรับใช้ทางศาสนาในวัดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนเซมินารี ระหว่างปี ค.ศ. 1987 ถึง 1992 งานของเขาในช่วงเวลาดังกล่าวครอบคลุมทั้งการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา การให้คำปรึกษาแก่สามเณร ตลอดจนมีบทบาทในการเสริมสร้างชีวิตจิตวิญญาณของผู้ที่เตรียมเข้าสู่สมณเพศ

ต่อมา เทิร์กสันตัดสินใจศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกด้านพระคัมภีร์ที่สถาบันพระคัมภีร์ปอนติฟิคัล ณ กรุงโรม อย่างไรก็ตาม เส้นทางด้านวิชาการของเขาต้องหยุดชะงักลง เนื่องจากได้รับการเรียกตัวกลับประเทศกานาเพื่อรับตำแหน่งสำคัญในคริสตจักร

ในปี ค.ศ. 1993 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอาร์คบิชอปแห่งเคปโคสต์ ประเทศกานา นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเทิร์กสัน จากนั้นเขายังได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานการประชุมบิชอปคาทอลิกแห่งกานาตั้งแต่ปี 1997 ถึง 2005 

ในปี 2003 เขาได้รับแต่งตั้งให้เป็นอธิการบดีของวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคาทอลิกแห่งกานา ซึ่งเขายังคงดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาจนถึงปัจจุบัน 

เทิร์กสันมุ่งหน้าแก้ไขปัญหาอย่างเร่วงด่วนเกี่ยวกับเรื่องระบบการศึกษา ความยุติธรรมของสังคมและการสนทนาระหว่างศาสนา

ในปีเดียวกันคือ 2003 สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 (Pope John Paul II) ทรงแต่งตั้งเขาเป็นพระคาร์ดินัลในวัยเพียง 55 ปี นับเป็นชาวกานาคนแรกที่ได้รับเกียรตินี้ ตำแหน่งพระคาร์ดินัลนับเป็นหนึ่งในตำแหน่งที่สูงที่สุดของคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งมอบให้โดยสมเด็จพระสันตะปาปาโดยตรง โดยพระคาร์ดินัลจะมีบทบาทสำคัญในการเลือกตั้งพระสันตะปาปาองค์ใหม่ในที่ประชุมลับ (Conclave)
พระคาร์ดินัลเทิร์กสัน เทิร์กสัน มีบทบาทสำคัญทั้งในระดับสากลและภูมิภาคภายในคริสตจักรคาทอลิก โดยเขาได้เข้าร่วมในการประชุมลับเพื่อเลือกตั้งพระสันตะปาปาถึงสองครั้ง ได้แก่ ในปี ค.ศ. 2005 ซึ่งมีการเลือกสมเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกต์ที่ 16 และในปี ค.ศ. 2013 ที่เลือกสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส

ในลำดับชั้นของคริสตจักรคาทอลิก ตำแหน่งสูงสุดประกอบด้วยสามลำดับ ได้แก่ อาร์คบิชอป พระคาร์ดินัล และพระสันตะปาปา ซึ่งเป็นประมุขสูงสุด การเลือกพระสันตะปาปาจะกระทำโดยคณะพระคาร์ดินัลที่มีสิทธิ์ออกเสียง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือกจะต้องได้รับคะแนนเสียงอย่างน้อยสองในสามจากที่ประชุมลับ

 

ความสามารถที่อยู่นอกเหนือรั้ววาติกัน

ในระดับทวีป เทิร์กสันมีบทบาทโดดเด่นในประเทศแถบแอฟริกา เขาเคยดำรงตำแหน่งเหรัญญิกของการประชุมบิชอปแห่งแอฟริกาและมาดากัสการ์ (SECAM) ระหว่างปี 2007–2009 รองประธานสมาคมการประชุมบิชอปแห่งแอฟริกาตะวันตกที่ใช้ภาษาอังกฤษ (AECAWA) และประธานการประชุมบิชอปแห่งภูมิภาคแอฟริกาตะวันตก (RECOWA) ในช่วงเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ เขายังเป็นประธานของการประชุมศาสนาเพื่อสันติภาพแห่งกานา (2003–2007) และสภาสันติภาพแห่งชาติกานา (2006–2010)

