จาก Fly Me To The Moon ถึง Veniero ร้านขนมอบอายุ 120 ปีที่ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ ตกหลุมรัก

จาก Fly Me To The Moon ถึง Veniero ร้านขนมอบอายุ 120 ปีที่ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ ตกหลุมรัก

Veniero ร้านขนมอบที่ก่อตั้งแต่ปี 1894 โดยครอบครัวผู้อพยพชาวอิตาลี ผู้หวังจะใช้ความนุ่มฟูของขนมปังครองใจชาวอเมริกัน และสามารถทำให้ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ เจ้าของบทเพลง Fly Me To The Moon กลายเป็นลูกค้าประจำได้ในที่สุด

เป็นเวลา 127 ปีแล้วที่ ‘Veniero’ ร้านขนมอบจากฝีมือผู้อพยพชาวอิตาลี กลายเป็นสมบัติล้ำค่าคู่เมืองนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา จากจุดเริ่มต้นแสนเรียบง่าย ‘อันโตนิโอ เวนิเอโร’ (Antonio Veniero) ผู้อพยพชาวอิตาลีผู้วาดฝันจะเริ่มต้นชีวิตใหม่ ณ ดินแดนที่มอบโอกาสและให้เสรีภาพแก่คนต่างเชื้อชาติทุกคนอย่างเท่าเทียม

ย้อนกลับไปช่วงปลายทศวรรษ 1880 ถึงช่วงต้นทศวรรษ 1990 ช่วงเวลาแห่งการอพยพครั้งใหญ่ ชาวอิตาลีกว่าสองล้านคนเดินทางมายังสหรัฐอเมริกา เพื่อหวังจะแสวงหาบ้านหลังใหม่ บ้านที่จะเป็นแหล่งพักพิงและมอบโอกาสให้พวกเขามีชีวิตรอดท่ามกลางความอดอยากหิวโหย

เมื่อมาถึงดินแดนแห่งเสรีภาพ ชาวอิตาลีจำนวนมากเลือกตั้งรกรากในย่านฮาร์เลม (Harlem) เดอะบร็องซ์ (The Bronx) และบรูคลิน (Brooklyn) ขณะที่ผู้อพยพบางส่วนเลือกที่จะใช้ชีวิตแถวแมนฮัตตันตอนล่าง (บริเวณกรีนิชวิลเลจ ถนนซิลลิแวนและบลีคเกอร์) รวมถึงบริเวณถนนมัลเบอร์รี่ ซึ่งต่อมาจะกลายเป็น ‘ลิตเติ้ล อิตาลี’ (Little Italy) สถานที่ที่เหมือนยกเอาประเทศอิตาลีขนาดย่อมมาตั้งไว้ ณ นิวยอร์ก

และ ‘อันโตนิโอ เวนิเอโร’ เองก็เป็นหนึ่งในลูกหลานผู้อพยพชาวอิตาลี เขาติดสอยห้อยตามที่บ้านมาตอนอายุ 15 ปี และได้สมัครเข้าทำงานที่โรงงานลูกกวาดแห่งหนึ่ง หลังจากเก็บหอมรอมริบและใช้ชีวิตอย่างมัธยัสถ์ จากเด็กชายในวันนั้นเขาตัดสินใจซื้อห้องแห่งหนึ่งบนถนน East 11th เพื่อเปิดร้านขนมอบที่ได้รับสูตรมาจากต้นตระกูลของเขาอีกทอดหนึ่ง

จาก Fly Me To The Moon ถึง Veniero ร้านขนมอบอายุ 120 ปีที่ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ ตกหลุมรัก

วันที่ 23 กันยายน 1894 คือวันแรกที่เขาตัดสินใจอย่างแน่วแน่ว่าจะประกาศชัยชนะของความบากบั่นและความพยายามของเขา ร้านขนมอบประจำถนน East 11th Street จึงเปิดตัวขึ้นอย่างเรียบง่าย แต่ไม่วายสร้างกิมมิคเล็ก ๆ ให้ผู้ที่ผ่านไปผ่านมาประทับใจ เขาทำให้ร้านแห่งนี้เป็น ‘พื้นที่’ แห่งความสุข โดยการเปิดบทเพลง เคล้ากลิ่นอายความคลาสสิคของร้าน เมื่อผสมผสานเข้ากับกลิ่นขนมปังที่อบสดใหม่ ก็ยิ่งเพิ่มมนต์เสน่ห์ให้ร้านแห่งนี้ที่ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ร้อยปี Veniero ลูกค้ารุ่นแรก ๆ ยังคงพูดว่านี่คือกลิ่นอายที่ไม่เปลี่ยนไป

“เมื่อวันก่อน ฉันซื้อขนมปังอะนิสเซ็ทกลับบ้านมา 3 ชิ้น ที่ซื้อแค่นี้เพราะถ้าฉันเอากลับบ้านมามากกว่านี้แปปเดียวฉันคงกินมันหมด Veniero ยังเหมือนสมัยก่อนไม่มีผิด” โรนา มิดเดิลเบิร์ก (Rona Middleberg) หนึ่งในลูกค้าประจำให้สัมภาษณ์กับนิวยอร์กไทมส์