ความท้าทายเกี่ยวงานของพระคาร์ดินัลปีเตอร์ มันเปรียบเหมือนเสียงเรียก ที่ทำให้เขายืนอยู่ตรงกลางระหว่างความเชื่อและความท้าทายของโลกใบนี้

ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2011 พระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสัน เรียกร้องให้มีการจัดตั้ง ‘องค์กรสาธารณะระดับโลก’ และ ‘ธนาคารกลางโลก’ เพื่อกำกับดูแลระบบการเงินโลกที่ล้าสมัยและไร้ประสิทธิภาพในการรับมือกับวิกฤตการณ์อย่างเป็นธรรม
เขาเสนอให้มีมาตรการเก็บภาษีจากธุรกรรมทางการเงิน พร้อมทั้งระบุว่า วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินที่โลกกำลังเผชิญ เป็นโอกาสให้ทุกคนได้ทบทวนหลักคุณธรรมและค่านิยมทางวัฒนธรรมที่เป็นรากฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคม

เอกสารยังประณาม ‘การบูชาตลาด’ (The Idolatry of the Market) และแนวคิดเสรีนิยมใหม่ที่มองปัญหาเศรษฐกิจเพียงในเชิงเทคนิค โดยชี้ให้เห็นว่าปัญหาที่แท้จริงสะท้อนพฤติกรรมเห็นแก่ตัว ความโลภร่วม และการกักตุนทรัพยากรอย่างเป็นระบบ พร้อมเน้นย้ำว่าเศรษฐกิจโลกจำเป็นต้องมี ‘จริยธรรมแห่งความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว’ ระหว่างประเทศร่ำรวยและประเทศยากจน

 

เป็น ‘สะพาน’เพื่อหยุดความรุนแรง

เป็น ‘โล่’ ให้ผู้ไร้เสียง

ความสามารถของปีเตอร์ไม่ได้มีขอบเขตอยู่เพียงแค่ที่วาติกันเท่านั้น 
ในปี 2011 ขณะอยู่ช่วงสงครามของ โกตดิวัวร์ (Ivory Coast) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (Republic of Côte d'Ivoire) เป็นประเทศในแอฟริกาตะวันตก พระสันตะปาปาได้ส่งพระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสัน จากกานา ประธานสภาสันติภาพและความยุติธรรมแห่งสันตะปาปาเป็นตัวแทนพิเศษไปยังโกตดิวัวร์ เพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจากความขัดแย้งและเพื่อ ‘ส่งเสริมการคืนดีและสันติภาพ’ แสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ และการเข้าหาอย่างใจเย็นแม้เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก

ไม่เพียงแต่แค่นั้น ภารกิจของปีเตอร์เกิดขึ้นอีกครั้งในปี 2016 ณ ประเทศซูดานใต้ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นมาเป็นระยะเวลายาวนานระหว่างประธานาธิบดีและรองประธานาธิบตั้งแต่ปี 2013 มีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่าหมื่นคน     

ณ เมืองจูบาในประเทศซูดานใต้ ปีเตอร์ได้รับภารกิจส่งมอบจดหมายและเจรจา ปีเตอร์ได้พูดถึงสถานการณ์ ณ ตอนนั้นว่า

 

ถ้าพูดให้นุ่มนวลหน่อยล่ะก็ สถานการณ์ตอนนี้ก็หินมาก ๆ เลยล่ะ” 


สถานการณ์ความรุนแรงที่ปะทุขึ้นในซูดานใต้ ได้สร้างความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสให้กับประชาชนคนธรรมดา หลายครอบครัวต้องหลบหนีเอาชีวิตรอด ทิ้งบ้านเรือนที่ถูกปล้น ยึดครอง หรือถูกทำลายลงต่อหน้าต่อตา

ผู้หญิง เด็กเล็ก และแม้แต่เด็กชายจำนวนมากไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากต้องหาที่หลบภัยในสถานที่อย่างโบสถ์และโรงเรียน ซึ่งได้กลายเป็นที่พักพิงชั่วคราว โดยมีบรรดาพระสงฆ์ นักบวชชายหญิงและเจ้าหน้าที่ศาสนาเพียงเท่านั้นที่คอยดูแลพวกเขาอย่างสุดความสามารถ ท่ามกลางสถานการณ์ที่โหดร้าย หลักศีลธรรมและจริยธรรมที่ถูกมองข้ามอย่างไร้เยื้อใย การสังหารหมู่ การข่มขืนจนถึงการใช้เด็กเป็นเครื่องมือสงคราม

เขาได้ใช้ตัวเองเป็น ‘สะพาน’ ลงพื้นที่เยือนประเทศแถบซูดานใต้และแอฟฟริกาควบคู่กันไปด้วย เพื่อลงไปสังเกต เก็บข้อมูลและช่วยเหลือถึงปัญหาความขัดแย้งไม่ว่าจะเป็นเรื่องปากท้อง ระบบการศึกษา หรือความขัดแย้งกันของต่างศาสนา 

ศาสนามีบทบาทได้ โดยตระหนักดีว่าเราต้องให้ผู้คนเข้าใจศาสนาอย่างถูกต้องในบางกรณี เรารู้ว่าเรามีโครงสร้างที่พระสันตปาปาสามารถพูดได้และทุกคนที่นั่นจะรับฟัง แต่ไม่ใช่กับศาสนาอื่นๆ เรารู้ว่าเราไม่สามารถทำแบบนั้นได้ แต่เรารู้ว่าเราสามารถทำงานร่วมกับกลุ่มท้องถิ่นและสอนพวกเขาว่าศาสนามีไว้เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ และสิ่งนี้ควรได้รับการอนุรักษ์ไว้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และในกรณีที่ศาสนาถูกทำให้เป็นเรื่องการเมืองหรืออะไรก็ตาม ก็ควรช่วยเหลือผู้คนให้หลีกเลี่ยงการตกหลุมพรางเหล่านั้น

ปีเตอร์กล่าวในบทสัมภาษณ์ของ RFI เกี่ยวกับการเยือนประเทศซูดานใต้

 

จากกานาสู่วาติกัน เสียงที่โลกควรฟัง

หลายท่านอาจจะทราบจุดยืนของ โป๊ปฟรานซิส ที่เกี่ยวกับเรื่องของศาสนาและปัญหาของโลกปัจจุบันจนกระทั่งเรื่องความขัดแย้งกันระหว่างต่างศาสนา 
ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่ถูกผลันดันและก็ถูกตั้งคำถามกับคริสตจักรโดยตลอดระยะหลายปีที่ผ่านมาถึงเรื่องของ ‘รักร่วมเพศ’ (Homosexual) กับศาสนา รวมถึงครั้งนี้ด้วยว่าที่ หลังการจากไปของโป๊ปฟรานซิสแล้ว แนวทางของประมุขของคริสตจักรจะถูกดำเนินต่อไปในทางไหน

ในมุมมองของพระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสัน หนึ่งในผู้นำระดับสูงของศาสนจักรโรมันคาทอลิกจากประเทศกานา แสดงจุดยืนผ่านการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว BBC ว่า “การรักร่วมเพศไม่ควรถูกจัดเป็นความผิดทางกฎหมาย พร้อมทั้งเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการส่งเสริมความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นนี้ในสังคม
จุดยืนของพระคาร์ดินัลเทิร์กสันถือเป็นทัศนะที่แตกต่างจากกลุ่มบิชอปคาทอลิกในประเทศกานา ซึ่งก่อนหน้านี้ได้แสดงท่าทีที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรงต่อเรื่องรักร่วมเพศ

พระคาร์ดินัลเทิร์กสันยังชี้ให้เห็นว่า ในภาษาอาคาน ซึ่งเป็นหนึ่งในภาษาท้องถิ่นของกานา มีคำเรียก ที่สะท้อนถึง ‘ผู้ชายที่มีพฤติกรรมเหมือนผู้หญิง และผู้หญิงที่มีพฤติกรรมเหมือนผู้ชาย’ 