ย้อนกลับไปยังจุดเริ่มต้น อันโตนิโอมักเสิร์ฟเอสเฟรสโซคู่กับบิสคอตตี (ขนมปังกรอบ) เมนูง่าย ๆ แต่เล่นเอาเขาหัวหมุนแทบทั้งวัน เพราะอาคารที่เขาเลือกซื้อไม่มีระบบไฟฟ้า ไม่ต้องพูดถึงระบบขนส่งที่แทบจะกลายเป็นฝันร้ายของการเปิดร้านก็ว่าได้

จาก Fly Me To The Moon ถึง Veniero ร้านขนมอบอายุ 120 ปีที่ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ ตกหลุมรัก จาก Fly Me To The Moon ถึง Veniero ร้านขนมอบอายุ 120 ปีที่ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ ตกหลุมรัก แต่หากย้อนไปยังความตั้งใจแรกเริ่มในการเปิดร้าน Veniero ของอันโตนิโอ(แบบจริง ๆ)คือ เขาต้องการเปิดเป็นโต๊ะพูล แต่มีขนมอบเป็นส่วนเสริมเท่านั้น นอกจากจะเป็นร้านของผู้อพยพร้านแรก ๆ ที่สามารถตั้งหลักได้แล้ว เขายังสร้างอาชีพให้เพื่อนร่วมชาติ โดยการว่าจ้างเป็นพนักงานประจำร้าน (ส่วนใหญ่เป็นชาวซิซิลี อันโตนิโอเป็นชาวเมืองเนเปิลส์)

จาก Fly Me To The Moon ถึง Veniero ร้านขนมอบอายุ 120 ปีที่ ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ ตกหลุมรัก จนกระทั่งร้านขนมอบสูตรต้นตำรับจากอิตาลีของเขาได้รับการยอมรับจากทุกหย่อมหญ้า ไม่ว่าผู้มาทานจะมีเชื้อชาติหรือสัญชาติใด ทุกคนล้วนติดใจ รวมถึง ‘แฟรงก์ ซินาตรา’ (Frank Sinatra) สุภาพบุรุษเจ้าของบทเพลงอมตะอย่าง Fly Me To The Moon ยกให้ Veniero เป็นร้านขนมอบที่มีรสชาติดีที่สุดของย่าน ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้จากการที่ธุรกิจของเขาเหลือรอดอยู่เพียงแห่งเดียว ขณะที่ร้านรวงอื่น ๆ เริ่มทยอยปิดตัวลง เนื่องจากทนพิษเศรษฐกิจไม่ไหว

แต่กว่าจะเป็นร้านเบเกอรี่ที่กวาดรางวัลระดับประเทศมานับไม่ถ้วน ตั้งแต่รางวัลที่ได้รับจาก New York World's Fair รวมถึงรางวัล Best Desserts in New York City ซึ่งจัดโดย AOL's City's Best website ร้าน Veniero ยังได้รับการแนะนำจากรายการอาหารชื่อดังอย่าง Good Morning America ของ ABC และด้วยความคลาสสิกของร้าน จึงถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในสถานที่ถ่ายทำซีรีส์ Law & Order อีกด้วย

หลังจากอันโตนิโอเสียชีวิตลงในปี 1931 กิจการถูกส่งต่อให้อยู่ในความดูแลของครอบครัวเวนิเอโรมาโดยตลอด ปัจจุบัน ‘โรเบิร์ต ซีรีลี’ (Robert Zerilli) หลานชายของอันโตนิโอ ทายาทรุ่น 4 ได้ขึ้นมาเป็นผู้บริหารร้าน เขาเล่าย้อนความทรงจำที่คุณปู่อันโตนิโอเคยเล่าให้ฟังว่า ตอนที่ ‘แฟรงก์ ซินาสตรา’ มาที่ร้านในปี 1980 เขาเป็นชายที่เจิดจรัส มีรอยยิ้มที่เปล่งประกาย ดวงตาของเขาฉายแววขี้เล่น ทุกอย่างที่เป็นซินาสตรา ทำให้ร้านแห่งนี้มีชีวิตชีวา ส่วนขนมที่ ซินาสตรา ชอบมากที่สุดคือ ‘บิสกิตงา’ (ในภาษาอิตาลีเรียกว่าขนมเรจินา)

ปัจจุบัน Veniero ยังคงเปิดให้บริการอยู่คู่กับย่านนี้ ราวกับ 127 ปีที่ผ่านมาเป็นเพียงช่วงเวลาที่พัดผ่าน เพราะกลิ่นแห่งความทรงจำยังไม่เคยจางหาย

 

ภาพ: Veniero

 

อ้างอิง

https://www.nytimes.com/2022/12/27/t-magazine/venieros-bakery-new-york.html

https://www.villagepreservation.org/2020/09/23/venieros-an-east-village-cornerstone-since-1894/

https://ephemeralnewyork.wordpress.com/tag/antonio-veniero/

https://venieros.com/about-us/

https://fb.watch/hYOzNNOxSY/