คำพูดประโยคนี้สะท้อนให้เห็นว่าแนวคิดเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศว่า ไม่ได้เป็นสิ่งแปลกปลอมจากวัฒนธรรมต่างชาติ

ถ้าในวัฒนธรรมของเรามีคำพูดที่กล่าวถึงเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็แสดงว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งแปลกใหม่หรือถูกยัดเยียดมาจากภายนอกโดยสิ้นเชิง” พระคาร์ดินัลกล่าว
อีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันอย่างเรื่องของ ‘การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ’ ที่ตอนสมัยโป๊ปฟรานซิสยังมีชีวิตอยู่ เขาก็ได้ให้ความสำคัฐกับเรื่องนี้ไม่แพ้เรื่องอื่นเลย

เพราะว่าหากคุณมองให้ลึกลงไป สองในสามของชาวคาทอลิก 1.3 พันล้านคนทั่วโลก อาศัยอยู่นอกโลกตะวันตกที่พัฒนาแล้ว โดยเฉพาะแอฟริกาในเวลาภายภาคหน้า จะกลายอนาคตของศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก

การเปิดใจเรียนรู้และทำความเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคืออะไร และผลกระทบบางอย่างของมันนั้นได้ปรากฏให้เห็นอย่างเจ็บปวดอยู่แล้ว ไม่มีข้อสงสัยเลยว่าการเปลี่ยนแปลงนี้มีสาเหตุหลักมาจากมนุษย์ จากพฤติกรรมและทัศนคติของเราที่มีต่อธรรมชาติ

แต่แทนที่จะปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความสิ้นหวังหรือความเฉยชา เราควรเกิดความสำนึกผิดและรู้สึกเจ็บปวดต่อการที่เราได้ปฏิบัติต่อธรรมชาติอย่างละเลยและไร้ความรับผิดชอบ

พระคาร์ดินัลปีเตอร์ เติร์กสันกล่าว

พระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสันเคยตกเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกจับตามองมาแล้วครั้งหนึ่งในรอบสมัยที่ได้เป็นผู้มีสิทธิ์คัดเลือกพระสันตะปาปา ว่าจะเป็นพระสันตะปาปาผิวสีคนแรกหรือพระสันตะปาปาคนแรกที่ไม่ได้มีเชื้อชาติประเทศยุโรป 

แม้พระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสันจะไม่ได้รับเลือกเป็นพระสันตะปาปาในครั้งนั้น แต่เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสที่เป็นผู้ได้รับเลือกเข้ามามีบทบาทและฟื้นฟูภาพลักษณ์ของวาติกันด้วยการให้ความสำคัญกับประเด็นความยุติธรรมทางสังคมพื้นฐาน เช่น การช่วยเหลือคนยากจน พระคาร์ดินัลเทิร์กสันก็กลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางข้อความของวาติกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเด็นทางสังคมอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกัน

 

ใต้ผ้าคลุมนักบวช คือความกล้าท้าทายของศรัทธา

ในขณะที่เหล่าพระคาร์ดินัลกำลังประชุมลับเพื่อคัดเลือกพระสันตะปาปาองค์ใหม่ ชื่อของ ‘ปีเตอร์ เทิร์กสัน’ หนึ่งในนักบวชระดับสูงจากทวีปแอฟริกา กลับมาอยู่ในกระแสอีกครั้ง เขาคือบุคคลที่หลายฝ่ายเคยยกให้เป็นหนึ่งในตัวเต็ง ‘โป๊ปผิวดำคนแรก’ ที่อาจสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ให้คริสตจักรโรมันคาทอลิก

แม้พระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสันจะถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มนักบวชที่มีแนวคิดเสรีกว่าผู้อื่น แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมของศาสนจักร เขายังคงมีจุดยืนในเชิงอนุรักษ์นิยม โดยเฉพาะในประเด็นที่เป็นข้อถกเถียงมาช้านาน เช่น การคุมกำเนิดหรือบทบาทของผู้หญิงในศาสนา

หนึ่งในเหตุการณ์ที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดของพระคาร์ดินัลปีเตอร์ เทิร์กสัน คือการปฏิเสธสนับสนุนการใช้ถุงยางอนามัย แม้จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ในแอฟริกาใต้สะฮารา เหตุผลของเขาคือความยึดมั่นในหลักคำสอนของคริสตจักรเกี่ยวกับศีลธรรมทางเพศ ซึ่งทำให้เขาเผชิญแรงต้านจากกลุ่มทำงานด้าน HIV/AIDS โดยเฉพาะกลุ่มนอกศาสนา

อีกเหตุการณ์คือในปี 2012 เขาเคยฉายวิดีโอเกี่ยวกับการเติบโตของชาวมุสลิมในยุโรป ระหว่างการประชุมเจ้าหน้าที่ศาสนจักร ซึ่งถูกมองว่าเป็นการส่งเสริมแนวคิดต่อต้านอิสลาม แม้เขาจะออกมาขอโทษในภายหลัง แต่ก็กลายเป็นรอยตำหนิสำคัญในเส้นทางของผู้นำศาสนา

อย่างไรก็ตาม เทิร์กสันก็เป็นหนึ่งในผู้นำที่กล้าแสดงจุดยืนในประเด็นอ่อนไหว โดยระบุว่า ‘การรักร่วมเพศไม่ควรถูกจัดเป็นความผิดทางกฎหมาย’ และเรียกร้องให้สังคมเข้าใจความหลากหลายทางเพศอย่างถูกต้อง เขายังชี้ให้เห็นว่าแม้แต่ในภาษาอาคานของกานาเอง ก็มีคำที่พูดถึงเพศทางเลือก แสดงให้เห็นว่านี่ไม่ใช่แนวคิดแปลกแยกจากตะวันตก แต่เป็นสิ่งที่ฝังรากในวัฒนธรรมดั้งเดิม

นอกจากนี้ เทิร์กสันยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็น ‘ความยุติธรรมทางสิ่งแวดล้อม’ เขาเน้นว่าผลกระทบจากสภาพอากาศไม่ได้เป็นแค่ปัญหาทางธรรมชาติ แต่คือความอยุติธรรมที่กระทบผู้ยากไร้มากที่สุด

การที่พระคาร์ดินัลจากแอฟริกาอย่างเขาก้าวสู่จุดสูงสุดของศาสนจักร จึงเป็นมากกว่าการยอมรับความสามารถ แต่คือสัญลักษณ์ของการเปลี่ยนผ่าน  จากศาสนจักรยุโรป สู่โลกที่เปิดกว้างต่อความหลากหลายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ไม่ว่าเขาจะได้เป็นพระสันตะปาปาหรือไม่ ปีเตอร์ เทิร์กสันได้พิสูจน์แล้วว่า ศรัทธาไม่จำเป็นต้องเดินตามกระแสเสมอไป เพราะบางครั้ง มันก็คือการเปลี่ยนแปรตามโลกที่ขยับหน้าไปทุก ๆ วัน

 

ภาพ : Getty Images

อ้างอิง
https://www.eenews.net/articles/peter-turkson-the-cardinal-behind-pope-francis-climate-change-push/
https://www.bbc.com/news/world-africa-67518215
https://www.rfi.fr/en/africa/20140323-have-hope-nation-building-cardinal-tells-south-sudan
https://collegeofcardinalsreport.com/cardinals/peter-kodwo-appia-turkson/
https://thecentralminnesotacatholic.org/pope-sends-cardinal-south-sudan-urge-peace/
https://www.archivioradiovaticana.va/storico/2016/07/21/popes_envoy_in_south_sudan_in_pursuit_of_peace-building_/en-1245851
https://www.graphic.com.gh/lifestyle/personality-profiles/profile-of-cardinal-peter-turkson.html
https://www.npr.org/2023/12/01/1216340303/catholic-cardinal-in-ghana-says-homosexuality-should-not-be-a-criminal-offense